Cisco เมื่อการอยู่รอดจาก Digital Disruption ไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็น 'การสร้างนวัตกรรมร่วมกัน'

Cisco เมื่อการอยู่รอดจาก Digital Disruption ไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็น 'การสร้างนวัตกรรมร่วมกัน'

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้เข้ามามีอิทธิพลในทุกอุตสาหกรรม หลายวงการต้องเร่งปรับตัวกันอย่างหนัก เพื่อพัฒนายกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม อวสานของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของวิธีการคิดดังกล่าวแล้วว่า หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในทุกวันนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ว่าผู้ที่เหมาะสมที่สุดจะอยู่รอดจากการแข่งขัน หากแต่เป็นผู้ที่รู้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายแล้วหาแนวทางพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน

Techsauce ได้มีโอกาสนั่งพูดคุยกับ Michael Maltese ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมของ Cisco ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน และญี่ปุ่น ถึงความท้าทายและโอกาสสำหรับการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาไปสู่ Internet of Thing (IoT) และการสร้างความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cyber security) ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรม รวมทั้งในด้านประเทศไทยเอง ว่ามีความพร้อมแค่ไหนในการเดินหน้าพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City

Michael Maltese ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมของ Cisco ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน และญี่ปุ่นที่ผ่านมามีองค์กรขนาดใหญ่เปิดตัวโครงการบ่มเพาะนวัตกรรมจำนวนมาก ทาง Cisco เองมีกลยุทธ์ในการดำเนินการขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างไร

บริษัทใหญ่ได้ลงทุนในการวิจัยและพัฒนา เช่นเดียวกันกับที่ Cisco แต่สิ่งที่เราโดดเด่นคือ เราทำการซื้อกิจการในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมามากกว่า 200 บริษัท เรามองหาบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่น่าสนใจที่เราคิดว่าเราสามารถทำงานผสานร่วมกันได้

นอกจากนี้ เรายังทำการลงทุนใน Venture Capital แต่เรื่องการพัฒนาร่วมกันนั้นเป็นสิ่งที่เรามุ่งเน้นที่สุด ที่ Cisco เราเชื่อว่าไอเดียที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นมาจากทุกที่ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงใช้แนวทาง 'Innovation Portfolio' วางแนวทางบริหารจัดการนวัตกรรมในระยะสั้น และระยะยาว ขณะเดียวกันก็ทำการลงทุนใน R&D อย่างแข็งขัน บริษัทได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าและคู่ค้าของเรา ในการร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นที่มีความหมายและสร้างสรรค์

เราต้องการรวบรวมไอเดียยอดเยี่ยมไว้ให้ได้มากที่สุด อีกทั้งต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Ecosystem ของนวัตกรรม ทั้งทำงานร่วมกับทางภาครัฐ เอกชน รวมถึงคอมมูนิตี้เหล่า Startup ซึ่งศูนย์พัฒนานวัตกรรมร่วมของเรา ก็เป็นวิธีที่ดีที่จะสร้างสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้น

เป้าหมายของการสร้างศูนย์นวัตกรรม Cisco Co-Innovation Center

ศูนย์นวัตกรรม Cisco ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายนวัตกรรมศูนย์อื่นๆ ทั่วโลก มุ่งเน้นทดสอบไอเดีย การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ IoT ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และบล็อกเชน โดยทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรไม่แสดงหาผลกำไร เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ

เรามีศูนย์นวัตกรรมอยู่ 14 แห่งทั่วโลก และในภูมิภาคนี้ซึ่งผมดูแลอยู่มี 4 แห่งด้วยกัน คือที่ประเทศญี่ปุ่น ที่ออสเตรเลียมีสองแห่งคือที่ซิดนีย์และเพิร์ท และล่าสุดเราเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018 คือที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์นวัตกรรมแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศูนย์นวัตกรรมร่วมของ Cisco ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน และญี่ปุ่น แต่ละแห่งพัฒนาอะไรบ้าง

ศูนย์นวัตกรรมในแต่ละแห่งของ Cisco มีจุดมุ่งเน้นในการพัฒนาต่างกัน ภาคการผลิตเป็นสิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญ โตเกียวกำลังให้ความสำคัญด้านเมืองอัจฉริยะมาก ส่วนเรื่อง 5G ในขณะนี้ก็กำลังทวีความสำคัญทั่วเอเชียเช่นกัน เรายังได้ทำงานร่วมกับบริษัทอย่าง Hitashi ในการผลิตนวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

ในออสเตรเลียเราเน้นพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับทรัพยากร คมนาคมขนส่ง เราทำงานร่วมกับ Woodside บริษัทด้านพลังงาน และทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคการศึกษา

ที่สิงคโปร์จะเน้นร่วมพัฒนานวัตกรรมสมาร์ทซิตี้ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการใช้อุปกรณ์ IoT ความปลอดภัยทางไซเบอร์ บล็อกเชน และ 5G

การเปิดศูนย์นวัตกรรมร่วมที่สิงคโปร์มีบทบาทอย่างไรในกลยุทธ์ของทาง Cisco

Cisco มองว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตและเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภูมิภาคนี้ สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรม และเรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับรัฐบาลท้องถิ่น ผู้ก่อตั้ง บริษัท คู่ค้า และลูกค้า ในการสร้างนวัตกรรมและขับเคลื่อนโซลูชั่นดิจิทัลใหม่ เพื่อพัฒนาสภาพเศรษฐกิจและสังคม

ทางสิงคโปร์ได้เข้าร่วมเครือข่ายศูนย์นวัตกรรมร่วมกับเครือข่ายทั่วโลกของ Cisco โดยมีพันธกิจในความร่วมมือและแก้ปัญหาด้านนวัตกรรมร่วมกับวิศวกรของเรา

ศูนย์นวัตกรรมร่วมจะเป็นตัวเร่งการเกิดนวัตกรรม Digital transformation โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาไปสู่ IoT และการสร้างความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์

ที่นี่จะช่วยสร้างความตระหนักถึงความเป็นไปได้ของ Digital Transformation และ IoT มีทั้งการให้พื้นที่สำหรับผู้เล่นในอุตสาหกรรม จัดโครงการ Accelerator เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัย และ Startup เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างต้นแบบและโซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้จัด Hackhathon ด้านนวัตกรรมความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เราเรียกว่า 'Decipher' ได้ทำงานร่วมกับนักศึกษา และกับบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ อันจะเป็นส่วนช่วยเสริมการทำงานของ Cisco มี Startup เข้าร่วมโปรแกรมนี้กว่า 20 ทีม นอกจากนี้ เรายังได้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้ามาร่วมเป็นเมนเทอร์ให้กับเหล่า Startup และผู้ประกอบการอีกด้วย

ทางรัฐบาลสิงคโปร์ได้สนับสนุนความพยายามในการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกับทางเรา อีกทั้งบริษัทอื่นอย่าง Sembcorp บริษัทด้านสาธารณูปโภค วิศวกรรมชายฝั่ง และพัฒนาเมือง และ ICE71 ฮับผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งพวกเขาได้ทำงานร่วมกับเราในโปรแกรม Hackathon เช่นกัน

ภาพบรรยากาศงาน {DECIPHER} HACKATHON/ ที่มา Cisco

ตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จจากความร่วมมือของศูนย์นวัตกรรม

โครงการ Google Station ที่เราได้ร่วมมือกับทาง Google ในภารกิจช่วยชุมชนให้มีการเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ โครงการท่าเรือ Rotterdam ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งเป้าหมายของโครงการนี้ก็คือทำการยกระดับท่าเรือให้เป็นระบบออโตเมชันอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2023

สัญญาณอะไรที่บ่งบอกว่าถึงเวลาแล้วที่ท่าเรือนี้จะต้องมีการยกระดับพัฒนาเป็นระบบอัตโนมัติ

หากคุณมองท่าเรือขนาดใหญ่ในขณะนี้ ท่าเรือส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศจีน ซึ่งอยู่ในจุดที่สามารถทำการขยายทางกายภาพได้ แต่ที่ Rotterdam ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเมืองถูกสร้างรอบๆ ที่นี่ อีกทั้ง Rotterdam ยังเป็นท่าเรือหลักในยุโรปมานานหลายศตวรรษ ดังนั้นเพื่อยังคงความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองหาโซลูชั่นใหม่

ภาพ Port of Rotterdam

เทคโนโลยีสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการนี้คืออะไร

สิ่งที่สำคัญคือระบบเครือข่ายเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ เมื่อต้องการปรับเป็นระบบออโตเมชันจึงต้องอาศัยอุปกรณ์ IoT ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายมารวมศูนย์บังคับควบคุม โดยโครงการประเมินว่าอาจต้องใช้เซ็นเซอร์สูงถึง 1 แสนชิ้น

จริงๆ แล้วก็ต้องกลับมาที่แกนหลักของ Cisco ที่เติบโตก็เพราะการเชื่อมต่อ 'Connectivity' ในการส่งรับข้อมูลที่รวดเร็วและปลอดภัยจากเซ็นเซอร์ทั้งหมด จากสถานที่ต่างๆ

เราผลักดันการคิดค้นนวัตกรรม พัฒนาระบบความปลอดภัยและเซ็นเซอร์อัตโนมัติ ซึ่งนั่นหมายความว่าจะมีโครงการ IoT มากขึ้น และการมีข้อมูลมากขึ้น นำมาเก็บบันทึกวิเคราะห์ ช่วยในการตัดสินใจได้รวดเร็ว แม่นยำ

นอกจากเทคโนโลยีแล้ว ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมคืออะไร

การสนับสนุนจากผู้บริหารนั้นสำคัญมาก เราเพิ่งได้พูดคุยกับผู้จัดการ พวกเขารู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ทำงานกับเรา หลายๆ ไอเดียมันยอดเยี่ยม นอกกรอบ แต่นั่นยังไม่เพียงพอ เราต้องการการสนับสนุนจากผู้บริหารด้วย

การสนับสนุนจากผู้บริหารนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะพวกเขาจะมองเห็นความต้องการบางอย่างที่จะช่วยแก้โจทย์ในอนาคตได้

นอกจากนี้ความร่วมมือกับพันธมิตรก็สำคัญเช่นกัน อีกหนึ่งพันธมิตรสำคัญที่ทำงานร่วมกับเราในโครงเรือ Rotterdam ก็คือ IBM ท่าเรือนี้เป็นสถานที่ที่มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายพร้อมกัน หากคุณรู้ว่ามีอะไรขึ้นโดยเร็วที่สุด และสามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

มีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยให้โครงการ Rotterdam ขับเคลื่อนไปได้ โดยทาง IBM มีทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), Machine Learning ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเสริมเข้าสิ่งที่ Cisco มี ดังนั้นพวกเขาจึงมีความสามารถ คือถ้าพวกเขาได้รับข้อมูลเหล่านั้นพวกเขาสามารถนำเข้าไปวิเคราะห์และนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น ดังนั้นผมจึงคิดว่าการที่เรามีพันธมิตรที่ดีก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญเช่นกัน

นอกจากนี้เรายังจัดกิจกรรมให้พนักงานมารวมกัน กระตุ้นให้พนักงานในออกไอเดียใหม่ๆ และนำเมนเทอร์ชิพเข้ามาให้คำปรึกษา

ไทยอยู่จุดไหนของการพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะ 'Smart city'

คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของ Cisco เสริมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเมืองที่ชาญฉลาดว่า เมืองที่ต้องรับใช้คือความอยู่ดีมีสุขของคนในพื้นที่ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเช่นเดียวกันวิธีการที่รัฐบาลจะสามารถให้บริการประชาชนได้ดีขึ้น

อีกประเด็นก็คือ เมืองไทยจะสามารถก้าวขึ้นแข่งขันกับเมืองอื่นๆ ในโลก เพื่อดึงดูดการลงทุน นักท่องเที่ยว และนำรายได้กลับเข้าสู่ประเทศได้อย่างไร ผมคิดว่าเรื่องนี้เราต้องช่วยกันหาคำตอบ ซึ่งจะกลับไปสู่คำถามเดิมที่ว่า เมืองเราควรค่าแก่การลงทุนเพื่อพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะหรือไม่

คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของ Cisco

หากต้องการยกระดับเมืองให้เป็นอัจฉริยะ ต้องทำการจัดลำดับว่าพื้นที่ไหนต้องเร่งพัฒนามากที่สุด เพราะแต่ละพื้นที่มีเอกลักษณ์ และต้องการกลยุทธ์การพัฒนาที่ต่างกัน

เมืองหลักทั่วโลกต่างลงทุนในการพัฒนาเมืองให้เป็น Smart City อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศก็ต้องตัดสินใจด้วยตนเองว่าต้องการพัฒนาส่วนไหนก่อนเป็นอันดับแรก

ในเรื่องของการมีศูนย์นวัตกรรมร่วมในประเทศไทย เราได้มีการเสนอไปแล้วหลายครั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมองมุมมองแบบองค์รวมของบริษัท ในแง่ของความสามารถในการลงทุนของ Cisco อีกทั้งความพร้อมของประเทศไทยด้วย ว่าเราจะสามารถทำงานร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างไรบ้าง

 

ภาพหน้าปกจาก Cisco

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...