dtac ชี้เงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 MHz มีความเสี่ยงต่อ Telco ไทยระยะยาว | Techsauce

dtac ชี้เงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 MHz มีความเสี่ยงต่อ Telco ไทยระยะยาว

dtac เข้าปรึกษา กสทช. อีกครั้งเมื่อ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ย้ำเงื่อนไขเพิ่มเติมในการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz อาจส่งผลต่อภาระให้ผู้ชนะการประมูลไม่สามารถปฏิบัติได้จริง และทำให้แก้ไขประเด็นสัญญาณคลื่นความถี่ถูกรบกวนไม่ได้ ส่งผลคุณภาพโครงข่ายระยะยาวสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในระยะยาว

คุณราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  กล่าวว่า “การประมูลคลื่นความถี่ถือเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคลื่นความถี่ต่ำย่าน 900 MHz ซึ่งมีความสำคัญในการสร้างสัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศโดยเฉพาะนอกพื้นที่เขตเมือง ขณะนี้ ดีแทคจึงต้องปรึกษาร่วมกับ กสทช. เพื่อให้มั่นใจว่าการประมูลคลื่นความถี่จะสร้างประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับทั้งรัฐและลูกค้า"

ย้ำประเด็นหลักต่อเงื่อนไขการประมูลใบอนุญาต 900 MHz

  1. เงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 16 ที่กำหนดให้ผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว โดยมีภาระในการติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (filter) ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตรายเดิมที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 850 MHz และผู้ให้บริการระบบคมนาคมขนส่งทางราง จำนวน 4 โครงการซึ่งในเบื้องต้น คาดว่าจะมีประเด็นปัญหา คือ
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เชื่อว่าจะสูงกว่าจำนวนเงินที่ กสทช. ลดราคาขั้นต่ำของการประมูลให้จำนวน 2,000 ล้านบาทมาก
  • ปัญหาในทางปฏิบัติที่ผู้ชนะการประมูลจะเข้าไปดำเนินการติดตั้ง filter ในสถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตรายเดิมทั้งหมดที่มีอยู่ ณ วันที่ออกประกาศการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ฉบับนี้ ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก
  • ปัญหาในทางเทคนิคและทางปฏิบัติในการดำเนินการติดตั้ง filter ให้ระบบคมนาคมขนส่งทางรางซึ่ง ณ ขณะนี้ ยังไม่ทราบว่าเป็นระบบอะไร

  1. เงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 17. กสทช. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่เป็นช่วง 885-890/930-935 MHz ในกรณีที่จำเป็น โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ซึ่งในกรณี จะต้องติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (filter)  ณ สถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เพิ่มเติมจากที่ต้องดำเนินการในกรณีแรกตามเงื่อนไขข้อ 16

ทั้งนี้ เงื่อนไขการประมูลเพิ่มเติมดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 900   MHz ที่ กสทช. นำออกมาประมูล ซึ่งดีแทคได้เข้าหารือกับ กสทช. เพื่อให้การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ประสบความสำเร็จ โดยสามารถนำคลื่นความถี่ต่ำมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุดต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม และประโยชน์ของประชาชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะส่งผลสร้างรายได้ให้รัฐบาลอีกด้วย

โดยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา ดีแทคก็เข้ารับเอกสารการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะจัดประมูลขึ้นโดยสำนักงาน กสทช. ในวันที่ 18-19 สิงหาคมนี้ พร้อมเข้าร่วมการชี้แจงการประมูล (Information Session) อีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...