นวัตกรรมองค์กร : ทำไมการเปิดประตูสู่นวัตกรรมองค์กรจึงเป็นสถานการณ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย | Techsauce

นวัตกรรมองค์กร : ทำไมการเปิดประตูสู่นวัตกรรมองค์กรจึงเป็นสถานการณ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

สำหรับ Panel ด้านนวัตกรรมองค์กรในงาน Techsauce Global Summit 2017 เป็นวงเสวนาที่ผลัดกันแชร์ประสบการณ์และแสดงความคิดเห็นโดย  ดุสิต ชัยรัตน์ Corporate Venture Capital Fund Manager ของ AddVentures, Oko Davaasuren, Regional Director of Startup Programs, Techstars, ฐากร ปิยะพันธ์, Krungsri Consumer & Head of Digital Banking and Innovation, Bank of Ayudhaya PLC., แชมป์-ปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย Managing Partner, CREATIVE VENTURES โดยมี Susie A Ruff, CEO & FOUNDER, RUFF & CO เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

Susie A Ruff, CEO & FOUNDER, RUFF & CO

Susie A Ruff กล่าวเปิด Panel ด้วยคำถามที่ว่า อะไรคือแรงบันดาลใจของบริษัทของคุณในการเริ่มต้นนวัตกรรมองค์กร?

ดุสิต : การเดินทางของ SCG ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อกลางปีที่ผ่านมา จริงๆ แล้ว SCG เองเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงด้านการเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมและมองเห็นโอกาสมากมายจากภายนอกองค์กร SCG จึงมี CVC เข้ามาและเริ่มต้นสร้างหน่วยงานด้านนวัตกรรมภายในองค์กร เพื่อดึงดูดนวัตกรรมจากภายนอกเข้ามาด้วย

Oko : Techstars เริ่มต้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาจากการเป็น Corporate Accelerators แล้วก็ได้ทำงานกับโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพของไมโครซอฟท์ในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเราทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ กว่า 30 องค์กรทั่วโลก และเราเพิ่งมีโปรเจ็กต์ใหม่ที่ร่วมกับ Accelerator อย่าง Amazon Alexa และที่อื่นๆ เช่นในปารีส ดูไบ แล้วเราก็ยังมีกิจกรรมขนาดเล็กและโปรแกรมความร่วมมือต่างๆ ทั่วโลกด้วย

Oko Davaasuren, Regional Director of Startup Programs, Techstars

บริษัทใหญ่ๆ มองหาความร่วมมือกับสตาร์ทอัพมากขึ้นเรื่อยๆ คุณแชมป์...แล้วคุณมองในมุมของสตาร์ทอัพว่าอย่างไร

แชมป์ : ผมเริ่มต้นจากการทำ 2-3 สตาร์ทอัพเองและรู้ว่ามันยาก แล้วก็เริ่มจากการมองว่ามีอะไรที่เป็นโมเดล วิสัยทัศน์ตรงไหนของบริษัทกับสตาร์ทอัพที่จะเข้ากันได้ และอะไรที่ล้ำสมัย (breakthrough) ที่จะสามารถเชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสหรัฐได้ ซึ่งผมคิดว่าเป็นการนำเทคโนโลยีมาสู่เอเชีย อะไรที่สหรัฐมีแล้วนำมาปรับใช้ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ และสตาร์ทอัพจำนวนมากในสหรัฐก็สนใจที่เข้าจะเข้ามาในตลาดอาเซียนอยู่แล้ว จริงๆ แล้วมันก็คือการหาพาร์ทเนอร์ที่เข้าคู่กัน เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

คุณฐากรละคะ มีวิธีผลักดันนวัตกรรมในองค์กรอย่างไร

ฐากร : นวัตกรรมเกิดขึ้นได้ 2 ทาง นวัตกรรมภายนอก กับ นวัตกรรมภายใน ซึ่งเสาหลักหรือ Pillar ที่เรากำหนดเป็นกลยุทธ์องค์กรในการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมคือ วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม ซึ่งคือการนำนวัตกรรมภายนอกมาใช้และมีการเปลี่ยนแปลงจากภายในด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายในเป็นอะไรที่ยากที่สุด แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ เริ่มตั้งแต่ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร บอร์ดบริหาร หน่วยงานด้านนวัตกรรม ผู้จัดการก็ต้องเปลี่ยนและเลิกทำบางอย่างที่เป็นแบบเดิมๆ ด้วย

ดุสิต : สรุปแล้วก็คือการที่เรานำนวัตกรรมภายนอกมาปรับใช้และหลอมรวมเข้ากับแก่นขององค์กร ขึ้นอยู่กับว่าเราทำได้เร็วแค่ไหน

ดุสิต ชัยรัตน์ Corporate Venture Capital Fund Manager, AddVentures

แล้วทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เกิด ‘วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม’ และเกิดกลยุทธ์ Disruptive Innovation ได้?

ดุสิต : นวัตกรรม จริงๆ แล้วมันไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยี แต่ควรเริ่มจากปัญหาที่ลูกค้าพบ และเราเริ่มคิดว่าจะทำออย่างไรกับมัน ซึ่งปัจจุบัน SCG ก็มี startups กว่า 800 โปรเจ็กต์ที่น่าจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนตรงนี้

ฐากร : บทบาทหลักของผมคือการขับเคลื่อน ให้กำลังใจตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงไปจนถึงระดับล่าง ให้ทุกคนเข้าใจว่านี่เป็นเรื่องเร่งด่วน หากเราไม่ปรับตัวต่อไปเราอาจจะหายไปเลยก็ได้ เช่น กว่าโครงการของแบงก์โครงการหนึ่งจะได้รับการอนุมัติก็ต้องใช้เวลา 3-4 เดือน และกว่าจะได้เริ่มดำเนินการจริงๆ ก็ปาเข้าไป 7-8 เดือนแล้ว การใช้เวลามากขนาดนี้ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้น งานหลักของผมคือการสร้าง Communication Gateway คือ จะทำอย่างไรให้คนกว่าสองหมื่นคนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง และเปิดโอกาสให้เสียงจากด้านล่างได้เสนอความคิดเข้ามา มันเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก

Oko : มุมมองของ Accelerator และ VC คือ ต้องการรู้ว่าใครทำอะไรตลอดแนวไปป์ไลน์บ้าง ต้องการรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ และการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมองค์กรไม่ใช่การสร้างมูลค่าเพิ่มอีกต่อไป แต่มันเป็นทางเดียวที่จะอยู่รอด เราจึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมในองค์กร

แชมป์ : ผมขอยกตัวอย่างว่า ถ้าเราตั้งทีมที่มีสมาชิกแค่ 5 คน เราจะไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้ามากกว่านั้นทุกอย่างก็จะเริ่มช้าลง ดังนั้นผู้นำทีม คือคนสำคัญที่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างโลกเก่าและโลกใหม่ เชื่อมต่อระหว่างโลกภายนอกและภายใน โดยซีอีโอมีบทบาทสำคัญ และจะต้องเป็นคนที่ขับเคลื่อน ซึ่งต้องใช้เวลากับการนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในองค์กร

จากประสบการณ์แล้ว ดิฉันว่าจะต้องให้พวกเขามีส่วนร่วมใน Training และ Workshop ให้เวลาสัก 3-6 เดือน พวกเขาก็จะเข้าใจมากขึ้น

Oko : มีหลายๆ วิธีและกลไกที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กรขึ้น แต่อย่างน้องต้องใช้เวลา 3-5 ปี และอย่างน้อยต้องมี 5-7 กลยุทธ์ที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กรพื้นฐานได้ (Fundamental Cultural Innovation)

(คนกลาง) ฐากร ปิยะพันธ์, Krungsri Consumer & Head of Digital Banking and Innovation, Bank of Ayudhaya PLC.

มี Framework หรือโมเดลอะไรที่พวกคุณใช้ในการทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กรไหม?

ฐากร : พูดตรงๆ ว่าผมเองไม่มี Framework อะไร เพียงแค่คิดว่าอะไรที่ทำแล้วดี แล้วก็โฟกัสไปที่การสื่อสาร ซึ่งปกติแล้ว องค์กรขนาดใหญ่จะมีการสื่อสารแบบบนลงล่าง เสียงจากด้านล่างก็มักจะไปไม่ถึงด้านบน เป้าหมายของผมคือ สร้างการสื่อสารระหว่างด้านบนและล่างให้มีประสิทธิภาพ โดยเรามี Krungsri Ignite ให้ทุกคนแชร์ไอเดียผ่าน App เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการสื่อสาร ซึ่งเราค่อยๆ ทำ และเรียนรู้จากความผิดพลาดทีละเล็กละน้อย

แล้วคุณว่ามีความแตกต่างระหว่างการทำงานในออฟฟิศแบบทั่วไปกับออฟฟิศที่มีนวัตกรรมล้ำสมัยไหม และจำเป็นจะต้องย้ายออฟฟิศไหม?

ดุสิต : เรายังอยู่ใน complex เดียวกับ SCG แต่ไม่ได้อยู่ตึกเดียวกัน มีถนนตัดผ่านตรงกลาง ออฟฟิศของเราเคยเป็นโกดังเก่า ซึ่งเราต้องการอะไรที่ทำให้เรายังรู้สึกถึงความเป็น SCG แต่ก็ใหม่พอที่จะทำให้รู้สึกเป็นอิสระ

ฐากร : มันไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด แล้วแต่ว่าคุณได้ทำสิ่งใหม่ๆ หรือเปล่า เพราะสำหรับผม การสร้างนวัตกรรมเริ่มจากภายในองค์กร

Oko : เรื่องโลเกชัน จริงๆ แล้วก็สำคัญ เนื่องจากเราสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดนวัตกรรมองค์กร ดึงดูดให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้

พวกคุณมีกรอบระยะเวลา (Timeframe) ที่ตายตัวไหมในการทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กร มีบางท่านกล่าวว่า 3-5 ปี คุณต้องมีผลลัพธ์ไปนำเสนอภายใต้กรอบระยะเวลาที่กำหนดไหม?

ดุสิต : เราไม่มี Timeframe แน่นอน ตราบเท่าที่เรามุ่งหน้าไปยังทิศทางที่ถูกต้อง ผู้บริหารของเรามีความอดทนเพียงพอที่จะให้เราได้ทดลองและเรียนรู้

Oko : สำหรับ Accelerator ในระยะเวลาประมาณ 3 ปี เราก็จะเห็น Return

ฐากร : มันแล้วแต่ว่าคุณทำงานอย่างไร ถ้าปกติจาก A ไป B ใช้เวลา 5 ปี แต่ถ้าได้เทคโนโลยีมาช่วยอาจจะใช้เวลาเพียง 2-3 ปี สำหรับแบงก์ ถ้าเรารีบลงมือปฏิบัติเร็ว ผลก็จะได้เร็วเกินคาด แต่สำหรับมุมมองของ Investor อาจจะต้องการผลลัพธ์ที่เร็วกว่านั้น

แชมป์ : ระยะเริ่มต้นคงใช้เวลาประมาณ 5 ปี แต่ผลที่ได้รับตลอดระยะเวลาอาจจะมีมากกว่า Return ที่เป็นตัวเงิน ซึ่งเราสามารถกลั่น Value ต่างๆ จากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้

แชมป์-ปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย Managing Partner, CREATIVE VENTURES

แล้วความท้าทาย ความล้มเหลว หรือปัญหาละคะ?

ดุสิต : ความยากอยู่ตรงที่การหาคนที่จะมาเริ่มต้น

Oko : บริษัทต้องการเห็นผลทันที ต้องการเห็น Return ทันที นี่แหละคือปัญหา

ฐากร : ความท้าทายคือ คุณจะทำมันไปได้นานเท่าไหร่โดยที่ไม่ล้มเลิกเสียก่อน เพราะคุณต้องเผชิญหน้ากับคอมเพลนท์ต่างๆ คุณต้องมีพลังมากเพียงพอในทุกๆ วัน

แชมป์ : ข้อแรกเลย คุณต้องกำหนดคำนิยามว่า อะไรที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของคุณ นิยามนี้จะต้องไม่แคบเกินไปและกว้างเกินไป มันต้องตรงประเด็น สองคือ คุณต้องแน่ใจว่าการปฏิบัติจริง ไม่ได้ไปติดตรงไหนตลอดเส้นทางบนลงล่าง เช่น เรื่องไม่ได้ไปค้างที่ฝ่ายกฎหมาย และข้อสามคือ ต้องทำเหมือนกับที่ตั้งใจทำในวันแรก ซึ่งมันต้องใช้พลังงานมากๆ

ยกตัวอย่างเคสที่ประสบความสำเร็จ

ฐากร : ใน Innovation Project ของเรา พนักงานได้แชร์ไอเดียมากมาย เขาดีใจที่เสียงของพวกเขามีคนได้ยินและรับฟัง และพวกเขาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า น่าจะมีโปรเจกต์นี้นานแล้ว

Oko : สำหรับเรามีเรื่องราวความสำเร็จนับพันเรื่องที่เราสามารถช่วยเหลือ Startups ได้

ดุสิต : ตอนนี้เรายังห่างไกลจากคำว่าสำเร็จ แต่ผมดีใจที่เมื่อมองตาเพื่อนร่วมงานและรู้สึกมั่นใจว่า เราสามารถทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างเป็นอิสระ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...