เปิด ‘AIS Playground’ พื้นที่เชื่อมต่อ API กับ AIS สำหรับนักพัฒนาและ Startup | Techsauce

เปิด ‘AIS Playground’ พื้นที่เชื่อมต่อ API กับ AIS สำหรับนักพัฒนาและ Startup

อย่างที่ทราบกันว่าเมื่อไม่นานมานี้ AIS ได้จับมือ TCDC เปิดตัว “AIS D.C.” (AIS Design Centre) ที่เปรียบเสมือน Co-Working Space แห่งใหม่ที่พร้อมเป็นทั้ง Comunity และพื้นที่สร้างสรรค์เรียนรู้ ซึ่งภายใน AIS D.C. นีี้ก็มีห้องหนึ่งที่ชื่อว่า 'AIS Playground' ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาทั่วไปและ Startup สามารถเข้ามาทดสอบระบบ เชื่อมต่อ API จำนวน 12 API กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง กับ AIS Digital Platform เพื่อทดสอบการทำงานแบบเสมือนจริง ใครที่อยากมีบริการที่เชื่อมกับ AIS ก็ต้องมาทดสอบกันที่นี่

คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานพัฒนาบริการ แอปพลิเคชันโทรคมนาคม และเครือข่าย กล่าวว่า “เป้าหมายหลักในการทำงานของเอไอเอส นอกจากมุ่งมั่นพัฒนาโครงข่าย ทั้ง 3G, 4G, 4.5G, NextG, SUPER WiFi และบริการดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าใช้ชีวิตได้มากกว่าแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เพื่อสร้างสรรค์ พัฒนา และเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ร่วมกันส่งมอบสินค้า และบริการที่หลากหลายตอบโจทย์ลูกค้าในยุคดิจิทัล

วันนี้ AIS ยกระดับการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ไปอีกขั้น ด้วยการสร้างระบบจำลองเพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาโปรแกรมทั่วไป และ Startup ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์รุ่นใหม่ของเอไอเอสได้เข้าถึง และทดสอบระบบเชื่อมต่อ API บนผลิตภัณฑ์ของตนเอง กับ AIS Digital Platform เพื่อทดสอบการทำงานได้เสมือนจริง และนำระบบจำลองนี้ออกมาสร้างเป็นห้อง AIS Playground ที่มีพร้อมทั้งระบบ IT Platfrom, Mentors ผู้เชี่ยวชาญ, Network ที่ดีที่สุด, อุปกรณ์ Device ต่างๆ รวมถึงองค์ความรู้มากมาย”

โดยในห้อง AIS Playground ประกอบไปด้วย API (Application Programming Interface) ที่ให้นักพัฒนาโปรแกรม และ Startup ได้ทดสอบเชื่อมต่อระบบบน Product & Service บนผลิตภัณฑ์ของตนเอง กับ AIS Digital Platform เพื่อทดสอบการทำงานแบบเสมือนจริงที่สตาร์ทอัพสามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยมีทั้งหมด 12 API ได้แก่

  1. Redeem Point [ Category: Privilege ]

เป็น API ที่ให้ลูกค้าสามารถใช้ AIS Point แลกเป็นส่วนลด หรือของรางวัลต่างๆ

  1. Exchange Point [ Category: Privilege ]

เป็น API เพื่อให้ลูกค้าสามารถโอนย้าย AIS Point ไปเป็นคะแนนสะสมในธุรกิจของ Startup เองได้ (โดยธุรกิจนั้นๆ จะต้องมีคะแนนสะสมเป็นของตัวเอง)

  1. Check Point [ Category: Privilege ]

เป็น API เพื่อให้ลูกค้าตรวจสอบ AIS Point ของตนเองได้

  1. User Segment [ Category: Privilege ]

เป็น API เพื่อตรวจสอบลูกค้า AIS ที่ใช้บริการธุรกิจของ Startup ว่ามี Privilege อยู่ในระดับไหน (Platinum, Gold, Emerald)

  1. Privilege Location [ Category: Privilege ]

เป็น API เพื่อแสดงสถานที่ของร้านค้าที่เข้าร่วมรายการกับ AIS Privilege ให้ลูกค้าทราบ

  1. OTP หรือ One-Time Password [ Category: Identification ]

เป็น API สำหรับการเชื่อมต่อเพื่อยืนยันตัวตนของลูกค้าด้วยการรับรหัสผ่านทาง SMS จากเบอร์มือถือทุกเครือข่าย

  1. Notification [ Category: Notification ]

เป็น API สำหรับการเชื่อมต่อเพื่อใช้ส่งข้อความประชาสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันไปยังลูกค้า

  1. SMS [ Category: Notification ]

เป็น API ที่ใช้สำหรับส่งข้อความไปยังลูกค้าในรูปแบบของ SMS โดยสามารถใช้ได้กับลูกค้าทุกเครือข่าย

  1. mPay [ Category: Payment ]

เป็น API สำหรับเชื่อมต่อระบบ Payment Gateway ของ AIS ใช้ในการรับชำระค่าสินค้า และบริการทางการเงินแบบครบวงจร ทั้งเติมเงิน, จ่ายบิล, โอนเงิน และถอนเงิน

  1. Billing Plus [ Category: Payment ]

เป็น API สำหรับสร้างแพ็กเกจร่วมกันระหว่าง Startup กับ AIS ซึ่งจะเรียกเก็บค่าสมัครแพ็กเกจของลูกค้าผ่านทาง AIS Bill

  1. Check FBB ID [ Category: Identification ]

เป็น API ตรวจสอบได้ว่าลูกค้าเป็นสมาชิกของ Fibre Broadband ID หรือไม่

  1. Check PI [ Category: Identification ]

เป็น API สำหรับตรวจสอบได้ว่าลูกค้าได้ทำการแสดงตัวตนแล้วหรือยัง

API ในโลกนี้อันไหนที่ดีๆ เราจะนำมาเชื่อมต่อ เพื่อเป็นตัวกลางให้ Startup ถ้ามาที่นี่ที่เดียวจบ

คุณอราคินยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าแล้วพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของใคร ใครบ้างที่สามารถเข้ามาได้บ้าง กล่าวคือไม่เพียงแต่นักพัฒนาโปรแกรมทั่วไป และ Startup ที่เข้ามาได้แต่คนที่มีไอเดีย, คนที่ต้องการจะเป็น Startup หรือแม้แต่บริษัทเองก็เข้ามาในพื้นที่นี้ได้เช่นกัน  ซึ่งถ้าเข้ามาแล้วผลลัพท์ก็อาจจะออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น มีความพร้อมที่จะเป็น AIS Startup , Business Partner หรือการได้ Networking ใหม่ๆ

ตัวอย่าง Startup ที่เชื่อมต่อ API กับ AIS

ยกตัวอย่างรุ่นพี่ AIS The StartUp  คุณธีระ ศิริเจริญ COO and Co-Founder, Golfdigg และคุณรัชวุฒิ พิชยาพันธ์ CEO, Fixzy ได้มาร่วมพูดคุยในฐานะ User เกี่ยวกับ AIS Playground  คุณรัชวุฒิกล่าวว่า “Startup ทำงานแข่งกับเวลา ต้องใช้ speed พอสมควร ซึ่งผมมองว่าห้องนี้เปรียบเสมือนห้อง Lab ถ้าย้อนกลับไปแล้วมีห้องนี้ service ที่ผมจะทำมันจะทำได้เร็วมากๆ โฟกัสไปที่ business กับโซลูชั่นอย่างเดียวเลย มันน่าจะไปได้ไวขึ้น เพราะเทคนิคสมัยก่อนไม่เหมือนกับสมัยนี้ ทุกอย่างมันก็ง่ายขึ้น  และมี API ให้เราเลือกใช้ด้วย เราอยากใช้อันไหนก็หยิบมาใช้ได้เลย ตรงนี้คือมาที่นี่ที่เดียวจบ และยังมี mentor คอยให้คำแนะนำด้วย”

และคุณธีระกล่าวว่า “เมื่อย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้วกว่าจะมาเป็นกระบวนการหรือการใช้งานที่ง่าย มันเกิดจากการคุยกัน 2-3 เดือน แต่เมื่อมีห้องนี้แล้วมันทำให้ง่ายขึ้น มีรุ่นพี่มาคอยให้คำแนะนำ และมี API หลายๆ ตัวที่น่าใช้ เช่น SMS หรือ OTP การ Log in อย่างเช่นไปที่สนามกอล์ฟเราอยากให้ลูกค้ามาใช้บริการแอปฯเรา แต่เราต้องไปคอย register Facebook ให้เค้าด้วย ซึ่งผมคิดว่าวันนึงเราเสียเวลา register Facebook ให้ลูกค้า 15 นาที เราเสียทรัพยากรในการที่จะดึงลูกค้าเข้ามา แต่ OTP มันทำให้ง่ายขึ้น โดยการให้ลูกค้าใส่เบอร์มือถือ แล้ว OTP มา จากนั้นรับรหัส 4 ตัว ทำให้เราสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่มี Facebook ก็ได้ ซึ่งมันสามารถต่อยอดธุรกิจเราให้ไปต่อได้”

อยากเข้าร่วม ทำอย่างไร?

สำหรับนักพัฒนาโปรแกรม และ Startup ที่สนใจสามารถเข้าใช้บริการห้อง AIS Playground ได้ผ่าน 2 ช่องทาง คือ

  •  Walk-in เอไอเอส เปิดโอกาสให้คนทั่วไปที่มีความสนใจสามารถเข้ามาพูดคุยข้อมูลเบื้องต้น และขอคำปรึกษากับ Mentors ผู้เชี่ยวชาญจากเอไอเอส รวมถึงทำการทดลองเชื่อมต่อระบบ API บนผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.30 – 19.00 น. โดยสามารถนัดหมายผ่านเคาน์เตอร์ AIS D.C. Info Guru หรือติดต่อที่หมายเลข 0-2029-2299 และหากเมื่อทำการพูดคุย ทดสอบ แล้วอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ AIS The StartUp สามารถนำส่งผลงานเข้าสู่ระบบของ AIS The StartUp Connect เข้าสู่กระบวนการคัดกรองต่อไป
  • AIS The StartUp Connect สำหรับผู้ที่ส่งผลงานมาที่ www.ais.co.th/thestartup เพื่อร่วมเป็นดิจิทัลพาร์ทเนอร์กับเอไอเอส หากผ่านเกณฑ์ของการคัดกรองก็จะได้ร่วมทำธุรกิจในฐานะพาร์ทเนอร์กับเอไอเอส หรือหากไม่ผ่านเกณฑ์ แต่สามารถพัฒนาในด้านต่างๆ ได้ จะได้รับสิทธิ์การเป็นสมาชิก AIS D.C. เป็นเวลา 2 เดือน พร้อมเข้าใช้ห้อง AIS Playground เพื่อทำการทดลองเชื่อมต่อระบบ API บนผลิตภัณฑ์ของตัวเอง พร้อมรับคำปรึกษาจากทีม Mentors อย่างใกล้ชิดได้ตลอดเวลา และสามารถเข้าร่วม Workshop พัฒนาความรู้ต่างๆ ได้ เมื่อครบ 2 เดือนแล้วจะสามารถเข้าร่วมการ Pitching เพื่อเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับเอไอเอสอีกครั้ง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...