Cisco เผย Roadmap แนะธนาคารสร้างรายได้ 405 พันล้านดอลลาร์ ขับเคลื่อนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สำหรับ “ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย” | Techsauce

Cisco เผย Roadmap แนะธนาคารสร้างรายได้ 405 พันล้านดอลลาร์ ขับเคลื่อนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สำหรับ “ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย”

ซิสโก้เผยโร้ดแมปดิจิทัล แนะธนาคารสร้างรายได้ 405 พันล้านดอลลาร์

ด้วยโซลูชั่นดิจิทัลที่สำคัญ - ทรานส์ฟอร์มการขายและการให้บริการ การชำระเงินผ่านโมบายล์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก การให้คำแนะนำผ่านทางวิดีโอ และไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ขับเคลื่อนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สำหรับธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย” (Retail Bank)

Cisco_RetailBanking_Value-at-Stake_Page_01

ซิสโก้ ระบุว่า 405.3 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 14 ล้านล้านบาท) คือมูลค่าเดิมพันทางดิจิทัล (Digital Value at Stake - VaS[1])  ที่ธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อย (Retail Banks) มีโอกาสที่จะได้รับในปี 2558 ถึง 2560  อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 บริการด้านการเงินคิดเป็นสัดส่วนเพียง 29 เปอร์เซ็นต์ของโอกาสดังกล่าว  ในบรรดาปัญหาท้าทายที่ขัดขวางการเติบโตและการสร้างสรรค์นวัตกรรม “จุดอ่อนทางด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์” หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ คือปัญหาสำคัญ ส่งผลให้ธนาคารไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโมเดลธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังพลาดโอกาสที่จะได้รับรายได้กว่า 70 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ธนาคารยังได้รับแรงกดดันจากบริษัทที่ให้บริการด้านระบบการเงินดิจิทัลหรือ “ฟินเทค” (Fintech) รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคในโลกดิจิทัล และกฎระเบียบที่ซับซ้อน แล้วธนาคารเหล่านี้จะสามารถแข่งขันและช่วงชิงโอกาสในการสร้างรายได้ได้อย่างไร?  ในฐานะเซ็กเมนต์ที่ใหญ่ที่สุดในธุรกิจบริการด้านการเงิน ธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อยจะแย่งชิงส่วนแบ่งที่เหมาะสมได้อย่างไร?

[1] VaS เป็นการตรวจวัดกำไรหรือความสูญเสียทางการเงินโดยอ้างอิงสององค์ประกอบ นั่นคือ แหล่งรายได้ใหม่หรือการประหยัดที่เกิดขึ้นจากการลงทุนและการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านดิจิตอล และการโยกย้ายมูลค่าระหว่างผู้เล่นในอุตสาหกรรม โดยเป็นผลมาจากความสามารถทางด้านดิจิตอลที่ช่วยให้บริษัทสามารถแย่งชิงมูลค่าจากคู่แข่ง

ซิสโก้ได้เผยแพร่รายงานผลการศึกษาล่าสุดที่มีชื่อว่า “โร้ดแมปสู่มูลค่าดิจิทัลในธุรกิจธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย”(“Roadmap to Digital Value in the Retail Banking Industry”) โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าเดิมพันทางดิจิทัล(Digital Value at Stake) สำหรับธุรกิจธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย รวมถึงแผนการพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อความสำเร็จ รายงานดังกล่าวเปิดเผยกรณีการใช้งานดิจิทัลที่ผลักดันมูลค่าและผลตอบแทนการลงทุนได้รวดเร็วที่สุดสำหรับธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย  ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง โมบิลิตี้ วิดีโอ และรูปแบบการให้บริการแบบเวอร์ช่วลไลซ์ รวมถึงแผนจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ธนาคารจะสามารถสร้างกลยุทธ์สำหรับการช่วงชิงส่วนแบ่งมูลค่าดิจิทัลหลายแสนล้านดอลลาร์

 

โร้ดแมปของซิสโก้สำหรับการช่วงชิงมูลค่าดิจิทัลในธุรกิจธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย

ธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อยจะต้องเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล มิฉะนั้นอาจมี “ความเสี่ยง”ต่อการเลิกกิจการ: ธุรกิจสตาร์ทอัพในกลุ่ม “Fintech” ก่อให้เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจของธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อย ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ใกล้เคียงกันผ่านระบบดิจิทัล  ผลที่ตามมาก็คือ ธุรกิจ Fintech เหล่านี้สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากธนาคาร ทั้งยังหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่ธนาคารทั่วไปต้องพบเจอ  ธุรกิจดังกล่าวให้บริการแก่ลูกค้าผ่านระบบดิจิทัล ขณะที่ธนาคารที่ไม่สามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลก็อาจต้องออกจากตลาดเป็นการถาวร  ผลการศึกษาในปี 2558 ของศูนย์ปฏิรูปธุรกิจดิจิทัลทั่วโลก (Global Center for Digital Business Transformation หรือ DBT Center) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง IMD Business School และซิสโก้ ชีว่าธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยชั้นนำ 4 จาก 10 แห่งจะถูกแซงหน้าโดยบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินดิจิทัลในอีก 3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี มีธนาคารเพียง 27 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ดำเนินมาตรการเชิงรุกด้วยการปฏิรูปธุรกิจของตนเอง  ผลการศึกษาของซิสโก้ระบุว่า กรณีการใช้งานดิจิทัลที่สำคัญๆ ในธุรกิจธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อย จะขับเคลื่อนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของโอกาสในการสร้างมูลค่า 405.3 พันล้านดอลลาร์ ตัวอย่างการใช้งานโซลูชั่นดิจิทัลที่ว่านี้ได้แก่ การให้คำปรึกษาผ่านวิดีโอ การปฏิรูปบุคลากร การชำระเงินผ่านอุปกรณ์โมบายล์ พนักงานธนาคารแบบเสมือนจริง การให้คำปรึกษาโดยอ้างอิงการวิเคราะห์ข้อมูล การให้บริการโฮสติ้งและแพลตฟอร์มที่พร้อมสร้าง Social Network เองแบบง่ายๆ (White-label service) โฆษณาที่มีการเชื่อมต่อถึงกัน การตลาดออนไลน์ และอื่นๆ แล้วองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่ครอบคลุมทุกกรณีการใช้งานคืออะไร?  คำตอบก็คือ “ไซเบอร์ซีเคียวริตี้”

 

จุดอ่อนทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้ขัดขวางการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลในธุรกิจธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อย: ถึงแม้ว่าการปฏิรูประบบดิจิทัลจะก่อให้เกิดโอกาสมากมาย และการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น แต่ธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อยยังคงดำเนินการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลอย่างเชื่องช้า  ผลการศึกษาของซิสโก้ที่มีชื่อว่า “ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ช่วยกระตุ้นการเติบโต” (“Cybersecurity as a Growth Advantage”) เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการเงินและสายงานธุรกิจทั่วโลก โดยพบว่า 71 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารเห็นพ้องต้องกันว่า ความเสี่ยงและภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นอุปสรรคขัดขวางการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลภายในองค์กร  นอกจากนี้ 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตนเองได้ระงับโครงการสำคัญเนื่องจากข้อกังวลใจดังกล่าว และ 60 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าองค์กรของตนลังเลที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล เนื่องจากความเสี่ยงที่ตรวจพบ  โครงการดิจิทัลที่ถูกชะลอได้แก่ การให้บริการผ่านหลายช่องทาง การบริหารสินทรัพย์และการถ่ายโอนสินทรัพย์ บริการธนาคารและการชำระเงินผ่านอุปกรณ์โมบายล์ การให้บริการแบบ Self-service และการให้บริการแบบเวอร์ช่วลไลซ์  ข้อมูลวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจของซิสโก้ประเมินว่า ธนาคารที่ไม่ยอมปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ พลาดโอกาสในการช่วงชิงมูลค่า 144 พันล้านดอลลาร์ทั่วโลกในช่วงปี 2554 ถึง 2558

 

สรุปก็คือ “ข้อกังวลใจในเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้” ไม่ใช่อุปสรรคขัดขวางการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเสมอไป  ธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อยสามารถปรับเปลี่ยนไซเบอร์ซีเคียวริตี้จากภาระให้กลายเป็น “สินทรัพย์ที่ส่งเสริมความเชื่อมั่นของลูกค้า รวมถึง การสร้างสรรค์นวัตกรรม และการเติบโต” โซลูชั่นดิจิทัลทั้งหมดนี้จำเป็นต้องอาศัยรากฐานทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่แข็งแกร่ง

 

“ธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อยในไทยปัจจุบันกำลังแข่งกับคู่แข่งที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-banks) เช่น Fintech หรือบริษัทต่างชาติที่กำลังใช้กลยุทธ์ Digital Transformation ผลการสำรวจและรายงานของอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารแสดงให้เห็นว่าจำนวนการทำธุรกรรมดิจิทัลกับธนาคารในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าในห้าปีถัดไป ความท้าทายที่เกิดขึ้นทันทีสำหรับธนาคารในวันนี้คือ “การทรานส์ฟอร์มด้านดิจิทัล (Digital Transformation)”และการทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กร” นาย วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าว “ในขณะที่ธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อยเริ่มมีการพัฒนากลยุทธ์ดิจิทัลและนำโซลูชั่นดิจิทัลมาปรับใช้ “การทรานส์ฟอร์มด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้” ก็ไม่ควรถูกมองข้าม เพราะแทนที่องค์กรจะมองว่าภัยคุกคามเป็นภาระ องค์กรควรมองว่า “ความปลอดภัย เป็นสินทรัพย์ที่ส่งเสริมความเชื่อมั่นของลูกค้า” เพื่อสร้างผลผลิตในระยะยาว ความล่าช้าในการริเริ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ จะทำให้ธนาคารมีมูลค่าความเสี่ยงมากขึ้น และอาจไม่สามารถอยู่ในระบบธุรกิจได้”

 

ในการคำนวณมูลค่าดิจิทัล ซิสโก้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยครอบคลุม 16อุตสาหกรรมในภาคเอกชน รวมถึงธุรกิจบริการด้านการเงิน  ข้อมูลวิเคราะห์ดังกล่าวอ้างอิงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและการประเมินกรณีการใช้งานดิจิทัลในภาคเอกชนราว 350 เคส โดย 30 เคสเกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการด้านการเงิน  อ่านรายงานฉบับเต็ม รวมถึงกรณีการใช้งานดิจิทัลที่แนะนำสำหรับธนาคารที่ให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย

 

 ข้อมูลเพิ่มเติม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...