พลิกจากค้ารถสู่ asap Car Rental ที่ใช้ App ดึงลูกค้า | Techsauce

พลิกจากค้ารถสู่ asap Car Rental ที่ใช้ App ดึงลูกค้า

asap Car Rental ที่บุกเบิกโดยนักธุรกิจค้ารถอย่าง ทรงวิทย์ ฐิติปุญญา ผู้พลิกโอกาสจากแนวโน้มที่ภาคองค์กรธุรกิจชะลอการซื้อรถมาครอบครอง เสริมแกร่งด้วย App รองรับความต้องการของผู้เช่ารถยุคใหม่ ที่นิยม Car Sharing เปิดตัว asap GO เวอร์ชั่น 2 ที่ครอบคลุมบริการถึงลูกรายย่อยภายในเดือนเมษายนนี้ รวมถึงเดินหน้าขยายแฟรนไชส์ asap AUTO PARK ให้เช่ารถและขายรถมือสองทั่วไทยที่จะเปิดถึง 5 จุดภายในปีนี้

ก่อนที่ทรงวิทย์ ฐิติปุญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซินเนอร์เจติค ออโต้ เพอร์ฟอร์มานซ์ หรือ asap จะชักชวนอีกหนึ่งผู้ก่อตั้ง asap คือ ปริญดา วงศ์วิทวัส (ปัจจุบันเป็นทั้งผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัท) เข้าสู่วงการรถเช่านั้น ครอบครัวของทรงวิทย์เคยเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ Toyota ในจังหวัดพิษณุโลก และเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ  Nissan ในกรุงเทพและปริมณฑล ปัจจุบันยังเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้าในชื่อ “โตโยต้า แอท ยูไนเต็ด” ่(บริหารโดยบจก. โตโยต้า แอท ยูไนเต็ด)

ในปี 2549 จึงจัดตั้ง asap เพื่อประกอบธุรกิจรถยนต์ให้เช่า (Car Rental) โดยเริ่มจากบริการรถยนต์ให้เช่าระยะยาวแบบครบวงจรซึ่งมุ่งเน้นการให้บริการแก่ลูกค้านิติบุคคลเป็นหลัก โดยมีกลุ่มลูกค้าหลัก ได้แก่ บริษัทผู้ให้บริการด้านงานไปรษณีย์และการขนส่งสินค้าระดับโลก บริษัทข้ามชาติที่ประกอบธุรกิจค้าปลีก/ส่ง และผู้บริหารของลูกค้านิติบุคคลที่ใช้บริการรถยนต์ให้เช่าจากบริษัท ตลอดจน หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ

หลังจากก้าวขึ้นมาเป็นรายใหญ่ในวงการรถยนต์ให้เช่าระยะยาวได้แล้ว asap จึงไม่รอช้าเปิดธุรกิจรถยนต์ให้เช่าระยะสั้นตามมา ในช่วงปลายปี 2558 ซึ่งนอกจากเป็นการขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ทรัพยากรของบริษัทและฐานลูกค้าที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังเป็นการตอบรับต่อความต้องการเช่ารถยนต์ระยะสั้นที่เพิ่มมากขึ้น จากปัจจัยที่ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่่ยนไป รวมถึงการที่ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวของประเทศด้วย

ทั้้งนี้ในปี 2560 ตลาดรถให้เช่า (Car Rental Market) มีมูลค่า 4.25 หมื่นบ้านบาท แบ่งเป็นเช่าแบบระยะยาว (4-5 ปี) ที่ 70% และระยะสั้นที่ 30% โดยระหว่างปี 2549 ถึง 2560 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ท่ี่ 15% ทั้้งนี้คาดว่าในปี 2561 น่าจะมีอัตราการเติบโตของตลาดรวมที่ 6-8% ซึ่งน่าจะทำให้มูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 4.5 - 4.59 หมื่นล้านบาท

เรามองเห็นโอกาสในระยะยาวที่องค์กรขนาดใหญ่จะมีอัตราส่วนของการเช่ารถมากกว่าซื้อรถ ที่จะทำให้เรารักษาฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องกว่าการเป็นเพียง dealer อีกทั้งมองว่าธุรกิจให้เช่ารถจะเปิดกว้างมากขึ้นด้วย

car-rent-asap-ceo

ทรงวิทย์ เล่าว่าตัวเขาผ่านการเรียนรู้มามากมายในช่วงของการผันตัวจากธุรกิจขายรถมาบุกเบิก แม้ในตอนแรกยังไม่กล้าที่จะลงทุนมากนัก กระทั่งผ่านช่วง 4-5 ปีแรกของการก่อตั้งธุรกิจที่ฐานลูกค้าเริ่มแข็งแรง สามารถขายรถมือสองที่นำมาให้เช่าได้กำไร และมีการเติบโตของรายได้ดีขึ้น จึงเริ่มขยับการลงทุนเพิ่มและให้น้ำหนักกับการสร้างแบรนด์มากขึ้นในช่วงต่อมา โดยเลือกใช้ asap เพียงชื่อเดียวในการให้บริการรถยนต์ให้เช่าทุกประเภทของบริษัท

“ช่วง 4-5 ปีแรกเป็นช่วงที่เราเรียนรู้และหาประสบการณ์ ทำให้ฐานลูกค้าแข็งแรง ช่วงต่อมาเริ่มสร้างแบรนด์และขยายฐานลูกค้า สร้างจุดแข็งด้านบริการ เช่น สามารถ commit กับลูกค้าที่เช่ารถได้ ทั้งในเรืื่องเวลาส่งมอบรถ และเวลาที่ซ่อมรถเสร็จ ช่วงที่สามก็ถึงเวลาต้องก้าวกระโดดแล้ว”

ทรงวิทย์ เล่าอีกว่าช่วงที่ 3 ได้เรียนรู้ว่าอุปสรรคที่ขัดขวางการเติบโตแบบก้าวกระโดนคือ ความเชื่อมั่นของลูกค้า จำนวนรถที่เพียงพอ และแหล่งเงินทุน ที่ asap พยายามสร้างจุดแข็งในสามเรื่องนี้ โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจเห็นได้จากปริมาณรถยนต์ให้เช่าที่เติบโตอย่างรวดเร็วจาก 96 คัน ในปี 2549 เป็น 6,375 คัน ในปี 2559 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ในประเทศ จนปีที่แล้วมีรถให้บริการถึง 17,000 คัน ซึ่งถือว่าเป็นลำดับต้น ๆ ของวงการ Car Rent ในประเทศไทย

หลังจากผ่านมากว่า 10 ปีที่ asap ค่อย ๆ ขยายการเติบโตมาเรื่อย ๆ จนล่าสุด ณ สิ้นปี 2561 บริษัททำรายได้ไปกว่า 2.6 พันล้านบาท ซึ่งราว 83% มาจากธุรกิจให้เช่ารถ 16% มาจากขายขายรถมือสอง และอีก 2% จากอื่น ๆ สำหรับปีนี้ตั้งใจจะเพิ่มจำนวนรถให้เช่าอีก 3,000 - 4,000 คัน เพื่อให้จบสิ้นปีนี้ที่ยอด 20,000 คัน ซึ่งจะส่งผลให้ asap เป็นผู้นำในตลาด

โดยในปี 2563 ตั้งเป้าขยายการเติบโตเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่จำนวนรถที่ให้เช่า ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 22,000 คัน และสามารถทำรายได้รวมถึง 4 - 4.5 พันล้านบาท ซึ่งจะมีรายได้จากการเช่ารถระยะยาวอยู่ที่ 80% และอื่น ๆ อยู่ที่ 20% เพื่อสุดท้ายแล้วจะทำให้ asap เป็นผู้นำในตลาดรถเช่า ที่มีจำนวนรถให้เช่าสูงสุด เป็นผู้จัดหน่ายรถยนต์มือสองที่ใหญ่ที่สุด มีเครือข่ายให้เช่ารถระยะสั้นที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขวางที่สุด ตลอดจนมีเครือข่ายของระบบ Car Sharing ที่แข็งแกร่งที่สุด้วย

ปีนี้คาดว่าเป้าหมายรายได้จะโตที่ประมาณ 25% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาจะเฉลี่ยที่ 25-30%

car-rent-asap-ceo

asap Car Rental 4 รูปแบบ

ปัจบุัน asap มีบริการให้เช่ารถยนต์ใน 4 รูปแบบ ได้แก่

บริการรถยนต์ให้เช่าระยะยาว (Operating Lease) แบบครบวงจร ซึ่งมุ่งเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าองค์กร และส่วนใหญ่มีการทำสัญญากับลูกค้าเป็นระยะเวลาประมาณ 4 - 5 ปี โดยการให้เช่ารถยนต์ระยะยาวแบบครบวงจรประกอบด้วยบริการด้านต่าง ๆ ได้แก่ การจัดหารถยนต์ การออกแบบและปรับแต่งรถยนต์ตามความต้องการของลูกค้า การซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์ การให้บริการรถทดแทน และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง

บริการรถยนต์ให้เช่าระยะสั้น ซึ่งมุ่งเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าบุคคลธรรมดา

บริการรถยนต์ให้เช่าพร้อมคนขับ (Limousine) ซึ่งมุ่งเน้นการให้เช่ารถยนต์ระยะยาวแก่ลูกค้าองค์กรที่มีความต้องการเช่ารถยนต์พร้อมคนขับรถ โดยมีบริการด้านต่าง ๆ เช่นเดียวกับบริการรถยนต์ให้เช่าระยะยาวแบบครบวงจร แต่มีบริการเพิ่มเติม คือ บริการคนขับรถ และบริการบริหารจัดการรถและคนขับรถ

บริการรถยนต์ให้เช่าผ่าน App ซึ่งมุ่งเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้าบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการใช้รถยนต์ชั่วคราวตามจุดจอดรถทั่วกรุงเทพฯ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันฐานรายได้หลักของ asap ที่ 95% มาจากกลุ่มองค์กร (เช่าระยะยาว) ขณะที่ 5% มาจากรายย่อย (เช่าระยะสั้นและผ่าน app) แต่ไม่ว่าจะลงมาเปิดตลาดรายย่อยมากแค่ไหน ก็ไม่มีโอกาสที่จะขยับอัตราส่วนไปได้มากกว่า 10-20% ทั้งนี้ตลาดรายย่อยจะมีความเบี่ยงเบนของภาวะตลาดสูงจากหลายปัจจัย เช่น การท่องเที่ยว เศรษฐกิจโลก เป็นต้น สำหรับในอนาคตภายใน 2-3 ปีข้างหนั้น asap ต้องการปรับสัดส่วนรายได้จากลูกค้าองค์กรให้อยู่ที่ราว 80% ขณะที่รายย่อยอยู่ที่ราว 20%

การเช่ารถผ่าน App จะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราส่วนรายได้จากรายย่อยขึ้นไปถึง 20% ได้ในอนาคต

ด้วยรายได้หลักจากการให้เช่ารถระยะยาวของบริษัทค่อนข้างชัดเจนและสม่ำเสมอ ทำให้การรับรู้รายได้มีความเสถียร ขณะที่รายได้จากขายรถมือสองก็ขึ้นกับว่ามีราคาเท่าไร ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดวิกฤติอย่างไรจึงไม่ค่อยส่งผลกระทบกับธุรกิจของ asap มากนัก

ส่วนสงครามตัดราคาไม่ใช่เป็นสถานการณ์ระยะยาว ที่จะส่งผลกระทบกับรายได้ของบริษัท เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องอุปสงค์อุปทานก็จะเป็นตัวที่กำหนดทิศทางราคาที่แท้จริงในแต่ละช่่วงเวลา

แม้ที่ผ่านมาจะมีความไม่มั่นคงทางการเมือง แต่ปีนี้และปีหน้า หรือปีถัด ๆ ไป (เรา) ก็ยังมีรายได้สูงขึันเรื่อย ๆ ไม่มีอะไรจะมากระทบกระเทือนมากมาย

asap App โลดแล่น

แม้แรกเริ่ม App สำหรับให้เช่ารถของ asap จะเปิดตัวโดยให้บริการกับกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นลูกค้าองค์กรธุรกิจก่อนในรูปแบบของ Haupcar (ดำเนินการโดยบริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ผลิตแพลตฟอร์มและให้บริการ Car Sharing) กระทั่งเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้จึงเริ่มพัฒนา asap GO (ที่ยังอยู่ภายใต้ Haupcar) ขึ้นมา เพียงแต่ยังให้บริการกับกลุ่มลูกค้าองค์กรที่มีพนักงานจำนวนหลายพันคน เช่น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

"asap GO ช่วยให้ลูกค้าองค์กรบริหารจัดการเรื่องการใช้รถได้โดยไม่ต้องมีทีมงานมาดูแลเรื่องส่งมอบรถและอื่น ๆ"

แต่ภายในเดือนเมษายนปีนี้ จะขยายขอบเขตไปถึงลูกค้ารายย่อย โดยต่อไปจะเหลือ App ให้บริการเพียงหนึ่งเดียวคือ asap (ซึ่ง asap GO เป็นระบบเช่ารถภายใต้ asap) ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานที่เข้ามาใช้อย่างสม่ำเสมอแล้วเกือบ 10,000 ราย และหากเริ่มเปิดให้ใช้กับกลุ่มรายย่อยได้ก็น่าจะมีผู้ใช้งานเพิ่มอีกเป็นราว 50,000 รายภายในปีนี้ จนสามารถเพิ่มเป็นหลักหลายแสนรายได้ตามเป้าหมายระยะยาว ที่มาจากทั้งฝั่งลูกค้ากลุ่มองค์กรและรายย่อยที่มาใช้ App ของบริษัท

นอกจากนี้ asap GO แตกต่างกว่า App ด้าน Car Sharing อื่น ๆ ตรงที่ผู้ใช้จะเช่ารถขับด้วยตัวเอง จึงราคาถูกกว่าเล็กน้อย ให้ความเป็นส่วนตัวกว่า และไม่ต้องรถนาน เพราะผู้ใช้สามารถขับรถออกมาเองได้เลยและสามารถนำไปคืนได้สะดวก

asap GO จะพัฒนาให้เป็น mobility service ที่มีบริการให้หลากหลายและครบถ้วนมากขึ้นภายในปีนี้ ไม่ว่าจะเช่าแต่รถ หรือจะต้องการแค่คนขับ หรือจะเป็นคนขับพร้อมรถก็ได้

car-rent-auto-apart-asap

asap AUTO PARK ทั่วไทย

แม้จะทำได้สำเร็จระดับหนึ่ง แต่ระหว่างทางก็มีอุปสรรคหลายด้านมาท้าทาย เช่น การแข่งขันด้านราคา การบริหารต้นทุนการดำเนินธุรกิจให้แข่งขันได้ หรือแม้แต่ปัญหารถมือสองราคาตกรุนแรงจากมาตรการรถคันแรกของรัฐบาลเมื่อ 6 ปีที่แล้ว

“หลังจากหมดสัญญาเช่ารถระยะยาว 4-5 ปีแล้ว เราจะนำรถมือสองมาจำหน่ายเพื่อแปลงมาเป็นเงินสด ซึ่งหากราคาตกก็ทำให้รายได้จากตรงนี้ลดลง เราจึงต้องปรับตัวแล้ววางแผนรับมือกับปัญหาในอนาคต เช่น จากขายผ่านลานประมูลก็เปลี่ยนเป็นขายกับลูกค้ารายย่อยโดยตรงมากขึ้นด้วย asap AUTO PARK”

ดังนั้น อีกหนึ่งแนวทางที่จะสร้างฐานรายได้ของ asap ให้มั่นคง เพื่อรับมือกับปัจจัยที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย โดยแตกไลน์ธุรกิจใหม่มาเสริม จึงเลือกบุกตลาดทั่วประเทศด้วยแฟรนไชส์ asap AUTO PARK (ราคาขั้นต่ำ 500,000 บาท) ซึ่งเป็นบริการรถยนต์ให้เช่าระยะสั้นและจำหน่ายรถยนต์มือสองครบสัญญาเช่าของ asap ที่เปิดตัวเมื่อราวเดือนกรกฎาคมปี 2561

ทั้งนี้ภายในปี 2562 จะสามารถเฟ้นหาพันธมิตรที่มีทำเลเหมาะสมและพร้อมที่จะเปิดกิจการ asap AUTO PARK ได้ราว 5 ราย ที่จะมีขนาดของแฟรนไชส์แตกต่างกันไป ได้แก่ กรุงเทพ (อ่อนนุช) นนทบุรี อุบลราชธานี นครราชสีมา และเชียงใหม่

นอกจากนี้ asap ยังได้นำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้เพื่อทำให้เป็นผู้ให้บริการด้านรถเช่าแบบครบวงจรที่เทียบได้กับผู้ให้บริการ mobility solution ด้วยมองว่าพฤติกรรมการใช้รถของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป เช่น ความสนใจที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นคือแม้ฝันของการมีรถยนต์จะยังคงอยู่แต่รูปแบบของการครองครองแตกต่างจากเดิม เช่น ในวันที่ต้องการไปพักผ่อนกับครอบครัวจะต้องการใช้รถซึ่งมีจำนวนหลายที่นั่งเพื่อให้โดยสารไปพร้อมกันได้ด้วยรถเพียงหนึ่งคัน จึงเลือการเช่ารถที่ย่อมสะดวกและปลอดภัยกว่า

ทั้งนี้ด้วยอุปกรณ์สมองกลที่ติดตั้งภายในรถที่ให้เช่า เช่น OBD เป็นต้น จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้สามารถเรียนรู้ทั้งพฤติกรรมการใช้รถและการขับรถของผู้บริโภค โดยนำข้อมูลดิบเหล่านี้มาวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนารายการส่งเสริมการขายและบริการใหม่ ๆ หรือแม้แต่ทำ cross selling เพิ่มขึ้น เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตรงจุด

เช่น ถ้าพบว่าลูกค้าชอบเช่ารถไปเชียงใหม่ช่วงวันหยุดและเข้าพักที่โรงแรมใดเป็นประจำ ก็สามารถเสนอส่วนลดโรงแรมหรือร้านอาหารในย่านนั้นได้


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...

Responsive image

ทำไมองค์กรต้องมี ‘Innovation Culture’ พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากสร้างนวัตกรรม

ในบทความนี้ Techsauce ขอพาผู้อ่านไปรู้จักคำว่า Innovation Culture หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม อีกฟันเฟืองสำคัญของการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ขาดไปไม่ได้...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...