ทำความรู้จัก 5 ทีม Startup แก้ปัญหาสังคม จาก dtac accelerate batch 7  | Techsauce

ทำความรู้จัก 5 ทีม Startup แก้ปัญหาสังคม จาก dtac accelerate batch 7 

dtac accelerate โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพเดินทางมาถึงปีที่ 7 ด้วยความเข้มข้นกว่าเดิม สมกับความยิ่งใหญ่ในฐานะ The Best Demo Day in Asia โดยในปีนี้มีผู้สมัครมากถึง 500 ทีม คัดเหลือ 14 ทีม ผ่านเข้ารอบ Boothcamp และได้รับโอกาส pitching ต่อนักลงทุนในวัน Demo Day ที่ผ่านมา โดยในปีนี้ได้มีเทรนด์ของ Startup มุ่งแก้ปัญหาสังคมที่จะช่วยร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่ Digital Economy ในบทความนี้เราได้รวบรวม 5 ทีมที่น่าสนใจมาให้ได้ทำความรู้จักกัน

1. Fingas ปฏิวัติการเข้าถึงบริการทางการเงินของร้านขายอาหารริมทาง

ปัญหาหรือ pain point ที่ผู้ใช้แก๊สหุงต้มมักเผชิญคือ “ความยุ่งยาก” ในการสั่งที่ผ่านร้านค้าคนกลางที่มีจำนวนราว 30,000 ร้านทั่วประเทศเป็นคนกลาง ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเบอร์ร้านแก๊สใกล้บ้าน โทรสั่ง บอกตำแหน่งในการจัดส่ง การนัดหมาย ยิ่งถ้าคนเมืองยุคใหม่ที่ออกจากบ้านตั้งแต่เช้ามืดและกลับถึงบ้านเมื่อแสงอาทิตย์ลับไปแล้ว ยิ่งทำให้การสั่งแก๊สมีความยุ่งยากเข้าไปใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้น customer journey ของการสั่งแก๊สก็เป็นเช่นนี้มากว่า 50 ปี

FinGas เป็น marketplace แอปพลิเคชันที่เข้ามาแก้ painpoint ของผู้ใช้แก๊สหุงต้มให้มีความสะดวกขึ้น นอกจากนี้ FinGas ยังทำหน้าที่ที่มากกว่าการเป็น marketplace ด้วยการใช้ “ข้อมูล” ที่ได้จากการใช้บริการในการเป็นข้อมูลในการขอสินเชื่อแก่ร้านค้าประเภท street food นอกจากนั้นยังทำให้กลุ่ม unbanked สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ต้นทุนในการขยายธุรกิจต่ำลง ซึ่งจะเข้ามาตอบโจทย์ในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ หรือ Financial Inclusion ทั้งนี้ นโยบายของธนาคารประเทศไทยต่อการสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินก็เอื้อแก่กลุ่ม unbanked มากขึ้น โดยภาพรวมแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 3 ของ ธปท. ซึ่งส่งเสริมให้มีการใช้ เทคโนโลยีประกอบการพิจารณาสินเชื่อ (Information based lending) เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าถึง บริการทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง FinGas จะเข้ามาตอบโจทย์ในแง่ของการนำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นส่วนหนึ่งของการยื่นขอสินเชื่อในระบบมากยิ่งขึ้น

FinGas ทำให้ customer journey ของการสั่งแก๊สง่ายขึ้น ซึ่งสามารถใช้บริการได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน FinGas หรือ Line@ โดยแจ้งจำนวนที่ต้องการ เวลานัดหมาย โดย FinGas จะใช้อัลกอริธึ่มในการหาร้านขายแก๊สที่ใกล้ที่สุด ซึ่งในกรณีของผู้ประกอบการอาหารไม่จำเป็นต้องตุนแก๊สเก็บไว้ที่ร้านของตัวเอง ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติภัยขึ้นได้อีก 

ปัจจุบัน FinGas ได้มีการทดลองตลาดไปแล้วในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งมีแทรฟฟิคของการดาวน์โหลดถึง 5,700 ครั้ง มียอดการสั่งกว่า 1,800 รายการ ส่งไปแล้วกว่า 2,500 ถัง สร้างรายได้แล้วกว่า 1 ล้านบาทจากการเก็บค่า transaction fee 5% ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่มีขนาดของตลาดเล็กกว่ากรุงเทพฯ ถึง 8 เท่า 

2. Arincare เชื่อมเครือข่ายร้านขายยาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ตลาดยาของประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 170,000 ล้านบาทต่อปี ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรองเพียงแค่อินโดนีเซีย แต่ปัญหายาแพง ความแออัดของผู้ป่วย และเสียเวลารอรับยา ในโรงพยาบาล ยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของคนไทยที่เป็นมานานและยังหาทางออกไม่เจอ อีกทั้งร้านขายยาในประเทศไทยมีมากกว่า 24,000 ร้าน กระจายอยู่ทุกตำบล นับเป็นจำนวนเกือบ 2 เท่าของ 7/11 แต่ที่ผ่านมาแทบไม่เคยมีการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลและร้านขายยาในการดูแลคนไข้

ปัญหาใหญ่ที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการแก้ไขเป็นวาระเร่งด่วนคือความแออัดในโรงพยาบาล ปัญหาการรอนานเพื่อรับยาของผู้ป่วย และปัญหายาแพงในโรงพยาบาลเอกชน

จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยบางรายใช้เวลานานตั้งแต่ 60 - 154 นาทีในการรอรับยาที่โรงพยาบาลหลังจากพบแพทย์ ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงมีโครงการรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้าน เพื่อให้คนไข้ที่ต้องรับยาสามารถกลับบ้านได้เลยหลังการรักษา หรือรับ refill ยาได้จากร้านขายยาใกล้บ้านไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล โดยมีกำหนดการให้บริการทั่วประเทศภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 นี้

Arincare ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการทำระบบใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการประชาชนรับยาได้ที่ร้านยาใกล้บ้านได้อย่างปลอดภัยเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยได้เริ่มดำเนินการแล้วในจังหวัดนำร่องคือปราจีนบุรี และระยอง และจะขยายผลทั่งประเทศภายในสิ้นปี 2562 ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาราคายาแพง และความแออัดในโรงพยาบาลได้อย่างยั่งยืน

3. ViaBus พัฒนาเวลาคุณภาพช่วยลดเวลารอคอยขนส่งสาธารณะ

คนกรุงเทพฯใช้เวลาในการเดินทางนานขึ้น 35 นาที/การเดินทาง คำนวณเป็นค่าเสียโอกาสทางด้านเวลา ที่ติดอยู่บนถนน คิดเป็นมูลค่า 11,000 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ย 60 ล้านบาทต่อวัน Via Bus พัฒนาเวลาคุณภาพช่วยลดเวลารอคอยขนส่งสาธารณะกว่า 5,200 ล้านนาที คิดเป็นมูลค่าเชิงเศรษฐกิจกว่า 3,300 ล้านบาท

โดย ViaBus เป็นแพลตฟอร์มในการเชื่อมโยงระบบโดยสารสาธารณะผ่านเวียบัสแอปพลิเคชันที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยครอบคลุมกว่า 20 จังหวัดนอกจากกรุงเทพและปริมณฑล มีผู้ใช้งานกว่าหนึงล้านคน ช่วยให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเข้าถึงและตัดสินใจเดินทางระบบโดยสารสาธารณะได้สะดวกขึ้น รองรับการเชื่อมต่อการเดินทางหลากหลายระบบ (Seamless Multimodal Transportation) เช่น รถเมล์ BTS MRT เรือโดยสาร รถมินิบัส สองแถว รถร่วมบขส รถข้ามอำเภอ รถข้ามจังหวัด ทำให้ผู้โดยสารบริหารเวลาและวางแผนได้ง่าย ส่งผลให้ประหยัดรายจ่ายและลดเวลาเดินทางโดยรวม นอกจากระบบขนส่งสาธารณะ ViaBus ยังให้บริการกับระบบโดยสารขององค์กรธุรกิจ ร้านค้า คอนโด หมู่บ้าน หรืออุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งผู้ประกอบการด้านรถโดยสารที่ต้องการเป็นผู้นำสร้างความแตกต่างด้านบริการอีกด้วย

4. System Stone ยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่ยุค Digital Workforces

ประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวมทุกเซคเตอร์ใหญ่เป็นอันดับ 19 ของโลก อันดับ 2 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเชียมีดัชนีความน่าดึงดูในการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากมาเลเซียมีจำนวนโรงงานมากกว่า 140,000 โรงงาน รวมเงินลงทุน 7 ล้านล้านบาท มีการจ้างงานกว่า 4 ล้านตำแหน่ง แต่ปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย มากกว่า 90% ยังคงมีการใช้กระดาษในการจดบันทึก เก็บรักษาข้อมูล

หัวใจของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลกคือเครื่องจักร กระบวนการดูแลรักษาเครื่องจักรเหล่านี้จึงมีความสำคัญและใช้ต้นทุนที่สูงมาก ซิสเต็มส์สโตน (System Stone) Startup ที่พัฒนาเทคโนโลยีสุดล้ำสมัย ที่จะปฏิวัติรูปแบบการเฝ้าดูแลเครื่องจักรไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยีด้าน Mobile App, Industrial IoT และ AI ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่วิศวกร และช่วยคาดการณ์การเสื่อมสภาพของเครื่องจักรเพื่อการตอบสนองได้อย่างแม่นยำ

การพัฒนา Mobile Application Platform จะถูกออกแบบให้เข้าไปช่วยสนับสนุนให้วิศวกรและผู้ปฏิบัติงานในโรงงานสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวขึ้น เสริมศักยภาพในการทำงาน ยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่ยุค Digital Workforces ได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดทั้งต้นทุนและเวลา และเมื่อเราสามารถอัพเกรดภาคอุตสาหกรรมไปสู่ Digital Factory ได้แล้ว การเชื่อมโยงและสร้าง Ecosystem ร่วมกันก็สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งนั่นจะเป็นเป้าหมายหลักในการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่ยุค 4.0

5. Skooldio ลด Skill Gap ช่องว่างความสามารถคนทำงาน

คนไทยจะตกงานอีก 5 ล้านคนใน 10 ปีข้างหน้า จากการใช้ AI และ Automation  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอันรวดเร็วทำให้การศึกษาไม่อาจสิ้นสุดอยู่แค่ในมหาวิทยาลัย Skooldio เชื่อในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยบทเรียนผ่านห้องเรียนจริงและห้องเรียนออนไลน์ ช่วยให้ทุกคนมีความเชี่ยวชาญในทักษะสมัยใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงสุดในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรม วิทยาศาสตร์ข้อมูล กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือการทำธุรกิจดิจิทัล และช่วยองค์กรต่างๆ สร้างทีมงานที่มีความพร้อมที่จะนำองค์กรไปสู่ความเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจของตน บทเรียนครอบคลุม  hard skill ที่ตลาดแรงงาน IT ในปัจจุบันต้องการ แต่สถาบันการศึกษายังผลิตได้ไม่ตรงกับความต้องการอย่าง ทักษะด้าน Cloud Computing, ทักษะด้านการใช้งานปัญญาประดิษฐ์, ทักษะด้านการจัดการทีม (People Management), ทักษะด้านการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX Design), ทักษะด้านการออกแบบแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

สำหรับทีมที่คว้ารางวัลใน batch นี้ มีทีมไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ใน บทสรุป dtac accelerate Batch 7 กับ Demo Day ที่ร้อนแรงที่สุดในเอเชีย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...