SoftBank แห่งแดนอาทิตย์อุทัยเล็งซื้อ Fortress บริษัทจัดการการลงทุนหุ้นนอกตลาดยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกา | Techsauce

SoftBank แห่งแดนอาทิตย์อุทัยเล็งซื้อ Fortress บริษัทจัดการการลงทุนหุ้นนอกตลาดยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกา

หลังเปิดดำเนินงานมากว่าสามทศวรรษ SoftBank กลุ่มธุรกิจสัญชาติญี่ปุ่นและผู้ก่อตั้ง-นาย Masayoshi Son เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของความทะเยอทะยานและการเดินกลยุทธ์ที่บางครั้งก็ชวนให้ฉงนสนเท่ห์

และนี่เป็นอีกครั้งที่ SoftBank กำลังจะเดินหมากแบบที่ไม่มีใครคาดถึงมาก่อน ด้วยการซื้อ Fortress กลุ่มธุรกิจ การลงทุนหุ้นนอกตลาดยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่มีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการสูงถึง 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ

g

ถือว่าเป็นการกระโดดก้าวใหญ่จากธุรกิจประเภทเทคโนโลยีและโทรคมนาคมที่เป็นของขึ้นชื่อ แต่การผนวกเอา Fortress เข้ามามีจุดประสงค์คือเพื่อช่วยส่งเสริมอีกหนึ่งเป้าหมายใหม่ใหญ่ยักษ์ของ SoftBank คือการทุ่มเงินลงทุน มูลค่า 1 แสนล้านเหรียญในธุรกิจสายเทคโนโลยี ซึ่งส่อเค้าจะทำให้เกิดการตื่นตัวครั้งใหญ่ในโลกแห่งหุ้นนอกตลาด

การเดินหมากตานี้ตอกย้ำความทะเยอทะยานของผู้ก่อตั้งสุดก๋ากั่นของ SoftBank ได้เป็นอย่างดี นาย Son ผู้มั่งคั่งวัย 59 ปีแถมยังเป็นหนึ่งในชายที่รวยที่สุดในญี่ปุ่นคนนี้เคยเขย่าวงการโทรคมนาคมอเมริกาให้สะเทือนมาแล้ว และตอนนี้ เขาตั้งใจที่จะเอาชนะประธานาธิบดี Trump ด้วยการประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างอาชีพในสหรัฐอเมริกา

“สถิติผลประกอบการของ Fortress พูดแทนตัวมันเองอยู่แล้ว และเราตั้งใจจะใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำในวงการ ความเชี่ยวชาญรอบด้าน และแพลตฟอร์มการลงทุนระดับโลกของมันครับ” นาย Son กล่าวระหว่างการแถลงข่าวเมื่อ ช่วงสายของวันอังคาร “สำหรับ SoftBank โอกาสครั้งนี้จะช่วยขยายฐานความสามารถของเราได้ทันที และเมื่อมัน ทำงานร่วมกับ SoftBank Vision Fund ที่จะก่อตั้งในเร็วๆ นี้ จะช่วยเร่งให้กลยุทธ์การปรับโฉมองค์กร SoftBank 2.0 เป็นจริงได้เร็วขึ้น ซึ่งกลยุทธ์นี้จะเน้นการลงทุนอย่างชัดเจนและมีแบบแผน ร่วมกับการดำเนินงานระดับโลกเพื่อสร้าง การเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว”

กว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา Softbank ได้กลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่ยากจะล้มของญี่ปุ่น ธุรกิจที่ ขึ้นชื่อที่สุดของมันน่าจะเป็นอาณาจักรแห่งโทรคมนาคมซึ่งแผ่ขยายจากญี่ปุ่นไปจนถึงบริษัท Sprint ในสหรัฐอเมริกา Softbank ร่วมถือหุ้นในหลายธุรกิจไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจ Alibaba Group จากจีน, บริษัทในเครือ Yahoo ของญี่ปุ่น, และธุรกิจ Start-up อีกหลายตัว อย่างเช่น บริษัทเงินกู้ส่วนบุคคลออนไลน์ SoFi และตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้ที่นั่งเก้าอี้ ผู้บริหารสูงสุดก็คือนาย Son คนนี้

นาย Son นักธุรกิจที่ถูกเทรนมาในบริษัทอเมริกันเริ่มธุรกิจของเขาเองด้วยการเป็นบริษัทจำหน่ายซอฟท์แวร์ ก่อนจะย้ายมาจับเครือข่ายให้บริการโทรศัพท์มือถือและกลายเป็นค่ายแรกของญี่ปุ่นที่นำไอโฟนเข้าสู่ตลาด เขาไม่เคย ขึ้นชื่อเรื่องความถ่อมตัวและมักจะพูดถึงจุดมุ่งหมายที่ใหญ่ยักษ์จนแทบจะดูเกินตัวอยู่เสมอ อย่างเช่น การโค่น Verizon และ AT&T ผู้นำวงการโทรคมนาคมไร้สายของอเมริกาด้วย Sprint

Softbank จะจ่าย 3.3 พันล้านเหรียญให้กับ Fortress เพิ่มเติมจากมูลค่าของบริษัทในตลาดหุ้นที่อยู่ที่ 2.3 พันล้าน โดยส่วนหนึ่งของข้อตกลงกล่าวว่า Softbank สามารถเลือกดึงหุ้นส่วนเข้ามาเพื่อช่วยแบ่งเบารายจ่ายและร่วมลงทุนกับ Fortress ได้ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการไปในตัว

ข้อตกลงเอื้อให้ผู้บริหารเดิมของ Fortress อย่างนาย Peter L. Briger Jr. และนาย Wesley R. Edens สามารถโฟกัส จุดแข็งของพวกเขาได้อย่างเต็มที่ในตำแหน่งผู้จัดการการลงทุน — กองทุนหุ้นนอกตลาดของพวกเขาหลายตัวสร้าง ผลตอบแทนเพิ่มถึงสองหลักจากปริมาณเงินลงทุนตลอดระยะเวลาดำเนินการ — โดยไม่ต้องปวดหัวกับการดำเนินงาน บริษัทมหาชน หลังจากที่ทั้งคู่ประสบปัญหาอย่างหนักในฐานะผู้บริหารบริษัทมหาชนที่ต้องคอยหนุนหุ้นของตัวเองให้ สูงกว่าบริษัทคู่แข่ง จนเมื่อไม่นานมานี้ Fortress ต้องปิดกองทุนบริหารความเสี่ยงที่เป็นตัวชูโรงของพวกเขาไป

การซื้อบริษัท Fortress ซึ่งถือเป็นบริษัทจัดการการลงทุนหุ้นนอกตลาดที่ฉายแววโดดเด่นโดยเฉพาะในด้านการลงทุน กับสินทรัพย์ด้อยมาตรฐานครั้งนี้ เกิดจากการผลักดันของนาย Rajeev Misra อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านอนุพันธ์ระดับท็อป จากธนาคาร Deutsche Bank ที่เข้ามารับตำแหน่งผู้นำในการวางกลยุทธ์การลงทุนให้กับ  SoftBank Vision Fund

หลังลาออกจาก Deutsche Bank ในปี 2008 ซึ่งที่นั่นเขาได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับนาย Anshu Jain หัวหน้าฝ่าย ดำเนินงานตลาดระดับโลกของธนาคาร นาย Misra ได้ผันตัวไปอยู่กับ UBS จากนั้นก็ใช้เวลาหลายเดือนที่ Fortress ซึ่งทำให้เขาได้รู้จักกับประธานบริษัทนาย Briger และนาย Edens เป็นอย่างดี

จากนี้ไปนาย Misra จะเป็นผู้ช่วยก่อตั้งบริษัทกองทุนใหม่ขนาดมหึมาที่มีจุดประสงค์คือการลงทุนกับบริษัทเทคโนโลยี ทั่วโลก โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการซื้อหุ้นปริมาณมาก Softbank ตั้งเป้าว่าจะลงเงินในกองทุนอย่างน้อย 2.5 หมื่นล้าน โดยที่หุ้นส่วนอื่นๆ ของกองทุนนั้นรวมถึงประเทศซาอุดิอาระเบียและบริษัท Apple ด้วย

เท่ากับว่าต่อไป SoftBank จะมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการทั่วโลกรวมแล้วกว่า 1.7 แสนล้านเหรียญ กลายเป็น หนึ่งในบริษัทเอกชนทีมีมูลค่าการลงทุนมากที่สุดในโลกรองจากกลุ่มธุรกิจ Blackstone Group ซึ่งกำเม็ดเงินลงทุนอยู่ ราว 3.3 แสนล้าน

ถึงแม้บริษัทจัดการการลงทุนหุ้นนอกตลาดหลายเจ้าจะทำผลงานได้ไม่ดีนักในตลาดหุ้น แต่บริษัทเหล่านี้มีส่วนดีคือ สามารถกักเก็บเม็ดเงินไว้ได้นานหลายปีและชาร์จค่าบริการได้สูง ในฐานะบริษัทลูก — หรืออาจเปรียบได้กลายๆ กับ ธนาคาร — เมื่อใดก็ตามที่ตัดสินใจลงทุน Fortress จะต้องดำเนินการเองทั้งหมดโดยไม่ขึ้นกับ Vision Fund ที่ถือเงินลงทุน 1 แสนล้าน และทีมนักลงทุนภายใต้นาย Misra และนาย Son ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม พวกเขาคาดหวังว่าโอกาสครั้งนี้จะใหญ่เพียงพอสำหรับ Vision Fund ที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากการ แบ่งปันข้อมูลระหว่างสองบริษัทได้ นั่นอาจหมายรวมไปถึงการที่ Fortress เห็นช่องทางในบริษัทโทรคมนาคมหนึ่งๆ

ซึ่งอาจไม่เหมาะกับข้อกำหนดของตัวมันเองแล้วส่งต่อให้กับ Vision Fund ก็เป็นได้ การเชื่อมโยงของสองบริษัทเปิด โอกาสให้ Vision Fund สามารถหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ ได้มากขึ้นผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลกของ Fortress

สำหรับ Fortress แรงผลักดันที่น่าสนใจคือการได้เข้าร่วมกับหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนที่มีหัวก้าวหน้าที่สุด และการเข้าสู่ ตลาดระดับโลก อย่างเช่น ภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่พวกเขาเองก็พอมีเส้นสายทางธุรกิจอยู่บ้างแล้ว

Fortress เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในปี 2007 ก่อนจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่หุ้นของ Fortress ทำผลงานได้ ค่อนข้างแย่ในช่วงหลายปีที่ผ่าน ไม่ต่างจากหุ้นของบริษัทจัดการการลงทุนหุ้นนอกตลาดอื่นๆ ราคาหุ้นของมันร่วงลงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่เริ่มเปิดตัว และกลุ่มผู้บริหารก็แสดงออกอย่างไม่ปิดบังว่าความสุขจากการเปลี่ยนตัวเองเป็นบริษัท มหาชนได้เลือนหายไปเกือบหมดแล้ว

Fortress ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อมันถอนตัวจากธุรกิจการปล่อยสินเชื่อชั้นรองช้าเกินไป นำมาซึ่งความ สูญเสียมหาศาลอย่างเลี่ยงไม่ได้ ราคาหุ้นดิ่งลงไปต่ำกว่า 1 ดอลลาร์และบริษัทก็ไม่สามารถกลับมาทำกำไรได้อีกเลย จนกระทั่งปี 2012

ในขณะเดียวกันนั้นนาย Edens ใช้กลยุทธ์การวางสถานะบริษัทใหม่เพื่อหาผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เขาค่อยๆ ไต่กลับไปสู่ธุรกิจการปล่อยสินเชื่อชั้นรองผ่านการซื้อบริษัทสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ Nationstar และบริษัท สินเชื่อส่วนบุคคล Springleaf ที่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อ OneMain Financial นาย Edens อดีตหุ้นส่วนของ Lehman Brothers ผู้ร่วมก่อตั้ง Fortress ได้เปลี่ยนเงินลงทุน 124 ล้านเหรียญในการซื้อ Springleaf ให้กลายเป็น หุ้นที่มีมูลค่าคร่าวๆ ถึง 2 พันล้านเหรียญได้สำเร็จ

การลงทุนเหล่านั้นตอกย้ำถึงความกว้างขวางของ Fortress ในแวดวงเศรษฐกิจทั่วประเทศอเมริกาได้เป็นอย่างดี อ้างอิงจากรายละเอียดในการสำรวจของ New york Times เมื่อปีที่แล้ว Fortress คือหนึ่งในหลายๆ บริษัทจัดการ การลงทุนหุ้นนอกตลาดเอกชนที่แพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตประจำวันของคนอเมริกัน พวกมันค่อยๆ ก้าวขึ้นมาแทนที่ธนาคารซึ่งถดถอยจากการโดนควังหลงของวิกฤตเศรษฐกิจ

จากข้อตกลงในการซื้อขาย Fortress จะกลายมาเป็นบริษัทลูกที่ดำเนินงานอย่างอิสระภายใต้เงาของ Softbank ประธานบริหารสูงสุดของมันซึ่งมีคะแนนเสียงคิดคร่าวๆ เป็นหนึ่งในสามของคะแนนทั้งหมดได้เลือกลงมติเห็นชอบ ให้มีการซื้อขาย และคาดว่าน่าจะปิดข้อตกลงกันได้ภายในสิ้นปีนี้

ในวันอังคารก่อนที่จะมีการแถลงการณ์ ราคาหุ้นของ Fortress พุ่งสูงขึ้นถึง 6.5 เปอร์เซ็นต์ แถมยังมีการเทซื้อขาย ในปริมาณมากแบบที่ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยๆ

ที่มา: nytimes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ GenAI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

หากต้องการใช้ศักยภาพจาก AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรควรปรับระบบการทำงาน โครงสร้างกำลังคน และเตรียมบุคลากรให้พร้อม ด้วยแนวคิด "Net Better Off" สนับสนุนให้บุคลากรได้เรียนรู้ ทำง...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...