เมื่อรัฐฯ เปิดรับฟังความคิดเห็น เรียกเก็บค่าสำรองไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง? แล้วคุณคิดอย่างไรเมื่อโลกกำลังสู่ยุค Decentralize? | Techsauce

เมื่อรัฐฯ เปิดรับฟังความคิดเห็น เรียกเก็บค่าสำรองไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง? แล้วคุณคิดอย่างไรเมื่อโลกกำลังสู่ยุค Decentralize?

หลังจากมีข่าวออกมาว่า กกพ. หรือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกข่าวว่าจะเปิดรับฟังความคิดเห็นการเรียกเก็บค่า back up rate สำหรับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 3 ที่หันไปผลิตไฟฟ้าใช้เองหรือจำหน่าย แม้ยืนยันไม่มีการเรียกเก็บกับกลุ่มโซล่าร์เซลล์และพลังงานลมก็ตาม แต่อ่านแล้วทำให้หลายคนแอบตกใจ

จากรายละเอียดข่าวเดิม (อ้างอิงจาก Energy News Center)

"กกพ. เปิดรับฟังความเห็นการเรียกเก็บค่า back up rate สำหรับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 3 ที่หันไปผลิตไฟฟ้าใช้เองหรือจำหน่าย โดยหากเป็นโรงไฟฟ้าประเภทcogeneration เรียกเก็บ26.36-33.22 บาทต่อกิโลวัตต์​ ส่วนเชื้อเพลิงอื่นเรียกเก็บอัตรา 52.71-66.45 บาทต่อกิโลวัตต์ คาดประกาศใช้ ก.ย. 2560 โดยยืนยันไม่มีการเรียกเก็บกับกลุ่มโซล่าร์เซลล์และพลังงานลม 

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ.เปิดเผยว่า กกพ.ได้เปิดรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง(Focus Group) สำหรับการออกหลักเกณฑ์การปรับปรุงอัตราค่าไฟฟ้าสำรอง(back up rate)ใหม่ โดยเชิญกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมรับฟัง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.), การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ,การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าต่างๆ และกลุ่มโรงงานน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งภายหลังจากรับฟังความเห็นแล้วจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุม กกพ. และคาดว่าจะประกาศได้ในเดือน ก.ย. 2560 นี้ 
 
ทั้งนี้ในรายละเอียดการเปิดรับฟังความเห็นในครั้งนี้ เป็นการเตรียมออกระเบียบรองรับให้สามารถเรียกเก็บค่าback up rate สำหรับกลุ่มลูกค้าของการไฟฟ้าที่หันมาผลิตไฟฟ้าใช้เองหรือจำหน่าย จนก่อให้เกิดการลดปริมาณซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าลง  แต่ยังมีความ ต้องการซื้อสำรองไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เผื่อเอาไว้ด้วยเพื่อรองรับความเสี่ยงกรณีเกิดเหตุขัดข้องในการผลิตไฟฟ้า ของตัวเอง
 
โดยอัตราค่า back up rate ที่จะมีการเรียกจัดเก็บนั้น จะมีผลเฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 (กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 33 กิโลวัตต์ขึ้นไป) ซึ่งกลุ่มนี้หากต้องการผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใหม่และต้องการซื้อสำรองจะมีการเรียกเก็บค่า back up rate ตามอัตราดังต่อไปนี้ 
 
โรงไฟฟ้าประเภท cogeneration จะเรียกเก็บค่า back up rate ระหว่าง 26.36-33.22 บาทต่อกิโลวัตต์​ และถ้าเป็นเชื้อเพลิงประเภทอื่นเรียกเก็บอัตรา 52.71-66.45 บาทต่อกิโลวัตต์​ ซึ่งขึ้นกับระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลัก 
ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการเรียกเก็บค่า back up rate และมีระเบียบกฎหมายรองรับอยู่แล้วใน 2 ประเภท คือ 1.ผู้ผลิตไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาเพื่อใช้เองเป็นหลัก แต่ต้องการซื้อสำรองไฟฟ้ากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งเรียกเก็บback up rate ระหว่าง 52.71-66.45 บาทต่อกิโลวัตต์ และ 2.กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าประเภท cogeneration โดยต้องการซื้อสำรองไฟฟ้าให้กับลูกค้าตัวเอง ซึ่งค่า back up rate จะอยู่ที่ 26.36-33.22 บาทต่อหน่วย ส่วนกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นลูกค้าการไฟฟ้าและหันมาผลิตไฟฟ้าเองนั้น ยังไม่เคยมีระเบียบรองรับให้เก็บค่า back up rate จึงต้องออกระเบียบดังกล่าวด้วย
 
โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้ไฟฟ้าที่หันไปผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่อาจเข้าข่ายการใช้ back up rate ใหม่(ประเภทที่3)นี้ประมาณ 1-2 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม นายวีระพล ยืนยันว่า จะไม่เรียกเก็บกับกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าร์เซลล์และลมทุกประเภท เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าไม่แน่นอน ประกอบกับการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ปัจจุบันเข้าระบบ เพียง 3,000 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ  0.1% ของกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งถือว่ามีผลกระทบต่อการไฟฟ้าน้อยมาก แต่ในอนาคตยังต้องทำการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่มีความนิยมผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์หรือลมเข้าระบบจำนวนมาก โดยหากผลิตเข้าระบบถึง 20% ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด ก็จะมีผลกระทบสูงได้ 
 
นายวีระพล กล่าวว่า อัตราค่า back up rate ใหม่ดังกล่าว เป็นเพียงอัตราชั่วคราวที่จะใช้ไปถึงสิ้นปี 2560 นี้ หรือจนกว่า กกพ.จะจัดทำโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่เสร็จ เพราะค่า back up rate ทั้งระบบก็จะมีการคำนวณใหม่ไปพร้อมกับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2561-2565"

ภาพจาก Energy News Center

วิธีการรับมือรักษาผลประโยชน์ vs. การสร้างโมเดลใหม่

เมื่อหน่วยงานที่ดูแล ออกมารับมือ เพื่อรักษาผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น  อาศัยการคิดค่าใช้จ่าย back up rate แทน จึงเกิดเป็นคำถามต่อคนในวงการเทคโนโลยีหลายคนที่เห็นการขับเคลื่อนของโลก ที่กำลังมุ่งสู่แนวคิดแบบ Decentralize กันแล้ว อะไรหลายๆ อย่างก็ต่างกระจายศูนย์กัน ทิศทางโลกก้าวสู่การลดการผูกขาด โดยภาครัฐหลายๆ ประเทศต้องแก้เกมปรับโมเดลธุรกิจเพื่อเอื้อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย

และยิ่งอ่านมาถึงจุดที่เขียนว่า "ยังไม่เรียกเก็บเชื้อเพลิงแสงอาทิตย์และลม เนื่องจากยังไม่มีความเสถียร" แล้วถ้าเกิดอนาคตมีความเสถียรและก่อให้เกิดการใช้งานจำนวนมาก รัฐฯ ทำอย่างไร?

ตอนนี้ผู้เล่นเอกชนประเทศอื่นเค้ากำลังศึกษาการนำ Blockchain มาใช้เพื่อพัฒนาซอฟแวร์เสมือน Marketplace ซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แล้ว (รายละเอียดเพิ่มเติม) โดยทำให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ขายสามารถติดต่อกันโดยตรง ไม่ผ่านคนกลาง เป็นการเปิดโอกาสให้ใครที่สามารถลงทุนเปลี่ยนหลังคาเป็นแบบ Solar cell สามารถนำพลังงานที่ผลิตไปขายได้ ผู้ใช้สามารถซื้อได้ในราคาแบบ wholesales ได้ แม้จะยังอยู่ในช่วงการทดสอบ แต่แน่นอนว่าดีกับผู้บริโภค และอาจไม่ได้ดีกับรัฐฯ แต่นั่นคือสิ่งที่หลายประเทศกำลังเผชิญ หรือรัฐฯ ต้องปรับตัวยอมรับการหาโมเดลใหม่ ที่ดีกว่าการผูกขาดตามทิศทางโลกที่เปลี่ยนไป? แล้วผู้อ่านคิดเห็นกันอย่างไรมาแชร์กันต่อได้ที่นี่

 

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...

Responsive image

เข้าสู่ยุค AI TV ซัมซุงตอกย้ำผู้นำตลาดทีวีทั่วโลก เปิดตัว​ Samsung AI TV เจาะกลุ่มพรีเมี่ยม

ซัมซุง เปิดตัว Samsung AI TV จัดเต็ม 6 ไลน์อัป อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเจาะเซกเมนต์พรีเมี่ยม...