Google ร่วมกับ UN-ESCAP จัด “APAC AI for Social Good Summit” พร้อมจับมือรพ.ราชวิถีใช้ AI ช่วยคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในไทย | Techsauce

Google ร่วมกับ UN-ESCAP จัด “APAC AI for Social Good Summit” พร้อมจับมือรพ.ราชวิถีใช้ AI ช่วยคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในไทย

Google และ UN-ESCAP ลงนามข้อตกลงร่วม พร้อมประกาศเครือข่ายการวิจัยร่วมด้าน AI ในเอเชียแปซิฟิก Google จับมือกับโรงพยาบาลราชวิถีใช้ AI ช่วยคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในไทย

Google และ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติประจําภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia Pacific หรือ UN-ESCAP) ร่วมกับสํานักงาน คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จัดงาน “APAC AI for Social Good Summit” ในกรุงเทพฯ เชิญนักวิจัย ผู้กําหนดนโยบาย องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคเอกชนจากทั่วเอเชียแปซิฟิก ร่วมหารือเกี่ยวกับการใช้ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม พร้อมด้วยการบรรยายพิเศษจาก Armida Alisjahbana รองเลขาธิการสหประชาชาติ และเลขาธิการบริหาร คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก Kent Walker รองประธานอาวุโสฝ่ายกิจการทั่วโลกของ Google, Jay Yagnik รองประธานฝ่าย Google AI และ Ed Husic รัฐมนตรีเงาว่าการกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล ประเทศออสเตรเลีย พร้อมด้วยผู้นําด้าน AI จากทั่วเอเชียแปซิฟิกและประเทศอื่นๆ

Google ร่วมเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับ UN-ESCAP พร้อมเปิดตัวเครือข่ายวิจัยด้าน AI เพื่อสังคมในเอเชียแปซิฟิก

Google และ UN-ESCAP ได้จับมือเป็นพันธมิตรเพื่อแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและระบุแนวทางในการส่งเสริมการใช้ AI เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในเอเชียแปซิฟิก สําหรับการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ Google จะมอบทุนให้กับสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (Association of Pacific Rim Universities) เพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยด้าน AI เพื่อประโยชน์ต่อสังคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Al for Social Good Research Network)

Kent Walker รองประธานอาวุโสฝ่ายกิจการทั่วโลกของ Google กล่าวว่า “เครือข่ายนี้จะนํานักวิชาการชั้นนําจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมารวมตัวกันเพื่อทําการวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และแนวทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับความเสี่ยงและความกังวลต่างๆ นอกจากนี้ยังจะเป็นเวทีสําหรับนักวิชาการเหล่านี้เพื่อหารือเกี่ยวกับการวิจัยของพวกเขาร่วมกับภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน”

สําหรับความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการต่อยอดมาจากเครือข่ายวิจัยและฝึกอบรมด้านนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Research and Training Network on Science, Technology and Innovation Policy หรือ ARTNET on STI) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง UN-ESCAP และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

Armida Alisjahbana รองเลขาธิการสหประชาชาติ และเลขาธิการบริหาร คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง เอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยที่ทันสมัยและการให้คําแนะนําด้านนโยบายเกี่ยวกับ AI เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ESCAP ได้รับมอบหมายให้เสริมสร้างวาระด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับภูมิภาคผ่านบทบาทของเราในฐานะคลังสมอง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและผู้รวบรวมข้อมูล เราหวังว่าความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างเช่นในวันนี้จะช่วยสนับสนุนประเทศสมาชิกในความพยายามของพวกเขาใน การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

นําโปรแกรมป้องกันตาบอดด้วยเทคโนโลยี AI ของ Google มาใช้ในไทย

ในประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 4-5 ล้าน ราย ทุกรายมีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (diabetic retinopathy) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทําให้ตาบอดได้

ข่าวดีก็คือ ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาสามารถ ป้องกันได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ โดยแพทย์จะวิเคราะห์ภาพด้านหลังของดวงตาเพื่อหาสิ่งปกติที่เป็นสัญญาณของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา แต่ในประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาอยู่เพียง 1,400 คน ในขณะที่ทั้งประเทศมีผู้ป่วยเบาหวาน 5 ล้านราย

ภายในงาน Google ได้ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาลราชวิถีสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในการป้องกันการเกิดตาบอดที่จับเคลื่อนด้วย AI เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (diabetic retinopathy) ทั้งนี้ Google ได้เริ่มโครงการนี้แล้วในคลินิกหลายแห่งในประเทศอินเดีย โดยได้รับการสนับสนุนจาก Verily หลังจากการศึกษาย้อนหลังในประเทศไทยเป็นเวลาหลายเดือน ตอนนี้ Google กําลังร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถีเพื่อเริ่มการทดลองทางคลินิกในพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกทั่วประเทศ

Google จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตา 54 คน เพื่อวิเคราะห์ภาพด้านหลังของดวงตาจํานวน 130,000 ภาพ และทําการวินิจฉัย 880,000 ครั้ง จากนั้น Google นําการวินิจฉัย 880,000 ครั้งนี้ไปฝึกแมชชีนเลิร์นนิ่งให้เรียนรู้อัลกอริธึมเพื่อให้วิเคราะห์ภาพดวงตา และตั้งค่าระดับความเสี่ยง 5 ระดับโดยหวังว่าจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Google กําลังร่วมมือกับแพทย์ไทยเพื่อทดสอบว่าอัลกอริธึมดังกล่าวสามารถใช้ในไทยได้หรือไม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องมือช่วยเหลือแพทย์ในการวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาท ตา และช่วยผู้ป่วยเบาหวานจากการตาบอดได้มากขึ้น

นพ. ไพศาล ร่วมวิบูลย์ ผู้ช่วยผู้อํานวยการด้านศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า "ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย ทุกรายปี ความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นําไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ทั้งนี้สามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองเป็นประจํา ผลจากการศึกษาย้อนหลังพบว่าในการตรวจคัดกรองแบบเดียวกัน แบบจําลอง Al ตรวจจับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับ Google เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือ AI ในการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ที่จะช่วยป้องกันการตาบอดในผู้ป่วยเบาหวานในไทยได้มากขึ้น”

Lily Peng ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Google Health กล่าวเสริมว่า “เป้าหมายของ Google คือการทําให้ทุกคนเข้าถึงประโยชน์ของ AI ได้ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ขยายโครงการนี้มายังประเทศไทยผ่านความร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถี โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้คนไทยได้รับการตรวจคัดกรองที่สามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้มากขึ้น” 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...

Responsive image

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ลี เซียนลุง ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรั...