ไขรหัสบล็อกเชน ผ่านหลักสูตร 'Geeks on the Block (Chain)' | Techsauce

ไขรหัสบล็อกเชน ผ่านหลักสูตร 'Geeks on the Block (Chain)'

ไขความลับหลักสูตร 'บล็อกเชนหนึ่งเดียวของไทย ที่เน้นผลิตบุคคลากรสาย 'บล็อกเชนผ่านสถาบัน DPU X โดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภายใต้หลักสูตร 'Geeks on the Block (Chain)' ด้วยการดึงนักเทคโนโลยีบล็อกเชนแถวหน้าของเมืองไทยที่มีผลงานระดับชาติ เข้ามาร่วมทีมสอนแบบทั่วถึงตลอดหลักสูตรกระชับแต่เข้มข้น ในระยะเวลาเพียง 7 ครั้ง จบออกมารับงานบล็อกเชนได้เลย

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบัน DPU X โดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และนายกสมาคมThailand Tech Startup Association (สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่) ผู้พัฒนาหลักสูตร  เปิดเผยว่า ปัจจุบันเวลาที่นักเขียนโปรแกรมต้องการเรียนรู้โปรแกรมใหม่ๆ เราสามารถลองเล่นเองและเรียนรู้จากการโหลดลงมา หาความรู้จากโลกออนไลน์ก็เข้าใจโปรแกรมนั้นๆ ได้

แต่แนวคิดของบล็อกเชนแตกต่างออกไป จากเดิมที่ฐานข้อมูลทั้งหมดจะวิ่งเข้ามาส่วนกลางเพื่อทำการตัดสินใจซึ่งเราเรียกว่า Centralized แต่บล็อกเชนฐานข้อมูลในการตัดสินใจจะเป็นแบบกระจาย Decentralized  ดังนั้นการออกแบบบล็อกเชนจึงแตกต่างจากวิธีออกแบบโปรแกรมเดิม ซึ่งการที่นักออกแบบโปรแกรมจะเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นจะต้องใช้เวลานาน

หลักสูตรนี้จะเป็นทางลัดในการเรียนรู้ในการออกแบบโปรแกรมของ บล็อกเชน ซึ่งเมื่อผู้เรียนได้หลักคิดแล้ว ภาษาที่ใช้เขียนก็เป็นภาษาปกติที่คุ้นเคย การเขียนโปรแกรมก็จะทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น แน่นอนว่าหลักสูตรนี้ ยังให้ผู้เรียนได้เข้าใจหลักคิดอย่างถ่องแท้ ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนว่าเหมาะกับธุรกิจแบบไหน โปรแกรมมิ่งแบบไหน หรือการใช้งานแบบไหน โดยจะสอนตั้งแต่ฐานคิดเลยว่า หลักคิดเบื้องต้นเป็นอย่างไร  กรณีศึกษาเป็นอย่างไร และจะออกแบบหลักคิดอย่างไร

ในส่วนของวิทยากรจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนแถวหน้าของเมืองไทยทั้งหมด นับตั้งแต่ ดร.ภูมิ ภูมิรัตน์ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ โดดเด่นด้วยผลงานการออกแบบ National Digital ID มีส่วนร่วมในการใช้นำบล็อกเชนมาใช้งานในระดับประเทศ อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาด้านการทำ ICO ให้กับ ก.ล.ต. อีกด้วย

ซึ่ง ดร.ภูมิ จะมาสอนวิธีคิดเชิงดีไซน์ ทั้งหมดของกระบวนการออกแบบโปรแกรมบล็อกเชน  หลักคิดเชิงบล็อกเชน หลักปรัชญาของบล็อกเชน พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในหลักคิดของการออกแบบบล็อกเชน

ขณะที่ นายสถาพน พัฒนะคูหา CEO & Founder, SmartContract และ BlockM.D.และรองนายกสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าของเมืองไทยด้านบล็อกเชนและ Smart Contact หรือสัญญาอัจฉริยะ   จะมาสอนเรื่องราวของเทคโนโลยี อีเธอเรียม ซึ่งเป็นโครงสร้างหนึ่งที่สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นแบบกระจายศูนย์สู่บล็อกเชนได้ แทนที่จะรับ-ส่งได้เพียงแค่บิทคอยน์แบบเดิมเท่านั้น

โดยนายสถาพน จะมาสอนทั้งหมดของกระบวนการนำเทคโนโลยี อีเธอเรียม ( Ethereum ) ซึ่งเป็น Infrastructure รูปแบบหนึ่งบนพื้นฐานของบล็อกเชน ตั้งแต่การออกแบบ การเริ่มงานบนอีเธอเรียม แนวคิดในการนำเทคโนโลยีอีเธอเรียมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาเพื่อต่อยอดไปสู่โปรแกรมที่ต้องการ

นอกจากนี้ยังมีนายญาณวิทย์ รักษ์ศรี Principal Visionary Architect KBTG ผู้เชี่ยวชาญจาก กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป ในเครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการทำระบบหนังสือค้ำประกันขึ้นไปอยู่บนบล็อกเชนของไอบีเอ็มได้สำเร็จ โดยจะมาสอนเกี่ยวกับวิธีคิดการนำเทคโนโลยี ไฮเปอร์เลดเจอร์ (Hyperledger) มาใช้

เนื้อหาและระยะเวลาของหลักสูตร "Geeks on the Block Chain" จะเริ่มสอนวันแรกเรื่องหลักคิดบล็อกเชน วันที่สองเทคโนโลยีไฮเปอร์เลดเจอร์ และวันที่สามจะสอนเรื่องอีเธอเรียม แบบ วันติดต่อกัน เพื่อให้ได้หลักคิด รูปแบบเครื่องมือ และตัวอย่างการนำไปใช้ หลังจากนั้นจะเริ่มเข้าสู่การเรียนสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งจะเป็นการเล่ากรณีศึกษาที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆในเชิงลึก

เช่น National ID ที่เกิดขึ้นออกแบบอย่างไร ทำไมถึงเลือกใช้เทคโนโลยีนั้น หรือกรณีของพาวเวอร์ เลดเจอร์ (Power Ledger) การออกแบบโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารจัดการพลังงานในพื้นที่ ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพของออสเตรเลีย ที่เข้ามาต่อยอดจริงแล้วกับโครงการแสนสิริในประเทศไทย ซึ่งจะมาเล่าว่ามีแนวทางการออกแบบ ระบบการซื้อ-ขาย และวิธีการประยุกต์ใช้ แบบลงลึกในรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร

นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกับอีกหลายตัวอย่างกรณีศึกษาระดับชาติ เพื่อเข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ด้วย อาทิเช่น โครงการอินทนนท์ (Project Inthanon) ซึ่งเป็นโครงการของธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับพันธมิตร เพื่อทดสอบการนำเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินไทย  ภายใต้สกุลเงินดิจิทัลกลางซึ่งจะใช้ในการกระทบยอดการโอนเงินระหว่างธนาคารที่ชื่อว่า 'อินทนนท์'

อีกทั้งยังมีกรณีศึกษาของข้อมูลสุขภาพ บล็อกเอ็มดี (BlockM.D.) หรือเคสของ  "กระต๊อบ" ในการพัฒนาระบบซื้อ-ขายตั๋วบนเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งจะมาบอกเล่าว่า การออกแบบเป็นอย่างไร โครงสร้างการออกแบบเป็นอย่างไร เบื้องหลังเทคโนโลยีเป็นอย่างไร บล็อกเชนเข้ามาช่วยให้ดีขึ้นอย่างไร เราจะไม่บอกว่าต้องใช้บล็อกเชน แต่เราต้องหาคำตอบว่าทำไมต้องบล็อกเชน ถ้าไม่ใช่บล็อกเชนมันทำได้ไหม

ทุกโครงการที่นำมาเล่าเป็นโครงการที่ทำด้วยบล็อกเชน บนพื้นฐานของเหตุผลว่าทำไมต้องใช้บล็อกเชนในการทำ ซึ่งการรับรู้กรณีศึกษาที่มากพอ จะช่วยทำให้เราวิเคราะห์ ออกแบบและสร้างสรรค์ ตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในอนาคตได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีความเข้าใจในเหตุผลของเทคโนโลยีที่ถูกต้อง ผู้เข้าอบรมจึงสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง  ซึ่งจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับรู้เชิงลึก

ขณะที่ในสัปดาห์ท้ายๆ ผู้เข้าอบรมจะต้องจับกลุ่มออกแบบและเขียนโปรแกรมบนเทคโนโลยีบล็อกเชนขึ้นมาจริงๆ แล้วทำการรีวิวให้คณะกรรมการได้รับทราบ เพื่อประเมินความสามารถของผู้เรียน ในการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบว่ามีแนวคิดการออกแบบและเลือกใช้เทคโนโลยีถูกต้องหรือไม่ การประยุกต์ใช้เหมาะสมเพียงใด ตลอดจนการเลือกใช้ภาษาในการเขียนบล็อกเชนนั้นๆมีความเหมาะกับเทคโนโลยีเพียงใด ท้ายที่สุดประสิทธิภาพของบล็อกเชนนั้นๆตอบโจทย์ได้อย่างไร

โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องสามารถเขียนโปรแกรมได้แล้ว มีความชำนาญในการเขียนโปรแกรมในระดับหนึ่ง เนื่องจากหลักสูตรนี้ไม่ได้สอนเขียนโปรแกรม แม้กระทั่งการเตรียมเครื่องมือในการเขียนบล็อกเชนก็ไม่ได้สอนในรายละเอียด แต่จัดเตรียมไว้ให้เลย เนื่องจากต้องการเน้นสอนเรื่องแนวคิดกรณีศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ในการนำไปใช้ และสามารถนำแนวคิดและหลักการดังกล่าวไปเขียนขึ้นโครงการเองได้เลยทันที

บล็อกเชน จะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการพัฒนาแอปพลิเคชั่นในอนาคต การที่นักพัฒนาปฏิเสธโอกาสในการเรียนรู้บล็อกเชน เท่ากับเป็นการปิดกั้นการเข้าถึงเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งการก้าวเดินบนเส้นทางทางเทคโนโลยีในอนาคตอาจจะเป็นเรื่องยากไปในที่สุด

เราคาดหวังว่าผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนี้ออกไปแล้ว สามารถรับงานบล็อกเชนได้เลย ซึ่งเราเชื่อว่าประเทศไทยยังขาดบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้านนี้อีกมาก ซึ่งเราจะสามารถพัฒนาคนที่จะเดินบนเส้นทางสายเทคโนโลยีบล็อกเชนจริงๆได้ราวๆปีละ 60-70 คน จากหลักสูตรนี้

"วันนี้บล็อกเชนยังไม่ได้แพร่หลายมากนัก เนื่องจากโปรโตคอลที่ยังไม่เอื้อในการ 'ส่งคุณค่าผ่านทางออนไลน์ระหว่างวงบล็อกเชนแบบสมบูรณ์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีบล็อกเชน ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการพัฒนาทักษะของนักพัฒนาโปรแกรมที่จะก้าวเข้าสู่เส้นทางของบล็อกเชน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นเบื้องหลังของเทคโนโลยีในอนาคตและเมื่อเวลานั้นมาถึง

การพัฒนาตัวเองก่อน เป็นโอกาสของการขึ้นมาเป็นนักพัฒนาแถวหน้าของบล็อกเชนเมืองไทยที่ง่ายที่สุด เนื่องจากผู้สอนทั้งหมดล้วนเป็นกลุ่มบุคคลแถวหน้าทั้งสิ้น การที่เราพาตัวเองเข้ามาอยู่แถวหน้าก่อน นอกจากเราจะได้เรียนรู้ก่อนแล้ว เรายังจะเห็นโอกาสของการเข้ามาของบล็อกเชนก่อนอีกด้วย และเชื่อว่าอีกไม่เกิน 5 ปี บล็อกเชนจะถูกพัฒนาเข้ามาอยู่ในทุกอุตสากรรมในโลกใบนี้"  ดร.พณชิต กล่าว

หลักสูตร "Geeks on the Block (Chain)" Blockchain Camp for Developers Batch#1 เริ่มเปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ระยะเวลาการเรียน 7 ครั้ง ครั้งละ 8 ชั่วโมง เริ่มเรียนวันที่ 7 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2562 สามารถลงทะเบียนเรียนได้ที่ http://dpux.dpu.ac.th/geeksontheblock/register/batch1

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...