เหตุใดทำไมองค์กรใหญ่ถึงหันมาสร้าง Incubator กัน? | Techsauce

เหตุใดทำไมองค์กรใหญ่ถึงหันมาสร้าง Incubator กัน?

ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าจะมีโครงการบ่มเพาะธุรกิจ หรือที่เรียกกันว่า Incubator เกิดขึ้นมากมาย และหลายๆ โครงการสนับสนุนโดยองค์กรขนาดใหญ่  โดยมีการประเมินจาก National Association Business Incubators ว่ามีโครงการดังกล่าวมากถึง 1,250 รายในสหรัฐอเมริกา!  โครงการแบบนี้มีอยู่ในทุกภาคอุตสหกรรม ในบางโครงการก็เจาะจงกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะทางไปเลย อย่างเช่นโครงการ La Cocina ที่ซานฟรานซิสโก ส่งเสริมผู้หญิงที่มีรายได้น้อย  แต่อยากที่จะเปิดธุรกิจอาหารเป็นของตัวเอง

meeting-pano_22978

เมื่อไม่นานมานี้ PayPal ก็ได้ประกาศว่าพวกเขาจะมี Incubation Program ใหม่ในบอสตัน รวมไปถึง LinkedIn ที่จะปล่อยโครงการออกมาเพื่อสนับสนุนพนักงานของพวกเขาเอง ฟาก Microsoft ก็เปิดศูนย์รวมเทคโนโลยีที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล และ Google ก็ไม่น้อยหน้า Microsoft พวกเขาก็มีโครงการแบบนี้ใน Tel Aviv เหมือนกัน ไม่ว่าบริษัทเล็กหรือใหญ่ต่างก็พากันตื่นตัวอย่างมาก บางบริษัทถึงกับให้เงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นทุนแก่พนักงานคนไหนที่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจกันเลยทีเดียว ดูเหมือนเป้าหมายไม่ใช่เป็นเรื่องการมุ่งหวังในเชิงกำไรจากการลงทุน แต่มีแรงกระตุ้นอื่นที่มากกว่านั้น เราไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

รูปแบบใหม่ของ R&D

สำหรับบางคนคำว่า Incubator อาจจะแปลว่าการค้นหาและพัฒนา ยกตัวอย่างโครงการ Incubator ของ LinkedIn พวกเขาจะดูแลผลิตภัณฑ์ที่ให้ประโยชน์กับลูกค้าและพนักงานของ LinkedIn ไม่ทางใดทางหนึ่ง ในทุกๆ ไตรมาสของปี พนักงานของ LinkedIn สามารถจะ Pitch ไอเดียต่างๆให้แก่เหล่าผู้บริหาร รวมไปถึงผู้ก่อตั้ง Reid Hoffman และ CEO Jeff Weiner ถ้าเกิดไอเดียนั้นได้รับความสนใจและอนุมัติ ทางพนักงานสามารถปรึกษา Mentor เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะเวลา 3 เดือน ปัจจับันได้รับอนุมัติแล้ว 5 โครงการ จากทั้งหมด 50 ไอเดียที่ถูกนำเสนอเข้ามา หนึ่งในเคสที่ประสบความสำเร็จก็คือ go/book อุปกรณ์ที่จะช่วยเหลือการลงเวลาประชุมที่ LinkedIn ให้ง่ายขึ้น ตามที่ Florina Grosskurth ได้กล่าวไว้ว่า LinkedIn เล็งเห็นว่าโครงการ incubator เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงในอนาคต

กลยุทธ์ในการลงทุนและเข้าซื้อกิจการ

ยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมอย่าง Qualcomm ซึ่งมองว่าโครงการ Incubator เปรียบเสมือนกลยุทธ์ในการลงทุนที่เรียกว่า Strategic Investment  ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Qualcomm ได้จับมือกับโครงการ Incubator ชื่อ EvoNexus เพื่อเปิดโครงการชื่อ QualcommLabs@evonexus

ไอเดียในการริเริ่มครั้งนี้เพื่อให้บริษัทที่อยู่ในโครงการ Incubator ของ EvoNexus สามารถสมัครเข้าร่วมเพื่อขอเงินทุนจาก Qualcomm ในปัจจุบันทางบริษัทได้ให้เงินทุนไปแล้วกว่า 550,000 เหรียญสหรัฐฯ กับ 3 Startup ที่พัฒนาโซลูชั่นกลุ่ม wireless และ telecom space

ทำให้ความคิดสดใหม่ตลอด

โครงการ incubator ของ PayPal เริ่มจากเป็น co-working space ในออฟฟิศของ PayPal ที่เมืองบอสตัน ด้าน COO ของ PayPal David Chang ได้กล่าวว่าการทำงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมกับ startups ถือว่ามีแรงกระตุ้นอย่างมาก ตอนนี้บริษัทได้ต้อนรับ 9 startups หน้าใหม่เข้ามาในออฟฟิศที่บอสตันแล้ว startups เหล่านี้จะได้เข้าถึงผู้บริหารของบริษัท และรวมไปถึงทำความรู้จักกับบรรดานักลงทุนต่างๆ การได้ networking กับนักพัฒนารุ่นใหม่ๆ ยังช่วยเรื่องการรับคนเก่งเข้ามาทำงานอีกด้วย

ประโยชน์ให้กับพนักงาน

Will Dean แห่ง Tough Mudder กล่าวว่า บริษัทต้องเต็มไปด้วยทุกองค์ประกอบ บริษัทต้องมีวัฒนธรรมที่ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในบริษัท Dean รู้อีกว่ามีพนักงานหลายคนในบริษัทที่กำลังทำ startups ของตัวเองอยู่เหมือนกัน เพราะพวกเขาก็ฝันอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจสักวันหนึ่ง ในปีนี้ Dean กับ co-founder ของเขา Guy Livingstone ได้จัดตั้งกองทุนขึ้นมาเป็นจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการที่จะสนับสนุนพนักงานคนไหนที่มีไอเดียดีๆ นอกจากนี้พวกเขายังได้ผลักดันให้พนักงานสนใจมา pitch ไอเดียธุรกิจใหม่ๆ อีกด้วย

Dean หวังว่าบริษัทที่ Tough Mudder ลงทุนไปจะยืนได้ด้วยขาตัวเองสักวัน มีหลายคนที่เรียนจบจากสาขาบริหารธุรกิจ พวกเขามาที่นี่เพื่ออยากศึกษาการเป็นผู้ประกอบการจริงๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร ถึงแม้ว่าพวกเขาจะอยู่กับเราเพียงแค่ 2 ปีแล้วออกไปทำของตัวเองก็ไม่เป็นไร เราคิดว่ามันคงดีถ้าเกิดว่าเรามีศิษย์เก่าของบริษัท ที่ออกไปประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการ เหมือนกับบริษัทอย่าง PayPal

Licensing's pipeline 

บริษัท Procter & Gamble ได้พัฒนาโครงการที่มีชื่อว่า Connect+Develop program ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถ pitch ผลงานและนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ภายใต้คำแนะนำ เครือข่ายของ P&G ถ้าโชคดีก็ได้ทำ licensing agreement นำสู่ตลาด ขายได้จริง

อันที่จริงแล้วมากกว่า 50% ของผลิตภัณฑ์ P&G มาจากการร่วมมือกับบริษัทภายนอก ผลิตภัณฑ์ที่ทางโครงการ Connect+Develop program รับผิดชอบก็จะมีกระเป๋าGlad ForceFlex, Mr.Clean Magic Eraser, Swiffer Dusters และ Tide PODS ที่มา: Inc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...