Innovation โลกธนาคารจะเกิดขึ้นได้จากกฎข้อบังคับ? กรณีศึกษา Open Banking

หรือ Innovation โลกธนาคารจะเกิดขึ้นได้จากกฎข้อบังคับ? กรณีศึกษา Open Banking ในยุโรป

การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน  ลดการผูกขาด สร้างความเท่าเทียมเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ เป็นสิ่งที่เราทุกคน อยากเห็นในหลายวงการธุรกิจมากขึ้น และ FinTech คือหนึ่งในนั้น แนวทางแบบ Openness ดูเหมือนจะสดใสขึ้นเมื่อสหภาพยุโรปหันมาปรับกฎเกณฑ์กับธนาคาร ถ้าใครได้ติดตามความเคลื่อนไหว FinTech ในยุโรป ช่วงปีที่ผ่านมา หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือการปรับกฎเกณฑ์เพื่อสนับสนุนแนวทางของ OpenBanking เราไม่ได้กำลังพูดถึงแค่การให้ดึงข้อมูลจำพวก สาขาธนาคารอยู่ที่ไหน ตำแหน่ง ตู้ ATM อยู่ที่ไหน แต่เรากำลังพูดถึงระดับข้อมูลผู้ใช้ที่ทุกวันนี้มีมูลค่ามหาศาลต่างหาก

ทำความรู้จัก PSD2 และ Open Banking?

ทั้งหมดเริ่มต้นมาตั้งแต่กฎหมายสำหรับการสร้างระบบการชำระเงินเดียวทั่วสหภาพยุโรป ที่มีชื่อว่า Directive on Payment Services (PSD) เพื่อให้การชำระเงินของผู้ใช้ในประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเครือ EU นั้นสะดวกและง่ายที่สุด แต่จุด trigger สำคัญที่จะทำให้วงการ Banking Landscape เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในเชิงของ Architecture, Business model การแข่งขันที่จะรุนแรงมากขึ้นนั้น มาจากการปรับ PSD ไปสู่เวอร์ชั่นใหม่นั่นคือ Second Payment Service Directive (PSD2) โดยมีผลบังคับให้ธนาคารต่างๆ ในเครือ EU ต้องเข้าสู่โมเดลใหม่ Open Banking อย่างเต็มตัว โดยต้องเปิดข้อมูลให้กับผู้เล่นภายนอก (3rd Party) ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลบัญชีธนาคารของลูกค้า และ Payment system ผ่านทาง Open API นั่นเอง

กรณีศึกษาการใช้งาน และประเด็นความปลอดภัย

กลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับกลุ่มธนาคารขึ้นมาโดยทันที เพราะกลายเป็นว่าจากเดิมที่ธนาคารยังมีข้อได้เปรียบคือถือบัญชีของผู้ใช้เอาไว้ แต่เมื่อผู้เล่นภายนอกสามารถดึงข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อพัฒนาต่อยอดเกิดเป็นบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ข้อได้เปรียบดังกล่าวก็จะเริ่มหายไป และยิ่งถ้า 3rd party รายนั้นมีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว มีช่องทาง, มี touch point ที่เชื่อมต่อกับลูกค้าได้ดีอยู่แล้วอย่าง Facebook, Amazon, Google ธนาคารยิ่งรับศึกหนักขึ้นไปอีก (ทุกวันนี้ก็ถือว่าศึกหนักอยู่แล้ว) เพื่อให้เห็นภาพมาลองดู use case ที่เกิดขึ้นจริงกันบ้าง [wired ได้เคยนำเสนอไว้ในบทความไว้อย่างน่าสนใจ แต่เป็นกรณี Open Banking ในอังกฤษ] อาทิ

  • จากเดิมที่เราต้องเข้าไปดูข้อมูลของแต่ละบัญชีที่อยู่ต่างธนาคาร ด้วย Open Banking จะทำให้เราสามารถเห็นข้อมูลของทั้ง 2 ธนาคารจากหน้า dashboard ของคนกลางได้ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของเราในต่างธนาคารได้สะดวกมากขึ้น
  • การกู้เงินนั้น เดิมที่ต้องไปขอสถานะทางการเงินจากทางธนาคารเพื่อนำมาเป็นหลักฐาน ด้วย Open Banking สิ่งเหล่านี้จะสะดวกมากขึ้น เช่นผู้จะปล่อยกู้สามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะหลังจากที่เราให้สิทธิไปตรวจสอบผ่านออนไลน์ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งกรณีนี้เพิ่มความสะดวกให้กับธุรกิจ SME ด้วย
  • การเปิดโอกาสให้เว็บอีคอมเมิร์ซที่ได้รับสิทธิเข้าถึงบัญชีธนาคารได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ไม่ผ่านคนกลางที่คิดค่าธรรมเนียมแพงๆ

และนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ซึ่งทำให้เห็นว่าธนาคารเริ่มถูกลดบทบาท คือถือบัญชีธนาคาร แต่เปิดโอกาสให้รายอื่นได้นำข้อมูลเหล่านี้มาต่อยอด เพิ่มมูลค่า (Add Value) และแถมยังติดต่อตรงกับผู้ใช้ปกติได้อีกด้วย จนตัวเองแทบไม่รู้ข้อมูลผู้บริโภค แม้กฎดังกล่าวต้องมีกระบวนการให้สิทธิกับ 3rd party ที่มาขอสิทธิเข้าถึง Open API และผู้ใช้เองก็ต้องอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลด้วยรูปแบบที่รัดกุดเช่นกัน การรักษาความปลอดภัยแม้จะบอกว่าเท่าเทียมระดับ Online Banking แต่แน่นอนว่าย่อมมีมิจฉาชีพที่ไม่หวังดีเกิดขึ้นในทุกยุค ทุกสมัยที่เทคโนโลยีปรับเปลี่ยนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าผู้เกี่ยวข้อง/ผู้ดูแลระบบมีความสามารถ และรู้เท่าทันคนกลุ่มนี้หรือเปล่า

ดูเขา ดูเรา

Open Banking ทำให้ธนาคารต้องปรับโครงสร้าง Infastructure ไม่ใช่เพื่อรองรับกฎเท่านั้น แต่เป็นเหตุการณ์กึ่งบังคับไปในตัวว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องปรับตัวอย่างจริงจัง หันมามองโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสู้รบปรบมือกับกลุ่ม 3rd party ให้ได้ ณ ที่แห่งนั้นโลกแห่งเสือนอนกินได้หมดลงแล้ว แต่สำหรับบ้านเราแนวคิด Open Banking ระดับยุโรปคงยังไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทั้งเรื่องผู้ได้รับผลกระทบและเสียประโยชน์ (ทุกวันนี้แค่ต่อกรกับ Non-Fianncial ที่มี E-wallet และมีพฤติกรรมผู้บริโภคเยอะก็หนักพอแล้ว) ในขณะเดียวกันผู้ออกกฎก็อาจยังไม่เห็นถึงความจำเป็นขนาดนั้น เปิดประเด็นทีก็เป็นเรื่องที

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...

Responsive image

“อยากได้อะไร ก็แค่พูดตรงๆ” เคล็ดลับความสำเร็จจาก Sam Altman

Sam Altman CEO ของ OpenAI บริษัทผู้สร้าง ChatGPT แนะนำ วิธีช่วยให้คุณได้ในสิ่งต้องการ และทำได้ง่ายๆ...

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...