GovTech คำที่กรณ์ จาติกวณิช อยากทำให้เป็น Buzzword

GovTech คำที่กรณ์ จาติกวณิช อยากทำให้เป็น Buzzword


ในช่วงหลังมานี้ เราเริ่มเห็นคำว่า GovTech กันบ่อยมากขึ้น ทั้งการจัดเสวนา การจัดงานต่างๆ แล้วคำๆ นี้มีหมายความว่าอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร? Techsauce ได้นั่งคุยกับคุณกรณ์ จาติกวณิช หนึ่งในผู้ที่ผลักดัน และอยากทำให้ GovTech เกิดขึ้นในประเทศไทย 

GovTech คืออะไร

GovTech หรือ Government Technology คือการให้บริการจากภาครัฐโดยอาศัยเทคโนโลยี รูปแบบเดียวกับการที่ประชาชนคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีจากภาคเอกชน เช่น จองแท็กซี่ สั่งซื้ออาหาร จองเครื่องบิน จองห้องพักโรงแรม ใช้มือถือทำธุรกรรมต่างๆ  ในอนาคตประชาชนควรจะใช้บริการหรือเข้าถึงรัฐด้วยเทคโนโลยีแบบนี้ในระดับเดียวกัน

ทำไมเราจึงไม่ค่อยเห็น GovTech ถูกนำมาเป็นนโยบายหาเสียง

อันนี้ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง สาเหตุเป็นเพราะว่ามันยังไม่เป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มันจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่นักการเมืองนำมาหาเสียงแล้วได้คะแนน 

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลแรกที่เข้ามาบริหารในยุค Digital Economy เรื่องของ Startup ในประเทศไทยก็พึ่งจะมา Active จริงๆ 4-5 ปีมานี้ ซึ่งอยู่ในช่วงของรัฐบาลนี้พอดี เวลาไปงานต่างๆ ที่รัฐบาลได้จัดขึ้นมาสนับสนุน Startup จะมักพบอยู่กระทรวงเดียวคือกระทรวงดิจิทัลหรือกระทรวงวิทยาศาสตร์เข้ามา ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่พอ เพราะเทคโนโลยีมันเป็นเรื่องของทุกกระทรวง ยิ่งกระทรวงไหนมีพันธกิจกับประชาชนมากแค่ไหน ยิ่งต้องสนใจเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่ประชาชน ซึ่งกระทรวงดิจิทัลหรือวิทยาศาสตร์มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชนน้อยมากแต่กลับมาเป็นผู้รับงาน

แต่ตราบใดที่กระทรวงเกษตร กระทรวงการศึกษา กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้เข้ามาร่วม กระทรวงดิจิทัลหรือวิทยาศาสตร์จัดงานได้ดีแค่ไหน ก็ไม่เป็นประโยชน์เพราะผู้ใช้ไม่ให้ความสำคัญ ดังนั้นทุกหน่วยงานควรตั้งคำถามให้ตัวเอง หรือ Disrupt การทำงานในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AI , Deep learning , Blockchain ต่างๆ ว่าสามารถมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยประชาชนได้อย่างไร

หรือนี่จะกลายเป็น Buzzword ของนักการเมือง

ผมอยากให้เป็นอย่างนั้นนะครับ เราต้องยอมรับว่า ถ้ายังไม่เป็น Buzzword หรือเป็นที่เรียกร้องจากประชาชน ก็อาจจะยากที่ฝ่ายการเมืองจะขับเคลื่อนได้ ดังนั้นฝ่ายการเมืองจะขับเคลื่อนได้ก็ต้องสร้างกระแส และทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองที่จะไปเรียนรู้และมานำเสนอในเรื่องนี้

ทุกวันนี้เรามี Big data เราเริ่มเห็นปัญหาที่สามารถถูกแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยี แต่ภาครัฐก็ยังไม่สามารถคิดแก้เองได้อยู่ดี เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรต่างๆ ยังไม่เอื้อต่อการคิดหาวิธีแก้ปัญหาแบบนั้น ซึ่งเราต้องเปิดพื้นที่ให้แก่ผู้มีความรู้ทางเทคโนโลยี หรือ Startup ต่างๆ ให้เข้าถึงภาครัฐ ให้มีโอกาสที่จะนำเสนอทางออกหรือ Solution ต่างๆ เพื่อให้เค้าโตได้และช่วยชาติได้ อย่าง EdTech นั้น โรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นโรงเรียนรัฐ แต่หากเขาไม่สามารถเชื่อมโยงและเข้าถึงโรงเรียนเหล่านั้นได้ เขาก็ไม่สามารถโตได้

“ดังนั้นอีกมุมนึงของ GovTech คือพื้นที่ตรงกลางที่ทำให้ Startup เชื่อมโยงกับภาครัฐได้ ถ้าเราสามารถสร้างพื้นที่นี้ขึ้นมาเราจะสามารถช่วยประเทศชาติ และทำให้เขา Scale ได้ด้วย โดยการขายบริการของเขาให้แก่ประชาชนผ่านภาครัฐ”

มองว่ากระทรวงอะไรที่จะเกิดเรื่องนี้เร็วที่สุด

2 กระทรวงแรกคือกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข สาเหตุเพราะว่าปัญหาของเขาเยอะ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการศึกษาหรือการเข้าถึงการให้บริการของโรงพยาบาลอย่างเท่าเทียม อย่างตอนนี้มีการจัด Hackathon  ก็มีการลองทำเรื่องนี้ก่อน 

“ซึ่งนี่คือโอกาสที่ Startup จะได้นำเสนอความคิดแก่ฝ่ายการเมือง จึงได้บอกกับพวกเขาว่าอย่ารังเกียจการเมือง GovTech จะเกิดขึ้นได้นั้น รัฐและเอกชนหรือ Startup ต้องไว้เนื้อเชื่อใจกัน”

โดยหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ทุกกระทรวงทำงานแค่ในส่วนของตัวเอง ระบบไม่ Integrate ตัวอย่างเช่นในการจัดซื้อของแต่ละกระทรวงในประเทศไทยจัดซื้อกันเองมีมูลค่ามหาศาล DATA อยู่ในมือรัฐเป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้  ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์คือ การประหยัดงบประมาณ ที่ต้องบูรณาการหน่วยงานรัฐ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก 

ยกตัวอย่างเมื่อ 10 ปีทีแล้วเราพยายามแก้ปัญหาบางประเภทที่มันแก้ไม่ได้ ที่มันมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐมากกว่า  1 หน่วยงานที่เค้าไม่ยอมคุยกัน เลยออกมติครม. ออกมาให้เค้าเข้าไปอยู่ในห้องเดียวกัน ให้เวลาสองเดือน ให้คุยกันรู้เรื่องแก้ปัญหานี้ให้ได้ ไม่ต้องทำงานอื่น ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งนั่นเป็นยุคอนาล็อก แต่ในยุคสมัยปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้ Startup เข้ามาช่วยนำเสนอซึ่งจะมาเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง

ยกตัวอย่าง Case Study จากต่างประเทศ

ในประเทศอังกฤษ และนิวซีแลนด์ มีหน่วยงาน GovTech ที่ให้เอกชนเข้าบริหาร  ที่กรมสรรพกรหรือตรวจคนเข้าเมืองของเขายังต้องกรอกข้อมูลอยู่ ซึ่งข้อมูลมีเยอะมาก เลยมีการตั้งโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ลดภาระของผู้โดยสาร กรมสรรพกร ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการคืนภาษี ซึ่งก็ทำให้เกิดการ Pitch โดยมีผู้นำเสนอมามากกว่า 300 กว่าราย ซึ่งผู้ชนะก็ได้เข้าไปร่วมงานกับภาครัฐและนำบริการไปใช้

ซึ่งในกรณีของเราควรตั้งหน่วยงานที่จะเสนอปรับแก้กฎหมายที่ยังล้าสมัย และคอยปรับกฎหมายให้เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยี ยกตัวอย่างล่าสุด กรมขนส่งทางบกให้โหลดแอปพลิเคชันใบขับขี่ แต่วันเดียวกันกลับต้องยังโชว์ใบขับขี่อยู่ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนว่าหน่วยงานที่พัฒนาและตัวกฏหมายต้องเป็นไปในทางเดียวกัน 

บทบาทของภาครัฐกับคน Gen X Gen Y โดยเฉพาะกับการเลือกตั้งครั้งนี้

ในเวลานี้เรียกได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ท้าทายมาก จะมีผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกมากที่สุดประมาณ 8 ล้านคน  ชุดความคิดของคนรุ่นใหม่ ความขัดแย้งต่างๆ ไม่ใช่ประเด็นหลักสำหรับพวกเขา ปัญหาในตอนนี้ที่คนรุ่นใหม่มอง อาจจะเป็นเรื่องฝุ่น หรือ จบแล้วจะไม่ตกงาน ซึ่งนักการเมืองก็จะต้องมาปรับความคิด ใครปรับไม่ได้ก็จะแพ้ เพราะไม่สามารถเข้าถึงความต้องการของคนรุ่นใหม่ได้ ซึ่งประเด็นการเลือกตั้งครั้งนี้อยู่ในช่วงจังหวะสภาพเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างมาก โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรากหญ้า ดังนั้นก็จะต้องมีประเด็นปัญหาเรื่องปากท้องหรือยาเสพติดเข้าไปด้วยเป็นหลัก แต่ว่าวิธีการเข้าถึงประชาชนก็เปลี่ยนไปด้วย เพราะคนไทยทุกคนส่วนใหญ่อยู่บนหน้าจอโทรศัพท์ พรรคการเมืองทุกพรรคต้องเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีเข้าถึงนักการเมืองไปด้วย เพราะวิธีการรับฟังข้อมูลของประชาชนเปลี่ยนไป เพื่อให้เข้าสู่ยุคสมัย

ในยุคนี้เป็นยุคแรกที่มี Social Enterprise หรือธุรกิจเพื่อสังคม และเป็นยุคแรกที่มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานเพื่อสังคม คนรุ่นก็อยากทำงานเพื่อสังคม นั้นทางเลือกคุณมีมากกว่า คุณสามารถผลักดันสังคม ในการนำเสนอผลงานนำเสนอความคิดผ่านรัฐบาลในการช่วยประชาชน แต่รัฐต้องเปลี่ยนแปลงในการสร้างพื้นที่แก่คนเหล่านั้น บทบาทของรัฐจะเปลี่ยนไปที่จะชับเคลื่อนการเมืองในภาครัฐและราชการ ต้องเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาระบบ ลดอำนาจของรัฐส่วนกลาง ซึ่ง GovTech ก็เป็นส่วนหนึ่งในที่เกี่ยวข้องที่จะมาช่วย

อนาคตของรัฐบาลต้องเป็นอย่างไร

ในยุคปัจจุบัน มันเป็นยุคแรกของการมี Social Enterprise หรือธุรกิจเพื่อสังคม  และเป็นยุคแรกที่มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานเพื่อสังคม  ผมจึงอยากจะสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ว่า ถ้าคุณมีจิตสาธารณะ ทางเลือกคุณมีมากขึ้น และบางทีคุณอาจช่วยได้มากกว่า ในการผลักดันเรื่องที่คุณมี Passion จริงๆ และหน้าที่ของพวกผม หรือคนที่อยู่ในฝั่งการเมืองอยู่แล้ว คือการเปิดพื้นที่ เปิดโอกาส เปิดแนวความคิดของคุณให้กับภาคราชการในการนำไปใช้และบริการประชาชน

ด้านรัฐต้องเปลี่ยนแน่นอน ต้องเปิดพื้นที่ให้ ปัจจุบันเรายังมีเรื่องของ Grab ที่ยังไม่ถูกกฏหมาย รัฐยังคิดในชุดความคิดแบบเดิม รัฐยังปรับชุดความคิดของตัวเองให้ทัน ดังนั้นบทบาทรัฐต้องเปลี่ยน และรัฐต้องอาศัยการขับเคลื่อนทางการเมือง ที่จะนำไปสู่วิธีคิดวิธีการทำงานโดยเฉพาะในส่วนของภาคราชการ


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...