Telemedicine จะเกิดในไทยได้อย่างไร ข้อเสนอโดยสมาคม TTSA ต่อแพทยสภา | Techsauce

Telemedicine จะเกิดในไทยได้อย่างไร ข้อเสนอโดยสมาคม TTSA ต่อแพทยสภา

หลังจากแพทยสภาได้ออกประกาศในวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา เรื่องแนวทางการปฎิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (Telemedicine) และคลินิกออนไลน์ ทางสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Thailand Tech Startup Association) พร้อม Startup ด้าน Telemedicine ประกอบด้วย ooca, Chiiwii, Doctor A to Z ได้เข้าพบคณะอนุกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศในคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อยื่นข้อเสนอเพิ่มเติม ผลักดันให้เกิดการเปิดกว้างหรือนำไปสู่การทำ Sandbox ของ Telemedicine ขึ้นเพื่อผลักดันนวัตกรรมของผู้ประกอบการไทย โดยเน้นย้ำว่านวัตกรรมดังกล่าวไม่ได้มาทดแทนการรักษาในโรงพยาบาลแต่เป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ผ่านเทคโนโลยี โดยมีใจความสำคัญดังนี้

  • สนับสนุนให้มีนโยบาย หรือการออกกฏหมายรับรองการทำ Telemedicine หรือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนต่อการพัฒนาวงการ การเพิ่ม Liability ให้กับวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ลดความเสี่ยงจากการให้บริการที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่นการให้ consult ผ่าน ไลน์ เป็นต้น

  • การพิจารณาออกกฏหมายฉบับนี้หรือฉบับที่เกี่ยวข้อง มีผลกระทบองค์รวมทั้ง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงมีความเกี่ยวข้องกับ Stakeholder ที่มากกว่าทางฝั่งแพทย์ ควรได้รับการประชาพิจารณ์อย่างถี่ถ้วน และพิจารณาถึงหลักปฏิบัติสากล อนาคตของประเทศชาติ ศักยภาพของการพัฒนาเทคโนโลยี และรวมไปการสร้างความได้เปรียบของการแข่งขันของตลาดด้วยการสนับสนุนบริษัทเทคโนโลยี สัญชาติไทย ก่อนที่จะออกกฏหมายควบคุมโดยเพิกเฉยถึงผลกระทบในวงกว้าง *ไม่ควรพิจารณาเพียงแค่ตลาดภายในประเทศเท่านั้น*

    • ควรตั้งแนวทางการปฏิบัติเวชกรรม (Practice) เป็น Guideline เพื่อสร้างมาตรฐานให้แก่ วิชาชีพ แต่ไม่ควรออกเป็นกฏหมายเพื่อป้องกันการจำกัดขีดความสามารถในการ พัฒนาและการสร้างสรรค์ในอนาคต

    • ไม่ควรจำกัดการให้ปฏิบัติการให้บริการโดยยึดโยงกับสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง การสร้าง liability ให้กับวิชาชีพหรือการแพทย์ออนไลน์ ควรมาจากการออกระเบียบมาตรฐานจำเพาะกับข้อมูลทางการแพทย์ ในลักษณะเช่นเดียวกันกับ HIPAA ซึ่งประเทศไทย มี PDPA บังคับใช้ ควรปรับบริบททางการแพทย์ให้สามารถบังคับใช้ได้ในกรณีข้อมูลทางการแพทย์

    • ควรยกเรื่องโทรเวชให้เป็นวาระที่ต้องพิจารณาร่วมกันในวงกว้างมากกว่าจำกัดไว้ที่กลุ่มแพทย์ 

    • จัดทำ Sandbox เพื่อไม่ปิดกั้นในการพัฒนาทางการแพทย์และธุรกิจ

  • ภาครัฐควรออกมาตรการ สนับสนุนการใช้ และการลงทุนใน บริษัทเทคโนโลยีไทย เพื่อความเข้มแข็งของประเทศในด้าน Health Informatics และเศรษฐกิจในระยะยาว มากกว่าการสนับสนุนบริษัทต่างด้าว

โดยหลังจากนี้คณะอนุกรรมการฯ ที่รับเรื่อง จะนำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาและศึกษา เพื่อทำเป็นข้อสรุปและข้อเสนอแนะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

สามารถอ่านรายละเอียด Telemedicine ทั้ง landscape ต่างประเทศและไทยฉบับเต็มได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...