ผลการศึกษาชี้ 'คุณภาพอากาศ' เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อ 'ความสุขของประชาชน'

ผลการศึกษาชี้ 'คุณภาพอากาศ' เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อ 'ความสุขของประชาชน'

ทุกวันนี้นอกจากจะต้องเช็คคุณภาพอากาศแล้ว อาจจะต้องเช็คความสุขของตัวเองด้วย โดยล่าสุด World Economic Forum ได้เผยผลการศึกษาจากทั่วโลก พบว่า ระดับคุณภาพอากาศอาจส่งผลต่อระดับความสุขด้วยเช่นกัน

ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้วว่า GDP นั้นไม่ได้เป็นตัววัดคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี การพัฒนาทางเศรษฐกิจ อาจไม่ได้มาพร้อมกับความสุขที่มากขึ้นของประชาชน

อาจจะได้เห็นตัวอย่างกันแล้วในหลายประเทศ ยิ่งมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าไร ทั้งสิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียวกลับถูกคุกคาม และส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชนอย่างเรา ๆ อย่างการจะไปเดินเล่นสูดฝุ่น PM 2.5 หรือวิ่งในสวนสาธารณะ ก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าดึงดูดอีกต่อไป

ผลกระทบจากคุณภาพอากาศที่เลวร้ายนั้นส่งผลทั้งต่อสุขภาพ ประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการทำงาน อีกทั้งมันยังส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตของทารก และระบบทางเดินหายใจ การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในแต่ละปี ได้มีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศกว่า 7 ล้านคน

แม้จะเห็นตามข่าวว่ามีผู้เสียชีวิต มีอาการป่วย หรือแพ้อากาศมากขึ้น การอ้างว่ามีสาเหตุมาจากคุณภาพอากาศที่เลวร้าย ก็อาจจะเป็นการกล่าวถึงต้นทุนสวัสดิการที่แท้จริงน้อยไปหน่อย แต่นี่ก็เป็นหลักฐานชัดเจนที่เราได้รับผลกระทบโดยตรง ว่าคุณภาพอากาศที่แย่ลงทุกวันนั้น ส่งผลกับสุขภาพจิต และความสุขของเราจริง ๆ

ภาพจาก WHO

ตัวอย่างผลการศึกษาจากทั่วโลก

หนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากประเทศเยอรมนี ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 30,0000 คน โดยได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อลดการปล่อยมลพิษในโรงไฟฟ้า ในบริเวณจุดที่กลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ พบว่าภายหลังจากที่ได้มีการติดตั้ง ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใต้ลมมีระดับความสุขเพิ่มขึ้น ต่างจากผู้ที่อยู่เหนือลมที่ความสุขไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง แม้การเปรียบเทียบและการทดลองนี้ จะดูไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมเท่าไร แต่มันก็ช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ว่า คุณภาพอากาศมีผลต่อระดับความสุข เช่นเดียวกับปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อระดับความสุขเช่นกัน

อีกตัวอย่างจากประเทศจีน นักวิจัยได้ทำการศึกษากลุ่มผู้ใช้ Sina Weibo (Twitter ของจีน) ใน 144 เมือง โดยได้ทำการติดตามดูข้อความของกลุ่มตัวอย่างออนไลน์ ว่าได้แสดงให้เห็นถึงระดับความสุขที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง จากระดับคุณภาพที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละวันอย่างไร ซึ่งก็พบว่า ระดับความสุขของประชาชนได้ลดลงในวันที่ระดับมิลพิษมีค่าสูง

การพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชนนั้น แน่นอนว่าควรจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญของนโยบายสาธารณะ แต่ปัจจุบันยังเห็นได้ชัดว่าส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญที่ความเป็นอยู่ที่ดีในด้านวัตถุอยู่ แม้จะมีหลายคนออกมาแสดงความเห็นว่าเราควรจะใส่ใจในความคิด และความรู้สึกของประชาชนว่าพวกเขามีความคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตอย่างไร บางทีการนำเรื่อง 'ความสุขของประชาชน' เข้าไปเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้มั่นใจว่า ทุกคนได้ให้ความใส่ใจในเรื่องมลพิษทางอากาศจริง ๆ  เช่นนี้ คุณภาพชีวิตของเราก็น่าจะดีขึ้นตามไปด้วย

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...