ข่าวดีอีกแล้ว รัฐบาลไทย-ญี่ปุ่นจับมือสร้าง JTIS เครือข่ายสตาร์ทอัพกับบริษัทยักษ์ใหญ่ | Techsauce

ข่าวดีอีกแล้ว รัฐบาลไทย-ญี่ปุ่นจับมือสร้าง JTIS เครือข่ายสตาร์ทอัพกับบริษัทยักษ์ใหญ่

ช่วงที่ผ่านมา เป็นที่น่ายินดีที่รัฐบาลไทยมีส่วนสนับสนุนสตาร์ทอัพมาโดยตลอดโดยเล็งเห็นว่าเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยด้านการเติบโตของเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น การจัดอีเว้นท์เกี่ยวกับสตาร์ทอัพในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น และ ภูเก็ต

Thai-Jap-MOU-JTIS1.jpg

ล่าสุด วันที่ 9 ก.ย. กลุ่มสตาร์ทอัพไทยและสตาร์ทอัพญี่ปุ่นพร้อมสร้างอุตสาหกรรมใหม่ด้วยความร่วมมือของรัฐบาล โดยการจัดตั้ง Japan-Thailand Innovation Support Network หรือ JTIS เพื่อส่งเสริมการร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพและบริษัทขนาดใหญ่  มีสตาร์ทอัพ 10 บริษัทจากสองประเทศและบริษัทชั้นนำอย่าง Toyota Motor Thailand SCG และอื่นๆ อีกกว่า 20 บริษัท เข้าร่วมในเครือข่ายนี้ โดยมีคุณ Jun Hasegawa CEO และ Founder ของ Omise สตาร์ทอัพดาวรุ่งด้าน Payment gateway ดำรงตำแหน่งประธาน JTIS

ในวันเดียวกัน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  H.E. Hiroshige SEKO ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI)  Shiro Sadoshima เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงนาม MOU ระหว่าง JTIS (Japan-Thai Innovation Support Network) และ TTSA (Thai Tech Startup Association) ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยอีกด้วย

นอกจากนี้  METI ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ยังจัดงาน Embassy Pitch ขึ้นเมื่อวันที่ 31 ส.ค. เพื่อบรรลุเป้าหมายของทั้งสองประเทศในการเป็นตัวเชื่อมระหว่างสตาร์ทอัพไทยกับบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ทั้งของไทยและญี่ปุ่น ระหว่างนี้ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ผู้ให้การสนับสนุน ก็มีการอัปเดตเกี่ยวกับความร่วมมือครั้งนี้ผ่านโพสต์ทางเพจ Facebook ของท่านอีกด้วย

Thai-Jap-MOU-JTIS-2

โดยฝ่ายบริหารของ JTIS ประกอบด้วย ประธาน คือ Jun Hasegawa จาก Omise

ฝ่ายธุรการ ได้แก่ Shinsuke Wakai จาก BuzzCommerce และ Hiroyuki Okamoto จาก Withfluence

ฝ่ายเลขา ได้แก่ เลขาธิการ คือ Yojiro Koshi จาก TalentEx และ รองเลขาธิการ คือ Kazuki Kamiya จาก HubAsia

ในส่วนของสมาชิกสตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่เข้าร่วม ได้แก่ Omise BuzzCommerce Withfluence TalnetEx และ HubAsia เป็นต้น และสตาร์อัพของไทย ได้แก่ Drivebot Anywhere 2 Go Siamsquared Technologies และ Claim Di เป็นต้น

ทั้งนี้ รายชื่อบริษัทรายใหญ่และองค์กรชั้นนำที่ให้การสนับสนุนซึ่งของไทย ได้แก่ SCG  ThaiBev  AIS  True  บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)  บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด  บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด และอื่นๆ

ส่วนบริษัทแนวหน้าจากญี่ปุ่นที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ Toyota  Honda  Nissan  Mitsubishi Electric  Sharp  dmLab (Dentsu Media Laboratory)  Panasonic  NTT Communications  Fuji Film  Mitsui & Co.  Itochu  Sumitomo Corporation  Nomura Research Institute  ABeam Consulting และอื่นๆ

JTIS จึงเป็นโครงการใหญ่จากทางภาครัฐที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก

ที่มา The Bridge

 

ความคิดเห็นจากกองบรรณาธิการ

คงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมกำลังอยู่ในช่วงชะลอตัว การลงทุนและฐานการผลิตเริ่มขยายไปสู่ประเทศในแถบ SEA อย่างเห็นได้ชัดซึ่งภาครัฐของไทยเองก็กำลังออกมาตรการช่วยเหลือต่างๆ  แต่การจับมือกันครั้งนี้ระหว่างธุรกิจ Startup ของไทยที่มียังถือวามีความพร้อมในแง่ของทรัพยากรและความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจสตาร์ทอัพและเทคโนโลยี กับบริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นที่ยังคงมีความหวังและความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย จะกลายเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะได้พัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เข้ามาแทนอุตสาหกรรมแบบเดิม เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางในด้านธุรกิจ Tech Startup ของภูมิภาคด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...