เข้าใจชัดเจน! กรมสรรพากรแจงกรณีเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก | Techsauce

เข้าใจชัดเจน! กรมสรรพากรแจงกรณีเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก

  • กรมสรรพากรจับมือสมาคมธนาคารไทย ส่งข้อมูลรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก เอื้อผู้ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ของประเทศที่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี
  • ผู้ไม่ประสงค์จะยื่นข้อมูลต้องไปแจ้งกับทุกธนาคารที่มีบัญชีเงินฝาก แล้วนำรายได้จากดอกเบี้ยไปคำนวณกับรายได้ทั้งปีเพื่อรับสิทธิ์ลดหย่อนตามเกณฑ์

เป็นอีกประเด็นร้อนที่ทำให้ผู้มีบัญชีเงินฝากใจเต้นไปตามๆ กัน เมื่อกรมสรรพากรออกประกาศเกี่ยวกับการเก็บภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยธนาคารซึ่งว่าด้วยแนวทางปฏิบัติใหม่ (ข่าวที่เกี่ยวข้อง 'กรมสรรพากร' ยันดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ​ 20,000 ยังยกเว้นภาษี แต่ต้องส่งข้อมูลเพื่อรักษาสิทธิ์ และ สรรพากรเริ่มถอยแล้ว เจ้าของบัญชีอาจไม่ต้องเซ็นยินยอมกับธนาคาร) ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา กรมสรรพากรแถลงร่วมกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว ทั้งแนวทางปฏิบัติและผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีบัญชีเงินฝาก โดยสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

  • กรมสรรพากรยืนยันจะเก็บภาษีในอัตรา 15 เปอร์เซ็นต์ กับผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และผลตอบแทนจากเงินฝากตามหลักการของศาสนาอิสลาม "ทุกบัญชีจากทุกธนาคารรวมกัน" เกินกว่า 20,000 บาทขึ้นไป
  • แนวทางปฏิบัติคือ ธนาคารทุกแห่งจะเป็นผู้ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ทางกรมสรรพากรเป็นผู้คำนวณและเก็บภาษี
  • หากเกินกว่าที่กำหนด กรมสรรพากรก็จะหักภาษีก่อนจ่ายดอกเบี้ยธนาคาร 15 เปอร์เซ็นต์
  • หากไม่เกินที่กำหนด ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยเต็มจำนวน
  • เจ้าของบัญชีมีสิทธิ์ "ไม่ให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝาก" แก่กรมสรรพากรได้ โดยดอกเบี้ยจากธนาคารจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15 เปอร์เซ็นต์ แต่นำรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากยื่นในแบบ ภ.ง.ด. 90 เพื่อขอรับภาษีคืนได้
  • ผู้ที่ประสงค์จะไม่ให้ธนาคารส่งข้อมูล ต้องแจ้งความประสงค์แก่ทุกธนาคารที่มีบัญชีเงินฝาก ภายในวันที่ 7-14 พฤษภาคม เพื่อให้ดำเนินการทันรอบจ่ายดอกเบี้ยครึ่งแรกของปี โดยแจ้งครั้งเดียวจะมีผลตลอด จนกว่าเจ้าของบัญชีจะแจ้งเปลี่ยนแปลง

คุณเอกนติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เผยว่า ประกาศนี้เป็นไปเพื่อปรับกระบวนการยื่นภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากให้ใช้กรบวนการดิจิทัลทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งนี้ ได้ทำการหารือเพิ่มเติมกับสมาคมธนาคารเพื่อหาวิธีที่ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก จึงขอให้ธนาคารส่งข้อมูลทั้งหมดทันที ส่วนผู้ที่ไม่ประสงค์ส่งข้อมูลก็สามารถดำเนินการตามกรอบวันเวลาที่กำหนด

ในส่วนของข้อมูล อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสรรพากรได้รับข้อมูลจากธนาคารมาตลอดอยู่แล้วในรูป ภ.ง.ด. 2 เพียงแต่อยู่กระบวนการจัดการข้อมูลยังคงใช้กระดาษและกระจายตามพื้นที่ ทำให้การดำเนินการตามสิทธิ์การยกเว้นภาษีตกหล่น จึงมีแนวคิดที่จะนำข้อมูลที่ได้อยู่แล้วนี้มาดำเนินบนดิจิทัลเพื่อลดความผิดพลาดและช่วยให้ผู้มีสิทธิ์ลดหย่อยได้ใช้สิทธิ์เต็มที่

แนวทางปฏิบัติที่ชี้แจงล่าสุดเป็นการแก้ไขประกาศฉบับเดิมซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน จึงถือว่ามีผลบังคับใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ประสงค์ให้กรมสรรพากรได้ข้อมูลดอกเบี้ยจากธนาคารจึงต้องรีบเตรียมดำเนินการโดยเร็ว

เนื้อหาจากข่าวประกาศโดยกรมสรรพากร

ตามที่กรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 344) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์และผลตอบแทนเงินฝากตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามตามหลักการวะดีอะฮ์ กรมสรรพากรได้หารือร่วมกันกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562 เพื่อกำหนดแนวทางการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ให้แก่กรมสรรพากร โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ฝากเงินมากที่สุด

คุณเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากรได้ชี้แจงการดำเนินการว่า “ที่ประชุมเห็นพ้องกันในการแก้ไขประกาศข้างต้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ฝากเงินบัญชีออมทรัพย์ส่วนใหญ่ทั่วประเทศให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี โดยธนาคารจะนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยแก่กรมสรรพากร แต่หากผู้ฝากเงินไม่ประสงค์จะได้รับยกเว้นภาษีต้องแจ้งแก่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยไม่ให้นำส่งข้อมูล ซึ่งธนาคารจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ในอัตราร้อยละ 15 ทั้งนี้ กรมสรรพากรอยู่ระหว่างปรับปรุงประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว”

คุณปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “การกำหนดให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยทุกบัญชีต่อกรมสรรพากร จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าบัญชีเงินฝากส่วนใหญ่ของประเทศ อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าว และไม่ต้องการให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร ต้องกรอกแบบฟอร์มเพื่อแจ้งความประสงค์ที่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยที่ลูกค้ามีบัญชีให้ครบทุกธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป โดยการแจ้งครั้งเดียวจะมีผลตลอดไป จนกว่าลูกค้าจะมาแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอื่น ทั้งนี้ ลูกค้าที่มาแจ้งภายในวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 จะมีผลตั้งแต่รอบภาษีดอกเบี้ยจ่ายครึ่งปีแรกในเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...

Responsive image

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ลี เซียนลุง ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรั...