ปี 2017 บริษัท Non-Tech ใหญ่ๆ จะเร่งเครื่องด้วยการเข้าซื้อ Startup ไม่ต้องรอ Build ใหม่ | Techsauce

ปี 2017 บริษัท Non-Tech ใหญ่ๆ จะเร่งเครื่องด้วยการเข้าซื้อ Startup ไม่ต้องรอ Build ใหม่

non-tech companies acquire startup - 2017 trend

ในปี 2017 บริษัท General Electric จะซื้อกิจการ Startups มากซะยิ่งกว่าบริษัท Tech อย่าง Google

เป็นการจั่วหัวบทความได้อย่างน่าตื่นเต้น โดย Thinkgrowth.org แต่จะว่าไปแล้ว ถ้าดูจาก "ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น" เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา ประกอบกับ "ความเป็นเหตุเป็นผล" ก็อาจกล่าวได้ว่า คำพูดข้างต้นนี้ ไม่ใช่คำพูดที่กล่าวเกินจริง

ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น: สถิติการซื้อ Startups โดยบริษัท Non-Tech ใหญ่ๆ ในปีที่ผ่านมา

บริษัทใหญ่ที่เก่าแก่ มีความแอคทีฟในการลงทุนสูงมาก

มันอาจจะดูไม่แปลกที่ Corporate VC ในบริษัท Tech ใหญ่ๆ อย่างเช่น Google Ventures จะมีความแอคทีฟสูง แต่ถ้าเราบอกว่า ในช่วงหลังมานี้ Corporate VC ในบริษัท Non-Tech ก็มีความแอคทีฟสูงไล่ตามขึ้นมาล่ะ?

General Electric (GE) เป็นหนึ่งในนั้น โดยมี Fund ชื่อว่า GE Ventures ซึ่งเมื่อต้นปี 2016 ก็ติด Top Ten ของ Corporate VC ที่แอคทีฟที่สุดของโลก

หากได้เข้าไปดูในเว็บไซต์ของ GE Ventures แล้วดูที่ Portfolio การลงทุน ก็จะพบกับประวัติการลงทุนเยอะเสียจนนับแทบไม่ไหว โดยเฉพาะสาย Healthcare Startups แม้ว่า GE จะไม่ใช่บริษัทสาย Healthcare แบบตรงๆ แต่กลับสามารถทำให้ GE Ventures ขึ้นชื่อเรื่อง Healthcare ได้

ge-ventures-healthcare-recognition

นอกจาก Healthcare แล้ว GE ยังกล่าวว่าเน้นลงทุนในสาย Energy, IoT, Analytics และ Advanced Manufacturing & Enterprises อีกด้วย นอกจากนี้ในเดือนพฤศจิกายน Fortune.com รายงานว่า General Electric (GE) เข้าซื้อ Startups สาย AI ไปสองราย

ไม่ใช่แค่จำนวน แต่ยังรวมถึงขนาดของดีล

ดีลใหญ่มากๆ ที่หลายๆ คนจดจำ อย่างเมื่อต้นปีที่แล้ว General Motors ซื้อ Cruise Automation Startup สาย Self-Driving Cars ในมูลค่า หนึ่งพันล้านเหรียญ USD (ราว 3.5 หมื่นล้านบาท)

นอกจาก General Motors แล้ว บริษัทอื่นๆ ในสาย Automotion เองก็มีแนวโน้มที่จะลงทุนในเรื่องนี้

มาดูสาย Consumer บ้าง กลางปีที่แล้ว Unilever ก็ซื้อ Dollar Shave Club ในมูลค่าหนึ่งพันล้านเหรียญ USD เช่นกัน นับเป็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะ Gillete ในตลาดมีดโกนหนวด ส่วน Walmart ซื้อ Jet.com ในมูลค่า 3.3 พันล้านเหรียญ นับเป็นดีลที่ใหญ่มากที่สุดแห่งปีดีลนึง

สายธนาคารและสถาบันการเงินเอง ก็มีตัวอย่างมากมาย เช่น J.P. Morgan เข้าซื้อ LendingClub ในมูลค่าเกือบๆ หนึ่งพันล้านเหรียญ เช่นกัน

ดูแล้วเหมือนว่ามูลค่าใหญ่ๆ อย่างหนึ่งพันล้านเหรียญ จะเป็นตัวเลขธรรมดา ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่มายาวนานเหล่านี้ สามารถลงทุนได้อย่างไม่ยากลำบากนัก

วิเคราะห์: ทำไมเราถึงเห็น Stretegic corporate investor กันมากขึ้น

ลำดับชั้นของความต้องการทำ M&A ของบริษัทใหญ่

hierarchy of corporate ma needs

ภาพจาก ThinkGrowth.org

เลเวลแรกสุด: การซื้อตัว Talent

Fortune 500 เรียกวิธีนี้ว่า "Acquihire" เวลาที่บริษัทต้องการเพิ่ม Talent สายเทคโนโลยีให้กับทีมปัจจุบันขององค์กร หรือ Spin-off ทีมใหม่

สาเหตุหลักๆ ของเลเวลนี้คือ การที่บริษัทผู้ซื้อมีภาพลักษณ์ที่ไม่สามารถป้อน Talent ใหม่ๆ ให้กับบริษัทได้

ในเลเวลนี้ คีย์เวิร์ดในข่าวที่เรามักจะเห็นคือ "โปรดักส์ XYZ จะถูกปิดตัวลง และทีมก็จะไปโฟกัสกับโปรเจ็กต์ใหม่แทน"

เลเวลถัดมา: ซื้อ Startup เพื่อซื้อโปรดักส์นั้นๆ

ในเคสนี้ Startup มีโปรดักส์ที่ดี และมี Product-market fit มีแนวโน้มจะเป็นโปรดักส์ที่ดี แม้อาจจะยังไม่ถึงกับทำกำไรได้

บริษัทมักจะเข้าไปซื้อเพื่อนำโปรดักส์นั้นๆ มาใช้เสริมกับนโยบายขับเคลื่อนสู่ดิจิทัล ให้มีบริการที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงได้เข้าไปกำหนด Direction ของโปรดักส์นั้นๆ รวมถึงเป็นการหา Talent ในตัวด้วย

เลเวลถัดมา: ซื้อฐานลูกค้า หรือช่องทางการกระจายโปรดักส์

Under Armour ซื้อ MyFitnessPal ด้วยมูลค่า 475 ล้านเหรียญ เป็นตัวอย่างหนึ่งในประเภทนี้ แอปสายฟิตเนสรายนี้มีฐานผู้ใช้ชาวฟิตเนสค่อนข้างมากแล้ว

เลเวลสูงสุด: ซื้อความสบายใจ

ลดความเสี่ยง หรือ เป็นความหวังใหม่

Cruise Automation, Jet และ Dollar Shave Club ก็จัดอยู่ในประเภทนี้

GM มองเห็นว่าระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ อาจเป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจตนในอนาคต มูลค่าหนึ่งพันล้านเหรียญนี้ฟังดูมาก แต่ถ้ามอง market cap ของอุตสาหกรรมของ GM แล้ว มันอยู่ที่ 2-3% เท่านั้น เทียบกับสิ่งที่ได้มา นั่นคือการขจัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ให้กลายเป็นศูนย์ไป แถมยังได้ทีม Talent เก่งๆ มาเพิ่มอีกด้วย

สำหรับ Jet.com 3.3 พันล้านเหรียญ ถือเป็น 1.5% ของ market cap เทียบกับการช่วยให้ Walmart ได้มีพื้นที่ทางออนไลน์ ไม่ต้องถูก Amazon กลืนกินอย่างรวดเร็วภายในสิบปี

อ้างอิง: Thinkgrowth.org

บทความนี้ได้แรงบันดาลใจการตั้งชื่อบทความ มาจาก The New York Times หัวข้อว่า "For Non-Tech Companies, if You Can't Build It, Buy a Start-Up"


จากเทรนด์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ กล่าวได้ว่า 2017 จะเป็นปีแห่ง "Non-Tech Acquirer" เราน่าจะได้เห็นดีลการซื้อ Tech Startup โดยบริษัท Non-Tech ใหญ่ๆ เกิดขึ้นอีก ...ไม่แน่ว่าแม้แต่ที่ไทยเอง มันอาจจะกำลังเริ่มต้นขึ้น

สำหรับประเทศไทยเอง ปีที่แล้วก็เป็นปีที่เราได้เห็น Corporates เริ่มแสดงความสนใจลงทุนใน Startups เช่น สำหรับฝั่งธนาคาร ก็ออกตัวแล้วทั้ง ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย และกรุงศรี ส่วนฝั่งที่ไม่ใช่ธนาคาร ก็มี ปตท. เป็นต้น เราเชื่อว่าปีนี้จะได้เห็นอีกหลากหลายเซคเตอร์เข้ามาศึกษา และให้ความสนใจกับการสร้างนวัตกรรมผ่านการลงทุนกับ Startups

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...

Responsive image

“อยากได้อะไร ก็แค่พูดตรงๆ” เคล็ดลับความสำเร็จจาก Sam Altman

Sam Altman CEO ของ OpenAI บริษัทผู้สร้าง ChatGPT แนะนำ วิธีช่วยให้คุณได้ในสิ่งต้องการ และทำได้ง่ายๆ...

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...