สิ่งที่องค์กรมักพลาดในการสร้าง Culture คือ "เลียนแบบองค์กรอื่น"

สิ่งที่องค์กรมักพลาดในการสร้าง Culture คือ "เลียนแบบองค์กรอื่น"

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมตลอดเวลาเนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานองค์กรมากขึ้น มีบริษัทเกิดใหม่จำนวนมาก การแข่งขันมาจากทุกทิศทาง การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดในระยะยาว

วัฒนธรรมองค์กรก็เปรียบแนวทางที่ช่วยกำหนดความคิด ค่านิยม รวมทั้งการกระทำของทุกคนในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งหมดก็เพื่อให้สอดคล้องไปถึงอนาคตที่องค์กรจะเดินไปข้างหน้า ซึ่งก็ถือเป็นรากฐานสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้บริษัทประสบความความสำเร็จ

แน่นอนว่าการก้าวออกจากกรอบเดิมๆ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่าง ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย Techsauce ได้มีโอกาสนั่งสนทนากับคุณชาล เจริญพันธ์ ซีอีโอของ HUBBA ผู้บุกเบิก co-working space เจ้าแรกในเมืองไทย ที่เดินหน้าปั้นธุรกิจแตกยอดให้เกิดเป็นเทรนด์ใหม่จนสำเร็จ ในเรื่องการยกระดับวัฒนธรรมขององค์กร ว่าเราจะทำอย่างไรในการพัฒนากลยุทธ์ที่ครอบคลุมทั้งในด้านความเป็นผู้นำและการมีส่วนร่วมของพนักงาน

"Digital disruption, Change management, Corporate innovation คือคำเก่าที่นำมาปรับใหม่ ในอนาคตก็จะยังคงมีคำใหม่ออกมาเรื่อยๆ แต่จริงๆ แล้วมีวิธีการเหมือนกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้องค์กร ต้องทำตลอดเวลาอยู่แล้ว มันไม่ใช่เปลี่ยนแปลงแค่ในช่วงใดช่วงหนึ่งแล้วหยุด อีกทั้งไม่ใช่การปรับโฉมแบบก้าวกระโดด เพราะอาจจะทำให้องค์กรล้มได้ องค์กรที่ดีจะต้องทำการ innovate อย่างต่อเนื่อง เพราะธุรกิจไม่มีวันจบ เหมือนกับการเล่นเกมที่ไม่มีวันจบ หากเราทำ Change management หรือ Digital disruption เหมือนเกมที่เล่นแล้วจบ นั่นเป็นการเดินเกมที่พลาด" คุณชาลกล่าว

องค์กรที่ดีจะต้องทำการ innovate อย่างต่อเนื่อง เพราะธุรกิจไม่มีวันจบ เหมือนกับการเล่นเกมที่ไม่มีวันจบ หากเราทำ Change management หรือ Digital disruption เหมือนเกมที่เล่นแล้วจบ นั่นเป็นการเดินเกมที่พลาด

การทำธุรกิจก็เหมือนหมากรุก เราไม่ได้มองว่าทำอย่างไรถึงจะชนะในการเดินเกมครั้งแรกได้ แต่จะนำบริษัทให้อยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งที่สามารถเอาชนะได้อย่างไร และจะดำเนินไปเช่นนี้เรื่อยๆ ผ่านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การทำ Change management และการทำ Digital transformation

วิธีที่จะทำให้เราชนะในเกมนี้นั่นก็คือ เราต้องพาองค์กรเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งให้ได้ เพราะมันไม่มีการชนะในระยะยาว มีแต่การชนะในระยะสั้น

Cultural Management นั้นเป็นเครื่องมือ การที่จะสร้างนวัตกรรมได้ ต้องเริ่มจาก ‘ความคิด’ หมายความว่า หากผู้บริหารมีความคิดสร้างสรรค์ มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สามารถที่จะคิดนอกกรอบได้ นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่หากคนในองค์กรมีไอเดียที่ล้ำหน้า แต่ขาดความสามารถในการปฏิบัติงาน ไม่เข้าใจคำว่า innovation technology หรือไม่กล้าลองอะไรใหม่ๆ ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง การสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งก็จะไม่เกิด

คุณสมบัติขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒธรรมคือการให้ความสำคัญกับ 'คน'

คุณสมบัติขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒธรรมคือการเป็น People first company คือ ‘คน’ ต้องมาก่อน แน่นอนว่าบริษัทที่มีทุนหนา ย่อมจะสามารถโฟกัสไปที่การพัฒนาคนได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทเล็กก็สามารถสร้างวัฒนธรรมได้เช่นกัน สิ่งที่เราต้องบังคับในการสร้างวัฒนธรรมคือ การกำหนดการปฏิบัติ กิจกรรม หรือวิธีการสื่อสารที่จะเป็นการเสริมวัฒนธรรมองค์กร หากมีการปฏิบัติต่างจากสิ่งที่กำหนด จะต้องมีการเตือนอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ไม่ใช่วิถีขององค์กร

องค์กรที่ดีที่จะอยู่รอดในอนาคต มักจะมีวัฒนธรรมคล้ายๆ กัน แต่จะไม่เหมือนกัน 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วน 90 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรเหล่านั้นจะมีเรื่องของความซื่อสัตย์อยู่ในนั้นด้วย เมื่อคนส่วนใหญ่ในองค์กรมีความคิดคล้ายๆ กัน จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งการที่องค์กรสามารถสร้างวัฒนธรรมเข้มแข็งได้ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนใหม่ที่เข้าร่วมทีม ที่จะมองเห็นว่าเขาเหมาะกับวัฒนธรรมนั้นหรือไม่ ซึ่งวัฒนธรรมก็เหมือนองค์กรคนหนึ่งคน คนๆ นั้นจะมีลักษณะนิสัยอย่างไร นั่นคือสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นมา

สิ่งที่องค์กรมักจะทำพลาดในเรื่องการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

การเลียนแบบวัฒนธรรมองค์กรอื่น

อาจจะเป็นที่รู้จักกันดีว่าหลายบริษัทเทคโนโลยีใน Silicon Valley ขึ้นชื่อในเรื่องของฐานเงินเดือนที่สูงและมีสวัสดิการที่ดีเยี่ยม หลายคนเริ่มเชื่อว่าผลประโยชน์ที่ฟุ่มเฟือยเหล่านั้นมีความจำเป็นต่อการสร้างสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยม แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ อีกทั้งสำหรับหลาย ๆ บริษัท ด้วยความที่มีงบประมาณจำกัด มันก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะสร้างสิ่งเหล่านั้น อย่างไรก็ตามแม้สภาพแวดล้อมการทำงานในบริษัทจะไม่ได้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ แต่มันก็เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดึงดูดและรักษาเหล่า Talent

Netflix ขึ้นชื่อว่าเป็นที่ที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่สุดโต่ง อย่างไรก็ตามแม้หลายองค์กรจะพยายามนำมาเป็นต้นแบบ หากไม่ดูว่าแท้ที่จริงแล้วตัวตนขององค์กรเป็นอย่างไร ท้ายที่สุดแล้วย่อมล้มเหลว เนื่องจากทุกองค์กรมีวัฒนธรรมของตัวเอง ผู้ที่คัดลอกวัฒนธรรมของ Netflix มานั้นไม่ได้ทำให้ culture เกิดด้วยซ้ำ อีกทั้งอีโก้ของตัวผู้นำเองที่ขัดขวางการสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมต้องมาจากคนในองค์กร โดยเฉพาะจากผู้นำ ถ้าผู้นำไม่ act ไม่นำคนในทีมให้ culture นั้นเกิดขึ้น สุดท้ายแล้วมันก็เป็นวัฒนธรรมที่เฟค

เมื่อหา DNA ขององค์กรได้ จ้างคนที่เหมาะกับวัฒนธรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ แต่หาคนที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เข้ากับรูปแบบของวัฒนธรรม ผู้นำมีหน้าที่หล่อหลอมคนในองค์กรให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมนั้น

เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมต้องมาจากคนในองค์กร โดยเฉพาะจากผู้นำ ถ้าผู้นำไม่ act ไม่นำคนในทีมให้ culture นั้นเกิดขึ้น สุดท้ายแล้วมันก็เป็นวัฒนธรรมที่เฟค

การให้ความสำคัญผิดจุด

การที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้ มันเป็นการสร้างการกระทำเล็กๆ หรือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ดังนั้นการสร้างออฟฟิศใหม่ หรือสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่นั้น มันไม่ได้ช่วยให้วัฒนธรรมเกิด หลายองค์กรมักจะไปเสพติดสิ่งที่ได้เห็นจากบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ในซิลิคอน วัลเลย์ อย่างการสร้างโต๊ะปิงปองหรืออื่นๆ แต่นั่นมันเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างวัฒนธรรม แต่คุณจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน นี่เป็นสิ่งที่ต้องคิด ซึ่งเรื่อง culture มันท้าทายตรงที่ มันเป็นเรื่องยากในการวัด แต่เรารู้วิธีที่จะวัด culture ได้ เรารู้ว่าในการที่จะสร้าง culture แบบนั้นจะต้องมีการวางแผนอย่างไร มีการวัดผลอย่างไร

กลับมาอีกครั้งกับงาน Techsauce Culture Summit 2021 วันที่ 25-26 มีนาคม 2564 นี้

Corporate จะสร้าง Innovation ‘คน’ ต้องพร้อม จะพัฒนาคนอย่างไร? สร้าง Culture องค์กรอย่างไรให้แข็งแกร่ง? มีอะไรอีกบ้างที่คุณต้องรู้ เตรียมหาคำตอบในงาน Techsauce Culture Summit 2021 งานที่ผู้บริหารต้องเข้าร่วม และ HR ทุกองค์กรห้ามพลาด วันที่ 25-26 มีนาคม 2564 นี้ ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใครที่นี่ https://bit.ly/33Bn5ki

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...

Responsive image

ทำไมนวัตกรรมถึงสำคัญกับองค์กร และสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุค AI

ถ้าเราใช้วิธีเก่า ในการแก้ปัญหาใหม่ หรือถ้าเราใช้โมเดลธุรกิจเดิม กับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผลลัพธ์จะออกมาไม่ดีนัก และทางออกของปัญหาที่เราอยากชวนทุกคนมารู้...

Responsive image

5 ปัญหาหลักของ HR เมื่อต้องเฟ้นหา Tech Talent ให้ตอบโจทย์องค์กร

5 ปัญหาหลักของ HR เมื่อต้องเฟ้นหา Tech Talent ให้ตอบโจทย์องค์กรยุคใหม่ ด้วย TalentSauce ครอบคลุมทุกความต้องการในการจ้างงาน...