Crowd Curated Shopping เทรนด์ใหม่น่าจับตาโดย ผู้บริหาร STYLHUNT ในงาน Retail World Asia 2015 | Techsauce

Crowd Curated Shopping เทรนด์ใหม่น่าจับตาโดย ผู้บริหาร STYLHUNT ในงาน Retail World Asia 2015

RetailWorld

เมื่อวันที่ 22-23 เมษายนที่ผ่านมา ซีอีโอของ STYLHUNT ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นสัญชาติไทย ที่ช่วยค้นหาสินค้าสำหรับการช้อปปิ้งออนไลน์ของผู้หญิง ได้เข้าร่วมบรรยายในงานสัมมนาเวที Retail World Asia 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยในงานนี้มียักษ์ใหญ่ในวงการตลาดออนไลน์อย่าง Zalora, Lazada, Rakuten และ Uber เข้าร่วมด้วย ซึ่งมีเนื้อหาหลายอย่างที่น่าสนใจทาง Techsauce จึงไม่พลาดที่จะนำข้อมูลดังกล่าวมานำเสนอที่นี่อีกครั้ง

คุณสุรวัฒน์ พรหมโยธิน ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง STYLHUNT ได้เข้าร่วมบรรยายภายในงานนี้ในหัวข้อ "การปรับใช้เทคนิค Crowd Curationในตลาดเกิดใหม่" โดยคุณสุรวัฒน์ได้อธิบายว่าเทคนิค Crowd Curated Shopping คือ เทรนด์ใหม่ในโลกการขายสินค้าออนไลน์ทั่วโลก ที่เสริมสร้างศักยภาพของผู้ซื้อในการค้นหาสินค้าผ่านเพื่อน หรือคนที่มีรสนิยมคล้ายคลึงกัน

นอกจากนี้คุณสุรวัฒน์ยังอธิบายว่าเมื่อเราเดินเข้าไปในร้านค้าต่างๆ สิ่งที่เราเห็นคือ (1) สิ่งที่ร้านค้าคิดว่าเราอยากเห็น (2) ผลิตภัณฑ์ที่เขาต้องการให้เราเห็น แต่ด้วยการใช้เทคนิค Crowd Curated Shopping จะเป็นเหมือนกับการเดินเข้าไปในร้านที่เต็มไปด้วยสินค้าที่เพื่อนๆของเราชอบ ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะสินค้าจากแบรนด์ที่พวกเขาชื่นชอบเพียงแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเท่านั้น แต่จะเป็นสินค้าจากหลายๆแบรนด์ที่ได้ถูกรวบรวมเอาไว้ และถ้าเราชื่นชอบสไตล์ของเพื่อนคนไหนแล้ว แนวโน้มที่เราจะได้พบกับผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจก็จะมีมากขึ้นอีกด้วย

นอกจากนั้นคุณสุรวัฒน์ยังได้เล่าถึงที่มาของเทคนิค Crowd Curated Shopping ว่าเทคนิคนี้เริ่มบุกเบิกโดยเว็บไซต์ Pinterest ซึ่งภายหลังเว็บไซต์ Wanelo และ Polyvore ได้นำมาประยุกต์ใช้ โดยเว็บไซต์เหล่านี้นับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกและทำให้เกิดแนวโน้มใหม่ที่ได้เปลี่ยนวิธีที่ผู้คนซื้อสินค้าออนไลน์ไปทั่วโลก คุณสุรวัฒน์ยังได้ยกตัวอย่างของแบรนด์ Forever 21, Nordstrom และ Urban Outfitters ที่ถูกลิสต์ให้เป็นแบรนด์อันดับต้นๆที่มีผู้คนติดตามมากบนสื่อสังคมออนไลน์บนเว็บไซต์เหล่านี้ โดยเทรนด์และแนวโน้มเช่นนี้เป็นสิ่งที่นักการตลาดไม่สามารถมองข้ามได้

ก่อนจบการบรรยาย คุณสุรวัฒน์ยังได้อธิบายด้วยว่าเหตุใด โมเดลในการทำธุรกิจเช่นนี้ไม่สามารถจะลอกเลียนแบบกันได้โดยง่าย นั่นก็เป็นเพราะความแตกต่างของพฤติกรรมของผู้บริโภคระหว่างตลาดที่พัฒนาแล้วและที่เกิดขึ้นใหม่ โดย STYLHUNT ได้ทำการสำรวจตลาดอย่างจริงจังในตลาดเกิดใหม่ โดยมีการสอบถามผู้หญิงในประเทศไทยและอินโดนีเซียจำนวน 500 คน และนำไปสู่ข้อสรุป 5 ปัจจัยในการกระตุ้นและดึงดูดความสนใจและความมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น

ปัจจัยเหล่านั้นได้แก่ 1. ความเกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ต่อกลุ่มเป้าหมาย 2.การค้นหาประสบการณ์ของผู้ใช้ในตลาดปัจจุบัน 3.กระบวนการสั่งซื้อ 4.วิธีการการทำธุรกรรม 5.ตัวชี้วัดหลักฐานทางสังคม โดยทีมงานของคุณสุรวัฒน์ได้ตรวจสอบตลาดเกิดใหม่ตามปัจจัยเหล่านี้ และทำให้ทาง STYLHUNT สามารถปรับใช้เทคนิค Crowd Curated Shopping ให้เข้ากับผู้บริโภคในตลาดเกิดใหม่ได้ นอกจากนี้คุณสุรวัฒน์ยังได้เน้นย้ำว่าปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญที่สุดในการใช้เทคนิคนี้คือความเกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ต่อท้องถิ่นนั้นๆ และเจ้าของธุรกิจเกิดใหม่จำเป็นต้องศึกษาตลาดและความเปลี่ยนแปลงเชิงพัฒนาการของลูกค้าให้เพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจะสามารถนำสินค้าที่เหมาะสมมาตอบสนองความต้องการของตลาดได้

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

RML ตั้ง เบร็นตัน มอเรลโล นั่งเก้าอี้ CEO คนใหม่แห่งอสังหาชั้นนำฯ ลุยกลยุทธ์บุกตลาดโลก

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรี่ และอัลตร้าลักชัวรี่ชั้นนำของไทย ประกาศแต่งตั้ง เบร็นตัน จัสติน มอเรล ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานเ...

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ Gen AI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

แม้พนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Generative AI แต่เกือบ 60% กังวลว่าจะตกงาน ข้อมูลนี้มาจากรายงาน 'Work, work, workers: Reinvented in the age of generative AI' ของ Accentur...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...