สัมภาษณ์พิเศษ 'AirPay' กับแผนรุกตลาดด้วย QR code | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ 'AirPay' กับแผนรุกตลาดด้วย QR code

'Cashless Society' หรือ 'สังคมไร้เงินสด' ประโยคนี้กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้ Standard QR Code ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากหลายธนาคารจะเร่งดำเนินการเตรียมเปิดใช้งาน QR Code ในช่วงปลายปีแล้ว ฝั่งผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคารอย่าง AirPay ก็เตรียมพร้อมเพิ่มบริการที่เป็น QR Code เช่นกัน ซึ่งทีม Techsauce ก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณศุภวิทย์ หงส์อมรสิน ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ถึงทิศทางและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ QR Code ที่ AirPay กำลังดำเนินการอยู่ แต่ก่อนอื่นขอย้อน Timeline ของ AirPay กันสักนิด

จากแอปเติมเงินของชาวเกมเมอร์สู่ Liftstyle Payment Application

AirPay หนึ่งในธุรกิจของ Sea Limited บริษัท Startup ยูนิคอร์นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เริ่มต้นบุกตลาดสาย Payment เมื่อปลายปี 2014 เป็นผู้ให้บริการชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านช่องทางดิจิทัล (e-Payment) ที่ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงการบริการได้อย่างรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม เริ่มต้นด้วยการตอบโจทย์ให้กับกลุ่มผู้ใช้ของ Garena โดยมีบริการการเติมเงินเกมออนไลน์เป็นอย่างแรก  หลังจากนั้นก็เริ่มศึกษาพฤติกรรมการชำระเงินของผู้บริโภค พบว่ายังมีความต้องการในด้านการใช้จ่ายในส่วนของ Lifestyle  จึงมีการขยายบริการเพิ่มขึ้นอีก อาทิ จ่ายบิลค่าสาธารณูปโภค โอนเงิน เติมเงินค่าโทรศัพท์ ซื้อตั๋วหนัง สั่งพิซซ่า ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ เพื่อเข้าถึง financial service ได้ง่ายขึ้น

ต่อยอดด้วยบริการเสริม AirPay Card

อีกหนึ่งบริการที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปีที่แล้วก็คือ AirPay Card  หรือ Virtual Credit Card เป็นอีกหนึ่งโมเดล FinTech ที่มีมาแล้วในต่างประเทศ ซึ่งก็หมายถึง ‘บัตรเครดิตเสมือนจริง’ คือสมัครได้ง่ายๆ ทางออนไลน์ และใช้ได้ผ่านแอปพลิเคชัน มีรหัสต่างๆ ครบตามองค์ประกอบของบัตรเครดิต ซึ่งทำให้สามารถใช้จ่ายออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต่างกับผู้ที่ถือบัตรเครดิตจริงๆ โดย AirPay Card จะถูกเก็บไว้บนแอปพลิเคชัน AirPay ซึ่งกลุ่มผู้ใช้ที่อายุ 18-24 ปี มักจะยังไม่มีบัตรพลาสติกใช้กัน ดังนั้นตรงนี้จึงช่วยตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ที่ยังไม่มีบัตรเครดิตและเดบิตได้อย่างทั่วถึง

ก้าวต่อไปคือ QR Code

คุณศุภวิทย์ได้ให้ความเห็นต่อการประกาศใช้มาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงินอย่างเป็นทางการว่า เทคโนโลยีนี้จะช่วยผลักดันทุกภาคอุตสาหกรรม  เพราะไม่ใช่แค่ธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเท่านั้น ไม่ว่าธุรกิจไหนหรือผู้ใช้ของแอปฯไหนก็สามารถเข้าถึงได้หมด “คือผมมองว่ามันเป็น win-win ทั้งอุตสาหกรรมเลย อย่าง AirPay อาจจะไปติดตามร้าน Internet Café  ที่ติดตั้งเคาน์เตอร์ AirPay  ผู้ใช้ของธนาคารอื่นๆ อาจมาสแกนก็ได้ หรือถ้าร้านสะดวกซื้อติด QR Code ผู้ใช้แอปฯเราก็ไปสแกนได้เช่นกัน ในแง่ของผู้ใช้งานเองก็ได้รับความสะดวกสบายและปลอดภัยจากการลดการถือเงินสด นอกจากนี้ในมุมของผู้ประกอบการ QR Code ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเพราะมีต้นทุนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับเครื่อง EDC ยังไม่รวมเรื่องค่าธรรมเนียมที่อย่างไรก็ถูกกว่าการรับจ่ายด้วยบัตรเครดิต ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเหมือนการผลักดัน e-Payment ทั่วประเทศ”

AirPay จะเริ่ม QR Code เมื่อไร ?

“ตอนนี้เราอยู่ในขั้นตอนที่กำลังคุยกับธนาคารก็คิดว่าน่าจะเริ่มได้ภายในปลายปีนี้ เราอาจจะเริ่มช้ากว่าบางราย เพราะว่าเราก็ต้องการดูสถานการณ์ให้รอบคอบก่อน คือแน่นอนว่า First mover ก็มีข้อได้เปรียบ แต่ว่า Last mover ก็มีข้อได้เปรียบ ด้วยเช่นกัน”

เมื่อถามถึงข้อดีของการมาจอง QR Code คุณศุภวิทย์ ก็ได้ให้ความเห็นในสองมุม

ระยะยาว : การผลักดันในเรื่อง Cashless Society จะช่วยลดต้นทุน ทั้งเรื่องของการจ้างรถขนเงิน จ้างพนักงาน ลดต้นทุนทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ และเมื่อเราก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัว การทำธุรกรรมต่างๆก็จะง่ายขึ้น เงินก็หมุนเวียนได้เยอะขึ้น ร้านค้าก็จะสามารถดูข้อมูลต่างๆได้อย่างสะดวกและแม่นยำ

ระยะสั้น : คุณศุภวิทย์ ให้ความเห็นว่า “ผมคิดว่ามันมีความท้าทายในด้านของตัว Adoption คือ แน่นอนว่าเมื่อมี QR Code ออกมาคนก็คิดว่ามันดี มันน่าใช้ แต่ว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้หรือไม่ก็เป็นสิ่งที่ต้องคอยติดตามดูกันต่อไป ซึ่งอันนี้ผมมองว่าให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยนำร่องผลักดันดูก่อน และดูว่าเสียงตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างไรบ้าง หรือมีอะไรต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมไหม ซึ่งหากมีเสียงตอบรับหรือความคิดเห็นและต้องมีการปรับปรุงอย่างไร เราก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการปรับตาม คงต้องรอดูไปสักระยะเหมือนกับก่อนหน้านี้ที่บัตรเครดิตออกมาใหม่ๆ คนก็ยังไม่กล้านำไปใช้ออนไลน์ ซึ่งผมว่ามันคล้ายๆกัน เพียงแค่เปลี่ยนจากบัตรพลาสติกมาเป็น QR Code หรือว่าพร้อมเพย์”

ความท้าทายคือจะผลักดันคนต่างจังหวัดให้ใช้ได้ยังไง?

“ในแง่ของอัตราการใช้สมาร์ทโฟนและ Infrastructure ต่างๆ เช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต  ตามต่างจังหวัดถือว่าค่อนข้างพร้อมในระดับหนึ่งแล้ว แต่สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือ ประชาชนยังขาดความเข้าใจและเชื่อมั่นต่อการใช้เงินผ่านช่องทางดิจิทัล ซึ่งตรงนี้คิดว่าต้องมีการกระตุ้นการรับรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสิ่งสำคัญคือนโยบายจากภาครัฐที่ต้องตรงจุด ชัดเจนและต่อเนื่อง บวกกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ได้ตรงใจจริงๆและมีประโยชน์หรือโปรโมชั่นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาช่วยเสริม ก็จะสามารถกระตุ้นให้คนต่างจังหวัดมีการใช้งานเพิ่มยิ่งขึ้น”

คิดว่าคนไทยพร้อมแล้วหรือยัง?

“แม้ว่าจะเราจะมีการนำร่องดำเนินการตามแผน National e-Payment ซึ่งช่วยสร้างการรับรู้ในระดับประเทศ รวมถึงความพร้อมในแง่ของความครอบคลุมของเครือข่ายและการเข้าถึงสมาร์ทโฟนแล้ว แต่คนไทยยังติดการใช้เงินสด เนื่องด้วยการขาดการรับรู้ถึงประโยชน์และความเชื่อมั่นของการใช้เงินดิจิทัล  ส่วนตัวคิดว่าทุกฝ่ายต้องช่วยกันผลักดัน ผ่านทั้งสื่อการให้ความรู้แก่ประชาชน และ การสร้างระบบความปลอดภัยที่ทำให้ประชาชนรู้สึกมั่นใจกับการใช้งานได้ เมื่อมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ของ QR Code ที่จะนำเราไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดแล้ว การจะผลักดันไปสู่การใช้งานจริงก็จะง่ายดายมากยิ่งขึ้น”

แล้ว QR Code ของ AirPay จะมีจุดเด่นอะไรบ้าง?

คุณศุภวิทย์มองว่า ในอนาคต QR Code จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนทุกเพศทุกวัย แต่ปัจจัยสิ่งที่ผู้ใช้จะเลือกว่าจะใช้แอปพลิเคชันไหน หรือบริการของอะไร นั้นขึ้นอยู่กับ User experience, design กับบริการด้านอื่นๆ โดย AirPay จะเน้นไปทางด้าน Lifestyle โดยมองว่าต่อไปจะสร้างบริการให้ครอบคลุมไปทางด้าน Online ยกตัวอย่างเช่น การจองตั๋วเครื่องบิน ก็อาจมีบริการด้านการประกันให้เลือกเพิ่มเติมด้วย เป็นต้น คือทำให้เป็น Full Service ไปเลย ซึ่งในอนาคตก็จะมี Partner รายอื่นเข้ามาร่วมด้วย ให้ครบจบในแอปฯ เดียว  ทำให้ผู้ใช้จะทำอะไรก็นึกถึง AirPay

“ทาง AirPay เองเรามองว่าจุดแข็งของเราคือ ตลาดออนไลน์ แนวโน้มต่อจากนี้เราคงโฟกัสไปที่ออนไลน์ก่อน เพราะเราก็มีแผนที่จะมี Feature รวมถึงบริการใหม่ๆ ในฝั่งออนไลน์ Payment คือสามารถต่อยอดไปได้เลย”

คุณศุภวิทย์ทิ้งท้ายถึงการมาของ QR Code ว่า “ผมคิดว่าเป็นสัญญาณที่ดีเลย เพราะในไทย อัตราการใช้ e-Payment อยู่ที่ 25% ของทั้งหมด แต่ถ้ามี QR Code เพิ่มขึ้นมา มันก็จะช่วยผลักดันตัว e-Payment มากขึ้น ทำให้เปอร์เซ็นการเติบโตของ e-Payment สูงขึ้นตามไปด้วย  อีกไม่นานนี้เราคงได้เห็นการเติบโตและการก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน”

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...