Karma Healthcare สตาร์ทอัปเพื่อสังคมในอินเดีย กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล | Techsauce

Karma Healthcare สตาร์ทอัปเพื่อสังคมในอินเดีย กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล

ในช่วง 25 ปีมานี้ แล้วอุตสาหกรรมด้าน Healthcare ในอินเดีย (และทั่วโลก) ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ปัญหาอย่างการเข้าถึงทรัพยากรทางการแพทย์สำหรับชาวชนบท ยังคงเป็นความท้าทายที่สตาร์ทอัปรายนี้พยายามจะปรับปรุงให้ดีขึ้น

ตามสถิติแล้ว ผู้คนในอินเดียราวๆ 45% ต้องเดินทางมากกว่า 100 กิโลเมตรเพื่อจะได้รับการรักษาที่ดีขึ้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงเกินกว่าที่ควรจะเป็น เพราะมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ อีกมาก และผู้ป่วยเหล่านี้ก็มักจะเป็นคนจน

Karma Healthcare สตาร์ทอัปที่ให้บริการทางการแพทย์สำหรับพื้นที่ห่างไกลในรัฐ Rajasthan ประเทศอินเดีย ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลา 1 ปีเต็ม รูปแบบของธุรกิจคือการทำให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางผ่านระบบการสื่อสารทางไกลได้แบบ face-to-face ซึ่งผู้ป่วยก็จะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรคเฉพาะทางเหล่านั้น

DSC_7264

จะมีการตั้งโมบายล์คลินิกเป็นศูนย์กลางระหว่างแพทย์ในเมืองกับผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล อุปกรณ์การสื่อสารสำคัญของคลินิกในชนบทนี้คือแท็บเลตและเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ ที่จะช่วยส่งข้อมูลของคนไข้ไปให้กับหมอได้แบบเรียลไทม์ โดยมีเจ้าหน้าที่หนึ่งคนประจำคลินิกนั้น ทำหน้าที่พูดคุยต้อนรับผู้ป่วย และแจกยาตามที่หมอ (ทางไกล) สั่งไว้ให้

ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาในระดับที่เข้มข้นมากขึ้น เช่น ต้องใช้เครื่องมือสำหรับวินิจฉัยที่ละเอียดมากขึ้น หรือต้องแอดมิท ผู้ป่วยก็จะได้รับบริการส่งตัวไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสมที่อยู่ใกล้ที่สุด

DSC_7304

เป้าหมายหลักๆ ของการก่อตั้งสตาร์ทอัป Karma Healthcare คือ เพื่อให้ผู้ป่วยให้พื้นที่ห่างไกลได้รับโอกาสในการรักษาโรคเฉพาะทาง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในด้านสุขภาพ โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลเป็นตัวขับเคลื่อนผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ต้องการ

สำหรับการคิดค่าบริการ สตาร์ทอัปรายนี้ก็จะเก็บจากผู้ป่วยที่มาใช้บริการโมบายล์คลินิก ซึ่งก็จะมีราคาที่ถูกลงเมื่อเทียบกับการเดินทางไกลไปรักษาที่โรงพยาบาล และยังไม่ต้องเสียค่าเดินทางอีกด้วย นอกจานี้ ชาวบ้านในพื้นที่ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้รับการตรวจวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรง

ที่น่าสนใจคือโมเดลนี้ก็น่าเอามาปรับใช้กับประเทศที่กำลังพัฒนาทุกประเทศ บ้านเราเองก็เช่นกัน ยังมีคนอีกมากที่เข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง ทั้งระยะทางและการเงิน เทคโนโลยีและไอเดียแบบนี้น่าจะเป็นคำตอบที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นได้

[embed]https://www.youtube.com/watch?v=AQNNwvI_OFc[/embed]

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ Gen AI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

แม้พนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Generative AI แต่เกือบ 60% กังวลว่าจะตกงาน ข้อมูลนี้มาจากรายงาน 'Work, work, workers: Reinvented in the age of generative AI' ของ Accentur...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...