เป้าหมาย Net Zero ขององค์กร ที่ไม่ใช่ใครก็ทำได้ ! | Techsauce

เป้าหมาย Net Zero ขององค์กร ที่ไม่ใช่ใครก็ทำได้ !

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือที่เรียกว่า Net Zero คือ การไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่ม หรือในอีกมุมหนึ่งคือ การยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงกว่า 2 องศาเซลเซียส และถ้าเป็นไปได้จะต้องควบคุมไม่ให้เกินสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเรียกว่า “ภาวะโลกร้อน” นั่นเอง

Net Zeroในบทความนี้ Techsauce จะพาไปทำความเข้าใจถึงบริบทของ Net Zero กันให้มากขึ้นว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และทำไมหลาย ๆ ประเทศจึงให้ความสนใจ พร้อมกับฉายภาพองค์กรที่จะก้าวสู่ Net Zero ได้นั้นต้องมีทิศทางอย่างไร และที่ผ่านมามีองค์กรใดบ้างที่ให้ความสำคัญกับเจ้า “เลขศูนย์” นี้เพื่อทำให้เป้าหมายต่าง ๆ ไม่สูญเปล่า

"แน่นอนว่าในช่วงนี้เรามักจะได้ยินคำว่า “Net Zero” กันอยู่บ่อย ๆ และดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ทำให้ Net Zero กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก"

โดย Google ประเทศไทย ได้มีการเผยผลการค้นหายอดนิยมประจำปี 2022 หรือ Year in Search โดยในปีนี้พบว่าผู้คนยังใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยค้นหา Net-Zero เพิ่มขึ้น 330% และ 39% ของคนไทยเพราะจ่ายเพื่อสนับสนุน

ขณะที่ในปี 2015 ภายใต้ข้อตกลงปารีส ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change - UNFCCC) สมาชิกองค์การสหประชาชาติทั้ง 197 ประเทศ ต่างให้คำมั่นที่จะบรรลุข้อตกลงเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคำมั่นสัญญาดังกล่าวได้รับการเน้นย้ำอีกครั้งในการประชุม Conference of the Parties ครั้งที่ 26 หรือ COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา

ยุติหายนะ ‘ภาวะโลกร้อน’

โดยมีการกำหนดให้ทุกประเทศต้องนำเสนอเป้าหมายและความก้าวหน้าของการดำเนินงานภายในประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นระยะ ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลดีในการสร้างกลไกให้เกิดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะจากประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่  และ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ นานาประเทศต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้เกือบครึ่งหนึ่งภายในปี 2028 และให้เหลือศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050

ทำให้ที่ผ่านมาหลากหลายประเทศ รวมถึง ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งสัญญาณและเริ่มปรับตัวเพื่อบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกไปสู่ธุรกิจยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

ขณะเดียวกันคณะกรรมการขององค์การสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ก็ได้มีการกำหนดให้ปี 2050 เป็นปีที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยจะลดลงก่อน 45% ระหว่างปี 2010-2030 เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ภูมิอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสด้วยเช่นกัน

Net Zero'

เมื่อ Net Zero กลายเป็นกฎหมาย

ทั้งนี้ประเทศ เมือง และองค์กรต่างๆ จำนวนมากได้ให้คำมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับ สหภาพยุโรปที่ได้มีการตั้งเป้าหมายที่จะเป็นทวีปแรกของโลกที่มีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเมืองและข้อบังคับทางด้านพลังงานมีความเข้มงวดขึ้น โดยถือเป็นภูมิภาคแรกที่กำหนดให้เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์กลายเป็น “กฎหมาย”

เป้าหมาย Net Zero ขององค์กร ที่ไม่ใช่แค่ใครก็ทำได้

ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนา Net-Zero Industry Tracker เครื่องมือติดตามการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม โดย World Economic Forum ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับ Net-Zero Industry Tracker ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) ของอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำภายในสิ้นทศวรรษนี้ 

โดยโครงการริเริ่มการติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมเป็นความร่วมมือระหว่าง World Economic Forum กับบริษัท Accenture และการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญกว่า 40 องค์กร เพื่อสร้างกรอบการดำเนินงานในการติดตามและสนับสนุนความคืบหน้าของอุตสาหกรรมในการนำไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero emissions) ภายในปี 2050 

เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเกือบ 40% ของการใช้พลังงานทั่วโลกและมากกว่า 30% ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย net-zero emissions ในปี 2050  เป็นอย่างมาก

เมื่อหันกลับมามองในระดับองค์กร ด้านคุณภาพของเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์จะแตกต่างกันออกไป ในขณะที่บางบริษัทตั้งเป้าหมายที่ทะเยอทะยานเพื่อต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบเจาะลึก แต่บางบริษัท ก็ได้มีการกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยมลพิษในระดับปานกลาง ทั้งนี้บางแห่งยังขาดการวางแผนการเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดในเรื่องของคุณภาพและโครงสร้างของเป้าหมาย ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเปรียบเทียบเป้าหมายสุทธิที่เป็นศูนย์ของบริษัทและผลที่ตามมาได้ยากขึ้น

Big Company ลุย Net Zero หนทางสู่การลดโลกร้อน

หากมองดูใกล้ตัวจะสังเกตได้ว่าหลายแบรนด์เริ่มที่จะปรับตัวเพื่อตอบรับกับโจทย์ใหญ่นี้มากขึ้น เห็นได้จาก NIKE ที่ใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์, Starbucks ที่หยุดใช้แก้วพลาสติก และเปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษ

และแบรนด์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง Samsung ที่ให้มูลค่ากับเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยไม่ให้ Adapter และหูฟัง เพื่อลดจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้กระทั่ง Apple ที่เคลมว่าการที่ไม่แถมหัวชาร์จและหูฟังมาให้ในกล่อง iPhone ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงไปได้มากถึง 2 ล้านตันต่อปี เทียบเท่ากับการนำรถออกจากท้องถนนไปได้ถึง 500,000 คันเลยทีเดียว

รวมทั้ง Microsoft อีกหนึ่งองค์กรที่ออกมาประกาศว่าจะลดการปล่อย CO2 ให้เป็นศูนย์ให้ได้ รวมทั้งจะเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด โดยจะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 ซึ่งการดำเนินการสำคัญ คือการเพิ่มค่าธรรมเนียมคาร์บอนในองค์กรของตัวเอง

หรือแม้กระทั่ง Amazon ยักษ์ใหญ่ด้านค้าปลีกที่ได้มีการวางแผนลงทุน 1 พันล้านยูโร (3.6 หมื่นล้านบาท) เป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อเพิ่มหน่วยขนส่งสินค้าในยุโรป โดยมุ่งเน้นไปที่ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EVs) เพื่อการขนส่งสินค้า รวมทั้งยังมีการ เพิ่ม E- Bike และพนักงานเดินเท้าส่งของ ด้วยเช่นกัน เพื่อเป้าหมายที่จะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2040 

ขณะเดียวกันในปี 2020 ที่ผ่านมา Amazon และบริษัทพันธมิตร ได้มีการระดมทุน 2 พันล้าน US ดอลล่าร์ ที่เรียกว่า “Climate Pledge Fund” เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและบริการที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยคาร์บอนโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้ Amazon บรรลุเป้าหมายได้ เพราะด้วยภาคการขนส่ง ถือเป็นภาคส่วนสำคัญที่มีการปล่อยคาร์บอน Amazon จึงขอโหนกระแสตามเทรนด์รักษ์โลกด้วยเช่นกัน

ส่วนทางฝั่งผู้ประกอบการไทยอย่าง IRPC ก็ได้มีการตั้งเป้าหมายสู่องค์กร Net Zero Emission ในปี 2603 โดยตั้งเป้าสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 20% ภายในปี 2573 จากปี 2561 ด้วย 3 กลยุทธ์ คือ การปรับกระบวนการผลิต มุ่งธุรกิจพลังงานสะอาด และสนับสนุนสตาร์ทอัพ โดยการขับเคลื่อนการแสวงหาธุรกิจใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (New S-Curve) เกี่ยวกับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

อีกหนึ่งรายที่ดูเหมือนกับว่าจะเน้นในเรื่องของ Net-Zero ไม่แพ้กันอย่าง เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ประกาศความมุ่งมั่นว่าจะเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2030 และจะมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 ทั้งยังเข้าร่วมในโครงการ Race to Zero ที่ UN Global Compact ริเริ่มขึ้น 

ทั้งหมดทั้งมวลนี้แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กร ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะส่งสัญญาณว่าภาคเอกชนมีอำนาจในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าในการแข่งขันกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศมากเพียงใด จึงไม่แปลกที่การให้คำมั่นสัญญาว่าจะบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ กลายเป็นแนวโน้มที่กำลังเติบโต และถือเป็นบทบาทสำคัญถึงการแสดงความรับผิดชอบที่มีต่อโลกใบนี้

อ้างอิง Ecohz , Weforum ,Global Compact, Dailymail

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...