ไม่ได้มีแค่ Fintech... มาดูสตาร์ทอัพสาย Blockchain ในวงการ Healthcare กัน | Techsauce

ไม่ได้มีแค่ Fintech... มาดูสตาร์ทอัพสาย Blockchain ในวงการ Healthcare กัน

เมื่อพูดถึง Blockchain นาทีนี้ หลายๆ คนคงนึกถึง Bitcoin หรือการนำไปใช้ในสาย Fintech เป็นอันดับแรกๆ แต่เราคงไม่เคยได้ยินว่ามีสตาร์ทอัพสาย Healthcare ที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ด้วยเช่นกัน โดยการประยุกต์ใช้ก็มีหลากหลาย ตั้งแต่การติดตามยาของผู้ป่วยไปจนถึงการเก็บข้อมูลการรักษาของคนไข้ เป็นต้น นี่อาจจะถึงเวลาแล้วที่ Blockchain จะช่วยเข้ามาพัฒนาวงการนี้ให้เข้าสู่ยุคใหม่ ทำให้นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพจะได้รับเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นไปอีก มาดูบริการต่างๆ จากสตาร์ทอัพ Blockchain Healthcare กันเลย

Gem แพลตฟอร์มเครือข่ายด้านการแพทย์และยาบน Blockchain

สตาร์ทอัพเจ้าแเรกที่จะพูดถึง มีชื่อว่า Gem บริษัทนี้เปิดตัว Gem Health ออกมาในปี 2016 ที่ผ่านมา เป็นแพลตฟอร์มบน Blockchain สำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะสร้างเครือข่าย Community ด้านการแพทย์และยารักษาโรคขึ้นมา เพราะบริษัทนี้เชื่อว่าเทคโนโลยี Blockchain จะเป็นปัจจัยพื้นฐานอันทันสมัยที่จะช่วยเพิ่มช่องทางใหม่ๆ ให้คนเชื่อมต่อกันได้ และยังสามารถรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยไปพร้อมกันด้วย

bc-gem

ภาพแสดงการใช้งานของ Gem Health จากเว็บไซต์ Gem

พารท์เนอร์เจ้าแรกก็ไม่ใช่ใครอื่น “Philips Blockchain Lab” ศูนย์วิจัยเทคโนโลยี Blockchain ด้านการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะของบริษัทยักษ์ใหญ่ Philips นั่นเอง มีการศึกษาทั้งเรื่องการวิจัยทางคลินิก (Clinic Trials), Supply chain ของยารักษาโรค, ศึกษาด้านพันธุวิศวกรรม เช่น การจัดการข้อมูลจีโนมิกส์และอื่นๆ

บริษัทนี้เซ็นสัญญากับสำนักงาน e-Health ของประเทศเอสโตเนีย สร้างระบบเครือข่ายที่คนไข้ ผู้ให้บริการ บริษัทเอกชนต่างๆ และภาครัฐจะสามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษาของคนไข้ในประเทศได้อย่างปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี Blockchain หากมีการอัปเดตข้อมูลหรือมีการเข้าถึงข้อมูลการรักษาใดๆ ก็ตาม ทุกอย่างจะถูกบันทึกไว้บน Blockchain ทำให้รัฐบาลหรือหมอไม่สามารถปกปิดหรือเปลี่ยนแปลงประวัติคนไข้โดยไม่ได้รับอนุญาตได้เลย

Brontech สร้างความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลคนไข้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

บริษัท Cyph MD ในประเทศออสเตรเลียเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลทั่วไป เมื่อผู้ป่วยมักต้องต่อคิวยาวๆ เพื่อกรอกข้อมูลต่างๆ หรือเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ต้องคอยเช็คแฟ้มประวัติคนไข้ให้ถูกต้องครบถ้วน รวมถึงหมอที่ยังใช้ช่องทางเก่าๆ อย่างการโทรศัพท์ไปขอข้อมูลผู้ป่วยซึ่งแม้จะเป็นช่องทางที่ไม่ปลอดภัยแต่ผู้ป่วยก็ต้องยอม ดังนั้นบริษัทนี้จึงสร้าง Brontech แพลตฟอร์มบน Blockchain ที่ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามหน่วยงานและแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้ เพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการนำข้อมูลมาวินิจฉัยและรักษาโรค และยังวางแผนจะใช้ระบบ Smart Contracts ของ Ethereum บน Blockchain อีกด้วย

bc-brontech

รูปภาพจากเว็บไซต์ Brontech

MedRec แพลตฟอร์มจัดการประวัติการรักษาด้วย Ethereum

ผู้สร้าง MedRec คือศิษย์เก่าที่จบจากสถาบัน MIT ผู้มีเป้าหมายที่ต้องการให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมข้อมูลของตัวเองได้ จึงสร้างแพลตฟอร์มจัดการประวัติการรักษาด้วย Ethereum บน Blockchain ขึ้นมาโดยผู้ป่วยสามารถเข้ามาดูข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลจากทุกโรงพยาบาลที่เคยไปรับการรักษามาได้ใน เหมือนกับคอนเซปต์ One-stop ของร้านค้าที่ร้านเดียวมีทุกอย่าง มีการรวบรวม Data pointers ด้วยระบบ Smart contracts ของ Ethereum นั่นเอง

PokitDok ซอฟต์แวร์แก้ปัญหาจากประสบการณ์ตรงในการพบแพทย์

PokitDok เกิดจาก CEO ที่เคยต้องค้นหาวิธีรักษาโรคกระดูกสันหลังของเธออยู่ถึง 6 เดือน ประสบการณ์ตรงของเธอทำให้เธอเห็นว่าการสื่อสารระหว่างเครือข่ายการแพทย์และระบบการรักษานั้นยังไม่ดีพอ เธอจึงสร้างซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยเพื่อเชื่อมต่อขั้นตอนทั้งหมด ตั้งแต่ยืนยันตัวตน  ทำ Marketplace เชื่อมต่อสถานรักษาพยาบาลกับผู้ป่วย จัดตารางพบแพทย์ ครอบคลุมไปถึงขั้นตอนการชำระเงิน

bc-potidok

รูปภาพการทำงานของ PokitDok

Blockchain Health Co. แชร์ข้อมูลด้านการแพทย์กับนักวิจัยอย่างปลอดภัย

สตาร์ทอัพใน San Francisco ที่ใช้ Blockchain เพื่อปฏิวัติความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยด้านการแพทย์กับคนไข้ ให้สามารถแชร์ข้อมูลให้กันได้อย่างปลอดภัย ทั้งตัวตนของคนไข้และการยินยอมต่างๆ ตามหลักการ Chain of Custody เพื่อให้เกิดความแน่นอนของผลการตรวจกับสิ่งส่งตรวจ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกบน Blockchain นั่นเอง

Factom เก็บข้อมูลคนไข้อย่างละเอียดในกรณีที่ต้องใช้เป็นหลักฐาน

Factom ทำสัญญากับ HealthNautica ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ข้อมูลสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริกา แล้วนำข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ตั้งแต่ค่ารักษาพยาบาลไปจนถึงข้อมูลการติดต่อระหว่างหมอกับคนไข้ มาบันทึกบน Blockchain เพื่อเก็บไว้ใช้หากต้องมีการเรียกร้องค่าเสียหาย หลังจากนั้นจะทำให้บริษัทประกันต่างๆ หันมาใช้เทคโนโลยีนี้ในการบันทึกข้อมูลเช่นกันเพื่อความถูกต้องในการตรวจสอบข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

Stratumn สร้างความโปร่งใสในวงการอุตสาหกรรมยา

สตาร์ทอัพในฝรั่งเศสก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการนำ Blockchain มาใช้ในการวิจัยทางคลินิกเพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล เพราะความโปร่งใสและเชื่อใจได้ ถือเป็นประเด็นหลักในอุตสาหกรรมยา เพราะความโปร่งใสและเชื่อใจได้ ถือเป็นประเด็นหลักในอุตสาหกรรมยา ซึ่งจากการศึกษาพบว่าด้วย Protocal แบบเดิม ไม่สามารถทำให้หาข้อมูลออกมาได้ตรงตามต้องการเท่าที่ควร 

Tierion หวังใช้ Blockchain บันทึกข้อมูลทุกประเภทเพื่อช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ

บริษัท Tierion ใช้ Blockchain สร้างแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ระดับโลก เพราะเล็งเห็นว่าในอนาคตจะสามารถนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ตรวจสอบข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่บันทึกทางการแพทย์ไปจนถึงการชำระเงินออนไลน์ โดยร่วมมือกับ Philips Healthcare เพื่อสร้างแอปพลิเคชันที่จะมาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพให้ดีขึ้น

Blockpharma ใช้ Blockchain ติดตามยารักษาโรค

สตาร์ทอัพในฝรั่งเศสที่คิดใช้ Blockchain ติดตามยารักษาโรค ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใน Supply chain สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและแจ้งเตือนเมื่อมีการปลอมแปลงยาอีกด้วย เมื่อมีข้อมูลและการพิสูจน์เอกสารต่างๆ ก็จะทำให้เราบอกได้ว่ายาแต่ละตัวมาจากโรงงานตามที่ระบุไว้จริงหรือไม่

blockxhain-healthcare-startup-feature

จะเห็นได้ว่าสตาร์ทอัพเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงกำลังค้นคว้าและทดลองการใช้งานของ Blockchain ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ในปัจจุบัน ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ยากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรรมนี้ให้ทันสมัย โดยเราจะเห็นว่าไม่ได้มีพัฒนาการมากว่า 10 ปีแล้ว

บริษัทยาก็กำลังมองว่าวิธีที่จะปรับปรุงการทำงานเพื่อมอบการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรที่จะทำให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามระบบด้านสุขภาพก็ถึงเวลาที่จะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง และสตาร์ทอัพเหล่านี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้

ที่มา: IntelligenceHQ

ความเห็นกองบรรณาธิการ

ก่อนหน้านี้เราเพิ่งยกตัวอย่างสตาร์ทอัพด้าน Healthcare อย่าง RingMD ไป เป็นหนึ่งในความพยายามในการเปลี่ยนแปลงวงการแพทย์และการดูแลสุขภาพ และในบทความนี้ ก็มีการนำเทคโนโลยี Blockchain ที่ว่ากันว่าจะเป็นเทคโนโลยี "ปฏิวัติวงการ" มาใช้สร้างความเปลี่ยนแปลงในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและพัฒนาการรักษาพยาบาลด้วย ซึ่งนอกจากตัวเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้ Blockchain ในการบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และสร้างความโปร่งใสให้กับข้อมูลต่างๆ ของคนไข้และการรักษาพยาบาลของแพทย์แล้ว เรายังต้องมองต่อไปอีกว่า จะทำอย่างไรให้พฤติกรรมของผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจนสอดคล้องกันกับเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ จนก่อให้เกิดระบบที่ดีขึ้น มีการใช้งานจริงในองค์กรต่างๆ และปฏิวัติเข้าสู่ Heathcare ยุคใหม่ในที่สุด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...