หางานที่ใช่ สายอาชีพที่ชอบ ด้วยทฤษฎี Hierarchy of Needs จากนักจิตวิทยาชื่อดัง | Techsauce
หางานที่ใช่ สายอาชีพที่ชอบ ด้วยทฤษฎี Hierarchy of Needs จากนักจิตวิทยาชื่อดัง

มกราคม 25, 2022 | By Siramol Jiraporn

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะกับงานแบบไหน แล้วจะค้นหางานที่ใช่อย่างไรดี? การหาความเหมาะสมระหว่างบุคลิกภาพและอาชีพด้วยทฤษฎี Hierarchy of Needs คือคำตอบ 

จากการศึกษาพบว่า เมื่อโลกแห่งการทำงานมีความสอดคล้องกับตัวตนของเรา ก็จะทำให้เรารู้สึกว่างานที่ทำอยู่มีความหมายมากขึ้น อีกทั้งหากงานที่ทำตรงกับค่านิยมก็จะทำให้เราเกิดความภาคภูมิในในตัวเองด้วย ความเหมาะสมระหว่างบุคลิกภาพกับงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การปรับงานให้เข้ากับบุคลิกของตัวเอง ทำให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นด้วย โดยจากการศึกษาก็ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มีงานที่สอดคล้องกับตัวตนของตัวเองมีเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความสุขกับการทำงาน ส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น ดังนั้นจึงควรหางานที่ใช่ให้กับตัวเอง โดยพิจารณาจากทฤษฎีลำดับชั้นความต้องการด้านอาชีพ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากมาสโลว์ 

Hierarchy of Needs

ความต้องการขั้นพื้นฐาน

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ แสดงให้เห็นว่าบุคคลจะสามารถเติบโตและบรรลุศักยภาพสูงสุดได้ก็ต่อเมื่อได้รับความต้องการพื้นฐานแล้ว ซึ่งแนวคิดเดียวกันนี้สามารถนำมาใช้กับการทำงานได้เช่นกัน โดยความต้องการขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ความต้องการด้านกายภาพ

ความต้องการทางกายภาพเรียกได้ว่าเป็นรากฐานความต้องการ และครอบคลุมทุกพื้นที่การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่บ้านหรือในออฟฟิศ การค้นหาพื้นที่ที่มีสิ่งรบกวนในระดับที่เหมาะกับตัวเองจะช่วยให้รู้สึกมั่นคงและสงบ รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีก็จะทำให้มีสมาธิได้เช่นกัน

คำถามที่ต้องคิด:

2. ความต้องการด้านความสัมพันธ์

ความต้องการด้านความสัมพันธ์นี้ เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับงาน ตั้งแต่การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไปจนถึงความรู้สึกไว้วางใจและความรู้สึกเป็นที่รักในที่ทำงาน โดยเราอาจจะเป็น Introvert หรือ Extrovert ก็ได้ หรืออาจจะชอบทำงานเป็นทีมหรือชอบทำงานคนเดียว สิ่งสำคัญคือให้ลองนึกถึงว่า ความสัมพันธ์ในการทำงานแบบไหนที่จะทำให้เรามีความสุข 

คำถามที่ต้องคิด:

3. ความต้องการด้านองค์กร

ในลำดับขั้นนี้เราต้องประเมินประเภทองค์กรที่เราอยากร่วมงานด้วย โดยประเมินจากวิธีการทำงาน ขนาดขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร รูปแบบความเป็นผู้นำ รวมถึงชื่อเสียง และสิ่งที่โดดเด่นในตลาดขององค์กรนั้นๆ ด้วย

คำถามที่ต้องคิด:

ความต้องการในการเจริญเติบโต

เมื่อเราสามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานได้แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ความต้องการในการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้เราก้าวไปสู่การเป็นบุคคลที่เราอยากจะเป็นได้

1. ความต้องการด้านสุขภาพและไลฟ์สไตล์

เมื่อนึกถึง Work-life balnce และปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้สุขภาพกายและจิตใจดี สิ่งสำคัญก็คือการดูแลสุขภาวะโดยรวมและควบคุมพลังงานของตัวเองให้ดี

คำถามที่ต้องคิด:

2. ความต้องการเรียนรู้และการมีศักยภาพ

ขั้นบนสุดของความต้องการคือการค้นหาหน้าที่ ทักษะ และจุดแข็งของตัวเองที่ต้องการใช้ไปกับงาน ซึ่งแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน บางคนอาจตอบสนองความต้องการด้วยการทำสิ่งที่ตัวเองรัก แต่บางคนอาจให้ความสำคัญกับรายได้ที่มากพอ การรู้ความต้องการตรงนี้จะทำให้รู้ว่าเราอยากจะเติบโตไปอย่างไรในอนาคต 

คำถามที่ต้องคิด:

วิธีการค้นหาความต้องการของตัวเอง

การหาความต้องการพื้นฐานและเงื่อนไขในอุดมคติจะช่วยให้หางานที่เหมาะสมกับตัวเองได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นงานในปัจจุบันหรืองานที่กำลังหาอยู่ หากยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการอะไร ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการช่วยให้หาความต้องการของตัวเองได้มากขึ้นอีกขั้น

1. มองย้อนกลับไปในอดีต

มองย้อนกลับไปถึงงานที่เคยทำในอดีต ซึ่งรวมถึงโปรเจกต์และงานอาสาสมัครอื่นๆ ด้วย และลองคิดดูว่าชอบอะไรมากที่สุดในสิ่งที่เคยทำมา อะไรคือสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ทำอีก และอะไรเป็นสิ่งที่เราไม่อยากเจออีกต่อไป

2. เลือกสิ่งที่ให้ความสำคัญมากกว่า

หากพบความขัดแย้งกันระหว่างความต้องการของตัวเองในแต่ละขั้น ก็ต้องเลือกว่าสิ่งไหนสำคัญกับตัวเองมากกว่า และสิ่งไหนที่เราสามารถยอมปล่อยมันไปได้

3. Job Craft

Job Craft คือการปรับงานเพื่อหาความชอบของตัวเอง ซึ่งจะทำให้มีความพึงพอใจในงานที่ทำมากขึ้น เช่น หากเป็นคนที่ชอบให้ความรู้แก่ผู้อื่น แต่งานที่ทำอยู่เน้นการบริหาร ก็ให้ลองออกแบบงานใหม่โดยการสร้างแบบฝึกหัดการอบรมให้กับทีมอื่น 

4. ลองมองให้แคบลง 

วางแผนชีวิตการทำงานที่เราสามารถจัดการได้ เช่น ลองนึกภาพตัวเองในอีก 1 ปีข้างหน้าว่าเราจะเป็นอย่างไรในตอนนั้น สิ่งที่จะเหมือนเดิมและแตกต่างไปจากเดิมคืออะไร หลังจากนั้นก็มองให้แคบลงอีก ซึ่งอาจจะเป็น 6 เดือนหรือ 3 เดือน แล้วถามตัวเองว่าเราเห็นอะไร

ที่มา - The Muse

No comment