ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง พัทยา จับมือ AIS พัฒนา Smart Terminal นำร่องเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC | Techsauce

ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง พัทยา จับมือ AIS พัฒนา Smart Terminal นำร่องเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC

ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ประกาศจับมือกับ เอไอเอส นำเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาให้เป็น Smart Terminal ในช่วงก่อนการสร้างและเปิดใช้อาคาร 3 ให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์ลำดับที่ 3 ของกรุงเทพมหานครในอนาคต เป็นการเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารและสินค้ากับสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ ตามแผนเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์สำคัญภายใต้นโยบาย Thailand 4.0

โดยท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง-พัทยา เลือกเอาอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เป็นอาคารผู้โดยสารอัจฉริยะ หรือ “Smart Terminalในระยะแรก โดยจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ

  • ยกระดับการให้บริการผู้โดยสาร ด้วยแอปพลิเคชัน U-Tapao ที่จะมีข้อมูลด้านการบินและสนามบินในแอปฯ เดียว อาทิ
    • สถานะตารางการบิน
    • บริการการเดินทางไปกลับสนามบิน
    • บริการที่จอดรถ ฯลฯ
    • รวมทั้งแผนที่แสดงจุดให้บริการต่างๆที่เสริมระบบการนำทางและการแสดงข้อมูลการบริการภายในสนามบินด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เป็นครั้งแรกของไทย
  • เสริมระบบบริหารจัดการอาคารผู้โดยสารด้วยเทคโนโลยี Video Analytics ประกอบด้วย
    • เครือข่ายกล้องวงจรปิดทั่วอาคาร และโปรแกรมวิเคราะห์ประมวลผลภาพปัญญาประดิษฐ์และ Big Data ประยุกต์ใช้เป็นระบบตรวจจับและจดจำใบหน้าบุคคล (Face Recognition) ในพื้นที่สนามบิน เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย เช่น กรณีบุคคลหรือวัตถุต้องสงสัย หรือกรณีบุคคลสำคัญ เป็นต้น
    • ระบบแสดงข้อมูลความหนาแน่นของผู้โดยสาร (Heat Map Analytics) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัย และการบริหารและบริการของการท่าฯ

โดยแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทในเครือของเอไอเอส เป็นผู้พัฒนา Mobile Application และระบบวิเคราะห์ภาพวีดีโอ หรือ Video Analytics รวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเพื่อให้บริการดังกล่าวในพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 โดยมีเป้าหมายหลักคือ ขยายขีดความสามารถในการให้บริการแก่ท่ากาศยานแห่งนี้ จากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกและมอบประสบการณ์ที่เป็นเลิศให้แก่ผู้ใช้บริการท่าอากาศยาน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพการบริหารอาคาร

ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ

เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC กำลังถูกกล่าวถึงกันเป็นอย่างมาก และมีหลายโครงการที่เกิดขึ้นมากมายเต็มไปหมด และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งในโครงการนำร่องอีกตัว แม้ Smart Terminal ในที่นี้อาจจะยังไม่ได้ล้ำหน้าเหมือนสนามบินที่สิงคโปร์ที่เริ่มมีระบบ Seamless การ Checkin แบบไร้คนขนาดนั้น แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะได้เห็นการนำดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้ประสบการณ์ของผู้โดยสารดีขึ้น

ในมุมมองของประชาชนอย่างเรา เราก็อยากเห็นรัฐเข้ามาสนับสนุนอย่างจริงจัง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความโปร่งใส ไม่ใช่เพียงการตั้งโครงการขึ้นมา มีแผนที่วางไว้แล้ว แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็เริ่มต้นใหม่กันอีกครั้งหนึ่ง เราคงไม่อยากเห็นวังวนแบบนี้เกิดขึ้นในสังคมไทยเฉกเช่นที่ผ่านมาอีก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

RML ตั้ง เบร็นตัน มอเรลโล นั่งเก้าอี้ CEO คนใหม่แห่งอสังหาชั้นนำฯ ลุยกลยุทธ์บุกตลาดโลก

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรี่ และอัลตร้าลักชัวรี่ชั้นนำของไทย ประกาศแต่งตั้ง เบร็นตัน จัสติน มอเรล ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานเ...

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ Gen AI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

แม้พนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Generative AI แต่เกือบ 60% กังวลว่าจะตกงาน ข้อมูลนี้มาจากรายงาน 'Work, work, workers: Reinvented in the age of generative AI' ของ Accentur...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...