ม. เชียงใหม่และ FTI ร่วมมือนำหลักสูตร DII อุตสาหกรรมดิจิทัล สร้างงานที่กำลังเป็นที่ต้องการในยุค 4.0 | Techsauce

ม. เชียงใหม่และ FTI ร่วมมือนำหลักสูตร DII อุตสาหกรรมดิจิทัล สร้างงานที่กำลังเป็นที่ต้องการในยุค 4.0

   

ในปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนการทำงานเช่นที่ผ่านมาอีกต่อไป หากแต่จะหลอมรวมเข้ากับชีวิตคนอย่างแท้จริง และจะเปลี่ยนโครงสร้างรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลิต การค้าการบริการ และกระบวนการทางสังคมมากมาย

ในขณะที่เราพูดถึงประเทศไทยที่อยากจะพัฒนาตัวเองเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยี ประเทศไทย 4.0 หรือ ดิจิทัล 4.0 นั้นแต่หากบุคคลากรที่มีทักษะความรู้และความสามารถด้านดิจิทัลนั้นขาดแคลนอยู่มากไม่สามารถที่จะมาตอบสนองความต้องการประเทศในในยุค Digital Transformation ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทางวิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี (CAMT) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (The Federation of Thai Industries :FTI) ได้สร้างความร่วมมือและมีการจัดตั้งโครงการ DII (Digital Industry Integration)

ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สามารถสร้างคนสร้างงานให้ตรงตามความต้องการและทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการฝึกทำงานตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและมีงานทำทันทีขจัดปัญหานักศึกษาที่จบไปแล้วไม่มีงานทำซึ่งทางภาคมหาวิทยาลัยมีความคาดหวังที่จะสามารถช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานสายITส่วนทางภาคอุตสาหกรรมเองนั้นก็อยากจะเติมเต็มการศึกษาโดยนำความรู้ที่ได้จากการทำงานจริงมาสอนนักศึกษาตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามหาวิทยาลัย

DII คืออะไร

DII ย่อมาจากคำว่า ‘Digital Integration Industry’ ถือว่าเป็นหลักสูตรที่มีรูปแบบการศึกษาที่ได้ความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตร่วมกับภาคอุตสาหกรรม มีการวิภาคหลักสูตรซึ่ง AppMan ก็เป็นบริษัทหนึ่งในสมาชิกจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มาช่วยในกระบวนการตั้งแต่การคัดเลือกนักศึกษาไปจนถึงการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ช่วยให้นักศึกษามีโอกาสในการประยุกต์ความรู้ ทักษะการทํางานและทักษะเฉพาะที่จะต้องมีใช้ในที่ทำงานจริง

จะไม่มีอีกแล้วที่เราจะได้ยินคำว่า “เรียนไปทำไม เรียนไปก็ไม่ได้ใช้” เนื่องจาก DII นั้นได้สร้างสภาพแวดล้อมจริง โดยมีที่ทำงานให้กับนักศึกษา น้องๆจะได้เรียนรู้และสัมผัสถึงสิ่งที่เป็นความจริง และ ความรู้ น้องๆจะได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่สามารถนำไปใช้ในสายงานได้ทันที บอกได้ว่าน้องๆกลุ่มนี้เป็นผู้ที่รู้ตัวตั้งแต่เรียน ว่าจบไปแล้วจะทำอะไร

รูปแบบหลักสูตรของ DII

  1. ความรู้และทักษะตรงกับความต้องการของบริษัทและสามารถประยุกต์ได้ตามความต้องการ ของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
  2. มีโอกาสได้เรียนรู้เหมือนเป็นพนักงานจริงของบริษัทตั้งแต่ระหว่างเรียนหรือมีสถานะเป็นพนักงานบริษัทตั้งแต่เริ่มเรียน

ความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรม

  1. วางหลักสูตร ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการเพื่อให้ได้เด็กที่ตรงตามความต้องการและมาเป็นพนักงานที่สามารถทำงานให้เราได้ทันที
  2. ร่วมคัดเลือกนักศึกษา (Co-Recruitment) ร่วมสัมภาษณ์เด็ก ม.6 เพื่อคัดเลือกเด็กที่ตรงกับคุณสมบัติ
  3. WorkShop สร้างกิจกรรมเพื่อจะช่วยสกัดความสามารถของเด็กรวมถึงสร้างความตระหนักในหลักสูตรและภาควิชาเรียน
  4. Boot Camp บริษัทส่งทีมงานไปช่วยเตรียมความพร้อมถึง 8 เดือนก่อนเข้าทำงานจริง
  5. สถานที่ทำงานจริง สภาพแวดล้อมจริง รับน้องนักศึกษาเข้ามาทำงานจริงกึ่งเป็นพนักงานบริษัท จำนวนไม่ต่ำกว่า 14 เดือน และมีการต่อสัญญาเป็นพนักงานบริษัททันที
  6. ตำแหน่งงาน ซึ่งสิ่งที่สอนนั้นล้วนเป็นตำแหน่งที่เราต้องการในงานทั้งสิ่ง ได้แก่ Front-End Developer, Back-End Developer, Full Stack Developer และ Mobile Developer.

Work Integrated Learning

DII เป็นรูปแบบหลักสูตรที่ได้ Concept มาจาก WIL (Work Integrated Learning) เกิดขึ้นมาร่วม 100 ปีมาแล้ว เป็นหลักสูตรที่ได้การยอมรับจากสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน และ แคนาดา ซึ่งสร้างสะพานเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาในปัจจุบันของนักศึกษากับวิชาชีพในอนาคต เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้และผสมผสานความรู้ทางทฤษฏี ที่ได้จากการเรียนกับประสบการณ์การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการที่อยู่ในโลกแห่งความจริงในทุกลักษณะวิชาเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของบริษัทและนักศึกษา ส่วน DII นั้นมีรูปแบบที่ใกล้เคียงเพียงแต่เราเจาะจงระหว่างการทำงานของภาคอุตสาหกรรม Digital กับ การเรียนในมหาวิทยาลัย

ซึ่งในประเทศเยอรมันนั้น ได้มีการก่อตั้งขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัย Baden - Wurtlemberg Corporate State University มีด้วยกันถึง 8 แห่ง และมีภาคอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือถึง 8,000 แห่ง มีนักศึกษาร่วม 20,000 คน ในการเรียนรูปแบบนี้

การเรียนแบบ WIL ในประเทศเยอรมันนี Source: Heinz, Kai, and Volker, 1996, p.37

แสดงให้เห็นว่าหลักสูตร DII นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด อาจารย์ของ CAMT มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ไปศึกษาการทำหลักสูตร WILจากประเทศทางเขตยุโรปมาและได้นำมาบูรณาการเป็นDIIในประเทศไทยโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนทางสายดิจิทัลทันต่อความ ต้องการกับภาคอุตสาหกรรมได้เร็วขึ้น เป็นหลักสูตรที่กระชับและสั้นขึ้นและได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยการศึกษาและปฎิบัติภายในระยะเวลาอันสั้น ทั้งยังสามารถผลิตบุคคลากรที่มีความรู้และชำนาญ พร้อมใช้งานได้จริง (Human Capital)

มีการสำรวจ ความคิดเห็นของนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 2,148 คนในมหาวิทยาลัย ประเทศเเคนาดา ช่วงปี 2011 กล่าวว่าระบบการเรียนแบบWILเป็นระบบที่ให้นักศึกษาได้รับผลประโยชน์สูงสุดกว่าการเรียนปกติโดยแบ่งเป็นร้อยละ 45นักศึกษาหางานที่ตรงตาม วิชาชีพ หลังจบการศึกษา ร้อยละ 38 นักศึกษาหางานได้ง่ายขึ้น และร้อยละ21นักศึกษาเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ

ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับทางตะวันตกแต่เป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย

DII กับการเข้าสู่ระบบการศึกษาตามหลักสูตรปกติ

ปัญหาทั่วไปของการจัดตั้งหลักสูตร คือ ความล่าช้าของกระบวนการในระบบ เนื่องจากว่าต้องใช้เวลาถึง 7 ปี กว่าจะสำเร็จ เริ่มตั้งแต่การร่างหลักสูตร ที่อาจใช้เวลาร่วม 1 ปี ผ่านร่างสภา 1 ปี จัดอบรม 1 ปี และเรียนในมหาวิทยาลัยอีก 4 ปี ซึ่งมันใช้เวลาพอสมควร เป็นที่ทราบกันดีว่าความรู้ดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันของตลาดที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น จึงทำให้เนื้อหาและความรู้ในหลักสูตรไม่สามารถปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเจออยู่บ่อยครั้ง

การพัฒนาจาก Analog สู่การเป็น Digital

ในโลกปัจจุบัน Technology มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นที่เห็นได้ชัด คือ สาขาธนาคารต่างๆ ที่ลดลงแต่มีการใช้เทคโนโลยีเเทนสาขา ทางด้านธุรกิจประกันภัย AppMan เองได้เล็งเห็นถึงสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ เช่นระบบการทำงาน ที่ยังคงมี การใช้กระดาษอยู่มาก ซึ่งทาง AppMan เราเองก็ได้มีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มประกันภัยชั้นนำของประเทศและเราช่วยแก้ปัญหาโดยการพัฒนา software และ Application ให้ลดการใช้กระดาษและมีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วไม่ซ้ำซ้อนซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งธุรกิจและผู้บริโภค ซึ่งตอนนี้มันมีอะไรอีกมากมายที่เราสามารถจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราให้ตอบสนองต่อ Digital Transform ได้อย่างสมบูรณ์ และสิ่งสำคัญมันจะเป็นการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด

ความคาดหวังจากนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้

นักศึกษาเหล่านี้จะถือได้ว่าเป็นนักศึกษาทักษะพิเศษ เฉพาะเชิงลึก เพราะโดนเทรนกับอุตสาหกรรมจริง รวมถึงพื้นฐานจากมหาลัย นักศึกษาสามารถย้ายไปอาชีพอื่นได้เช่นกัน เพราะพื้นฐาน Digital นั้นได้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์ การบิน การเเพทย์และอื่นๆ ซึ่งตอนนี้รูปแบบการเรียนการสอน DII นั้น มหาวิทยาลัยได้เน้นให้มันอยู่ในขอบเขตการผลิตคนเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัลให้เติบโตเสียก่อน เนื่องจากขาดแคลนอย่างมาก หากคนกลุ่มนี้เยอะขึ้นเรื่อยๆ จะสามารถแทรกซึมไปอยู่ในทุกภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมันจะเป็น ‘Back Bone ที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์’

อนึ่งแล้วทางภาคอุตสาหกรรมเองก็ไม่ได้มองระยะสั้น แต่หาก WORK FORCE ของประเทศ คือ นักพัฒนา (Developer) ซึ่งมีบทบาทและเป็นที่ต้องการอย่างมากในยุค transformation ซึ่งหลักสูตร DII สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ตั้งแต่รายบุคคล คือ ช่วยให้เค้าเป็นนักพัฒนา เมื่อบุคคลมีการพัฒนาก็จะทำให้สังคมได้รับการพัฒนาด้วย และเมื่อสังคมนั้นพัฒนา ประเทศไทยเราก็จะเป็นประเทศที่กล่าวได้ว่าพัฒนาแล้วเช่นเดียวกัน ฉะนั้นมันถึงเวลาที่เราทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันสรรสร้าง หากขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไป DII เรานั้นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นเฉกเช่นวันนี้

อุตสาหกรรมดิจิทัล + มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานร่วมกัน

เพื่อเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาบุคคลากรเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์ ทาง AppMan สนับสนุน ทุนการศึกษาเป็นค่าเทอมหลักสูตร DII กับน้องๆที่พร้อมที่จะเป็นนักพัฒนาและเติมเต็มประเทศไทย4.0ไปด้วยกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...