Ascend Money เผยมูลค่าธุรกรรมการเงินดิจิทัลปี 2560 แตะ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ | Techsauce

Ascend Money เผยมูลค่าธุรกรรมการเงินดิจิทัลปี 2560 แตะ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

● มูลค่าของการทำธุรกรรมทางการเงินทุกประเภทผ่านแพลตฟอร์มทรูมันนี่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี พ.ศ. 2560 มีมูลค่ารวม 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ● การทำธุรกรรมการเงินผ่านแพลตฟอร์มทรูมันนี่ในประเทศกัมพูชาคิดเป็น 10% ของจีดีพีประเทศ ● ทรูมันนี่ให้บริการผู้ใช้งานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 21.1 ล้านคน

Ascend Money ผู้นำด้าน FinTech ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยปี พ.ศ. 2560 มูลค่าธุรกรรมทางการเงินทุกประเภทผ่านแพลตฟอร์มทรูมันนี่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่ารวมสูงถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเติบโตขึ้นจากปี พ.ศ. 2559 ถึง 400% และในปี 2560 มีจำนวนผู้ใช้บริการทรูมันนี่ใน 6 ประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 21.1 ล้านคน

มูลค่าของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบริการต่างๆ ของ Ascend Money ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตเป็นสัดส่วนสูงที่สุด คิดเป็นอัตราเกือบ 50% ของมูลค่าธุรกรรมทั้งหมดผ่านบริการต่างๆ ของ Ascend Money ขณะที่ในตลาดอื่นๆ มีมูลค่าการใช้จ่ายเติบโตอย่างมีนัยสำคัญสูงถึง 460% โดยประเทศกัมพูชามียอดการทำธุรกรรมผ่านบริการของ Ascend Money คิดเป็น 10% ของ GDP ประเทศ

นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “ในประเทศไทย เราให้บริการด้วยแพลตฟอร์มกระเป๋าเงินดิจิทัลภายใต้ชื่อแบรนด์ “TrueMoney Wallet” นำเสนอบริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ ซื้อดิจิทัลคอนเทนท์ การโอนเงินระหว่างบุคคล (หรือ P2P) และบริการจ่ายเงินซื้อสินค้าในห้างร้านต่างๆ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เรามีผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นประจำเติบโตสูงราว 4 เท่า ถือเป็นผู้นำหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรมกระเป๋าเงินดิจิทัลในตลาดเมืองไทย”

“ในทุกพื้นที่ที่ทรูมันนี่ให้บริการจะเป็นรูปแบบไฮบริด โดยมีทั้งบริการด้านการเงินออนไลน์ผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลและบริการทำธุรกรรมออฟไลน์ผ่านเครือข่ายตัวแทน ทั้งนี้ประชากรประมาณ 50-80% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีบัญชีธนาคารเป็นของตนเอง ซึ่งบริการแบบไฮบริดแพลตฟอร์มเป็นคำตอบที่ใช่สำหรับการให้บริการด้านการเงินแก่คนที่ไม่มีบัญชีหรือเข้าไม่ถึงบริการของธนาคาร ด้วยรูปแบบการให้บริการของเราในลักษณะนี้ ไม่เพียงแต่มุ่งให้บริการผู้บริโภคที่มีความเข้าใจในดิจิทัลและอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น แต่บริการของเรายังมุ่งเน้นเพื่อเข้าถึงและอำนวยความสะดวกด้านการเงินแก่ประชากรที่ไม่มีบัญชีธนาคารที่อยู่ตามหัวเมืองรองซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนั้นๆ ผมภาคภูมิใจกับความสำเร็จที่ได้ก้าวมาเป็นผู้นำบริการทางด้านการเงินในวันนี้ และเราจะยังคงมุ่งมั่นทำงานกันอย่างหนักต่อไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเงินอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม” นายธัญญพงศ์ กล่าวเสริม

Ascend Money มีเครือข่ายตัวแทนมากกว่า 60,000 ราย ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมจับมือเป็นพันธมิตรกับทั้งธนาคารรายหลักและธุรกิจท้องถิ่นมากมาย ปัจจุบัน Ascend Money เปิดให้บริการใน 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า และกัมพูชา เพื่อช่วยส่งเสริมให้ตัวแทน ทรู มันนี่ สามารถมอบบริการทางการเงินและช่องทางการจ่ายเงินในด้านต่างๆ แก่ผู้คนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้พวกเขาสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ

“นอกจากความสำเร็จด้านการดำเนินธุรกิจแล้ว เรายังเห็นการเติบโตในเชิงบวกของระบบนิเวศทั้งในมุมของผู้ใช้บริการและเศรษฐกิจระดับชุมชนที่เข้าถึงนวัตกรรมทางการเงินที่สำคัญๆ แรงงานสามารถใช้จ่ายเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีวอลเล็ทบนโทรศัพท์มือถือ สามารถส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวพวกเขาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือแม้แต่ส่งเงินให้ครอบครัวที่อยู่ในต่างแดน ที่สำคัญที่สุดคือการได้ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่คนที่พวกเขารัก” นายธัญญพงศ์ กล่าวเน้นย้ำ

กลุ่ม CP และ Ant Financial เป็นผู้ถือหุ้นหลักสองรายของบริษัท Ascend Money ทำให้บริการของทรูมันนี่สามารถต่อยอดการวางกลยุทธ์ด้านพันธมิตรจากเครือข่ายลูกค้าและร้านค้าต่างๆ จากกลุ่ม CP ในขณะเดียวกันยังสามารถนำนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญของ Ant Financial มาปรับใช้เพื่อพัฒนาบริการและช่องทางการจ่ายเงินให้เหมาะสมกับผู้บริโภค

นายธัญญพงศ์ คาดการณ์ว่า ก้าวต่อไปของ Ascend Money คือ การสร้างสรรค์นวัตกรรมพร้อมขยายบริการทางการเงินต่างๆ ให้ครอบคลุมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการแก่ผู้ใช้งานในทุกตลาดมากยิ่งขึ้น

"เรากำลังเร่งพัฒนาธุรกิจของเราเพื่อมอบประสบการณ์ให้ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในฐานะผู้นำด้านฟินเทครายแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ e-money ในตลาดหลักๆ ของภูมิภาคนี้ เราให้ความสำคัญกับผู้บริโภคทั้งลูกค้ากลุ่มดิจิทัลและกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่มีบัญชีธนาคารให้สามารถเข้าถึงนวัตกรรมบริการทางการเงินเพื่อนำพาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ามาสู่ผู้ใช้ทุกคน" นายธัญญพงศ์กล่าวสรุป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...