Meitu เปิดตัวฟีเจอร์ Anime Avatar ด้วยเทคโนโลยี AI แบบเรียลไทม์ครั้งแรกในโลก | Techsauce

Meitu เปิดตัวฟีเจอร์ Anime Avatar ด้วยเทคโนโลยี AI แบบเรียลไทม์ครั้งแรกในโลก

Meitu Inc. บริษัทอินเทอร์เน็ตมือถือที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งพลิกโฉมรูปแบบการสร้างสรรรค์และแบ่งปันความสวยงามของผู้ใช้มาอย่างต่อเนื่อง ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์อวาตาร์อนิเม “Anime Avatar” บนแอป Meitu อย่างเป็นทางการ ฟีเจอร์ใหม่นี้ไม่เพียงแต่สร้างตัวการ์ตูนที่เหมือนผู้ใช้เป็นอย่างมากได้โดยอัตโนมัติเท่านั้น แต่ยังสามารถเลียนแบบพฤติกรรมการแสดงออกบนใบหน้าและการเคลื่อนไหวของผู้ใช้ได้แบบเรียลไทม์ จึงมีความโดดเด่นกว่าฟีเจอร์สร้างภาพเสมือนจริงในอดีต ตอบโจทย์ผู้ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมคอสเพลย์และคาแร็คเตอร์การ์ตูนแนวน่ารักๆคาวาอิ อวาตาร์อนิเมเป็นฟีเจอร์แรกในโลกที่สามารถสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวเสมือนจริงแบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยี AI บนแอปเพื่อผู้บริโภคที่ใช้งานในวงที่กว้างขึ้น

ฟีเจอร์อวาตาร์อนิเม สามารถจำแนกความแตกต่างของเสื้อผ้าและสีผมได้นับหมื่นรูปแบบ แยกแยะลักษณะเด่นบนใบหน้าได้หลายพันรูปแบบและทรงผมได้หลายร้อยทรง รวมถึงความสามารถในการระบุเครื่องประดับที่มีความแตกต่างกัน 20 ประเภท ตลอดจนระบุสีผิวและรูปแบบใบหน้าได้อย่างหลากหลาย คุณสมบัติทั้งหมดนี้สร้างความมั่นใจว่าภาพอวาตาร์อนิเม จะมีความใกล้เคียงกับภาพถ่ายบุคคลจริงอย่างมากและเป็นภาพตัวการ์ตูนที่มีเอกลักษณ์จดจำได้ง่าย

ผู้ใช้สามารถเลือกปุ่ม “ภาพถ่าย” เพื่อแสดงเชื่อมต่อทั้งบนภาพจริงและภาพการ์ตูนเสมือนจริงฟีเจอร์ใหม่นี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ปรับแต่งลักษณะเด่นบนใบหน้า เครื่องแต่งกาย รายละเอียดเสื้อผ้า ทรงผม เครื่องประดับและพื้นหลัง รวมถึงการปรับแต่งเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ โดยในปีนี้จะมีการเปิดตัวเครื่องแต่งกายธีมคริสต์มาสและผู้ใช้ยังสามารถปรับแต่งธีมสำหรับเทศกาลวันหยุดที่กำลังจะมาถึง เช่นปีใหม่ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และวันวาเลนไทน์

ผู้ใช้ฟีเจอร์อวาตาร์อนิเม ยังสามารถสร้างสรรค์วีดีโอและอีโมจิได้ตามต้องการ ด้วยการเลือกปุ่ม “วีดีโอ” และบันทึกการเคลื่อนไหวนานสูงสุด 10 วินาที หรือปรับแต่งวีดีโอเพิ่มเติมด้วยการใส่เพลงและบันทึกเสียงที่สามารถปรับแก้ไขด้วยการเลือกโทนเสียงและระดับเสียงได้ ถ้าเลือกปุ่ม “อีโมจิ” ผู้ใช้สามารถบันทึกการแสดงออกบนใบหน้านานสูงสุด 5 วินาที ซึ่งตัวการ์ตูนเสมือนจริงจะเลียนแบบการออกแสดงออกบนใบหน้าของผู้ใช้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มข้อความอย่างมีสไตล์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ในอีโมจิของผู้ใช้ได้อีกด้วย

ฟีเจอร์อวาตาร์อนิเม ใช้เทคโนโลยี AI ของ MTlab อย่างครอบคลุม ซึ่งมีคุณสมบัติมากมาย อาทิการตรวจจับใบหน้า การตรวจจับจุดเด่นบนใบหน้า การวิเคราะห์ลักษณะเด่นบนใบหน้า การแบ่งส่วนภาพ การจดจำทรงผมเสื้อผ้าและเครื่องประดับ รวมถึงการสร้างภาพ เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ยังถูกนำมาใช้สำหรับการร่างภาพในขั้นตอนสุดท้ายด้วย

  • เทคโนโลยีตรวจจับจุดเด่นบนใบหน้าสามารถระบุส่วนสำคัญ 118 จุดบนใบหน้าและสามารถวิเคราะห์ใบหน้าได้แบบเรียลไทม์อย่างมีเสถียรภาพและแม่นยำในสภาพการใช้งานที่ซับซ้อน
  • เทคโนโลยีแบ่งส่วนภาพสามารถจำแนกอวัยวะของมนุษย์ ผิว เส้นผม และลักษณะเด่นบนใบหน้า พร้อมกับแบ่งส่วนภาพออกเป็นพื้นที่ที่ไม่ทับซ้อนกันด้วยการวิเคราะห์เค้าโครงร่าง ตำแหน่งของการสบฟัน สี พื้นผิว รูปทรง และอื่นๆ
  • เทคโนโลยีจดจำเส้นผมระบุลักษณะพื้นฐานของเส้นผมมนุษย์ผ่านภาพถ่ายบุคคลภาพเดียว ทั้งความยาว การดัดลอน การเกล้ามวย ทรงหางม้า ทรงหน้าม้า ความหนาของเส้นผม ขวัญผม และอื่นๆ
  • เทคโนโลยีจดจำเสื้อผ้าระบุประเภทของเครื่องแต่งกาย ลวดลาย คอเสื้อ ความยาวแขนเสื้อ และอื่นๆ
  • เทคโนโลยีตรวจจับเครื่องประดับระบุประเภทของเครื่องประดับ อาทิ แว่นตา หมวก และอัญมณี
  • เทคโนโลยีสร้างภาพจะสร้างภาพจำลองด้วยการแปลงภาพระหว่างภาพจริงและภาพที่ต้องการสร้างขึ้น ก่อนนำเสนอออกมาเป็นภาพเอฟเฟ็คการ์ตูนเคลื่อนไหว
  • เทคโนโลยี AR ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและโลกเสมือนจริงผ่านการสร้างภาพจำลองและภาพร่างแบบเรียลไทม์

การทำงานของกระบวนการทางเทคโนโลยีนี้เริ่มต้นโดย ผู้ใช้ใส่ข้อมูลเบื้องต้นด้วยการถ่ายภาพหรืออัพโหลดภาพเพื่อทำการวิเคราะห์ จากนั้นเทคโนโลยี AI จะตรวจจับและวิเคราะห์ลักษณะเด่นของภาพนั้น รวมถึงเพศ อายุ ใบหน้า รูปทรงของดวงตา คิ้ว สีผิว การแสดงออกบนใบหน้า ทรงผม สีผม เสื้อผ้า สีของเสื้อผ้า เครื่องประดับ และสีของเครื่องประดับ ด้วยการใช้แบบจำลองเพื่อสร้างภาพร่างและผสมผสานระหว่างภาพจริงกับภาพการ์ตูนเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นภาพการ์ตูนที่มีลักษณะเหมือนกับภาพจริงอย่างน่าทึ่ง หลังจากนั้นเทคโนโลยี AR จะช่วยให้ตัวเสมือนจริง (อวาตาร์) สามารถเลียนแบบการแสดงออกบนใบหน้าและการเคลื่อนไหวของผู้ใช้ได้แบบเรียลไทม์

บริษัท Meitu ซึ่งขับเคลื่อนธุรกิจด้วย AI ได้ผนวกรวมเทคโนโลยีเหล่านี้ไว้ในส่วนแอปที่เกียวกับลูกเล่นเสริมความงาม เทคโนโลยีตรวจจับจุดเด่นบนใบหน้าถูกใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ของ Meitu และเป็นการวางรากฐานของการการตกแต่งภาพเพื่อความงามและการแต่งหน้าเสริมความงามแบบเสมือนจริง การวิเคราะห์ลักษณะเด่นบนใบหน้ามอบฟีเจอร์ปรับแต่งความงามได้ตามต้องการ รวมถึงเอฟเฟ็คการแต่งหน้าแบบเสมือนจริง และการแนะนำผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ส่วนเทคโนโลยีการแบ่งส่วนภาพมีประโยชน์มากมาย อาทิ การเปลี่ยนภาพพื้นหลังและการเบลอภาพ ขณะที่เทคโนโลยีการสร้างภาพถูกประยุกต์ให้รองรับหลายฟังค์ชั่น อาทิ AI Portrait และ Andy the ArtBot เทคโนโลยี AR ถูกใช้เพื่อการแต่งหน้าแบบเสมือนจริงและยังมีตัวฟิลเตอร์ AR ที่เพิ่งเปิดตัวอย่าง เอฟเฟ็ค AR ธีมภาพยนตร์เวนอมของมาร์เวล

ด้วยการยกระดับความถูกต้องในการสร้างภาพร่าง ฟีเจอร์อวาตาร์อนิเม คือการต่อยอดจากฟังค์ชั่น Andy the ArtBot และ Hand-Drawn Selfies ซึ่งใช้เทคโนโลยี AI ของ Meitu และประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยความสามารถในการสร้างภาพวาดเสมือนจริง (illustration) แบบเรียลไทม์จากภาพถ่ายจริงของผู้ใช้ โดยในเดือนมกราคม 2560 Meitu เปิดตัว Hand-Drawn Selfie Function ซึ่งเปลี่ยนภาพถ่ายของผู้ใช้ให้เป็นภาพวาดที่มีความโดดเด่น ขณะที่ในเดือนพฤศจิกายน 2560 Meitu เปิดตัว Andy the ArtBot ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นอัพเกรดจากฟังค์ชั่นเซลฟี่ภาพวาดด้วยมือ แอป Meitu ขึ้นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับแอปยอดนิยมใน 6 ประเทศเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทั้งในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย และมองโกเลีย ความสำเร็จส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากความนิยมในฟังค์ชั่น Andy the ArtBot

สามารถดาวโหลดแอปและทดลองเล่นอวาตาร์อนิเมได้ที่ ANIME AVATAR

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...