ศาสตร์และศิลป์ของ Corporate Venture Capital : ตัวอย่างเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จและบทเรียนจากทั่วโลก | Techsauce

ศาสตร์และศิลป์ของ Corporate Venture Capital : ตัวอย่างเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จและบทเรียนจากทั่วโลก

ในโลกของการลงทุนนั้นมีปิรามิดของการลงทุน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การลงทุนจากเม็ดเงินของตัวเอง (bootstrapping) ไล่ไปเป็นการระดมทุนจากสาธารณชน (crowd-funding) ต่อด้วยการลงทุนของเหล่านักลงทุนแบบ angel ไปถึง Venture Capitalists (VC) ก่อนที่ยอดบนสุดของปิรามิดจะเป็น Corporate Venture Capitalists (CVC) นั่นเอง มีผู้ประกอบการมากมายที่แม้จะไม่ได้เงินลงทุนแต่ก็หวังเพียงแค่จะได้คำแนะนำจาก CVC ซึ่งโดยปกติการเข้าถึงองค์กรเหล่านี้ถือเป็นเรื่องไม่ง่ายเอาเสียเลย แต่ถึงอย่างนั้นในงาน Techsauce Global Summit 2017 ที่ผ่านมาก็ได้เปิดโอกาสให้เหล่าผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อย (SME) จากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับฟังและพูดคุยกับเหล่า CVC ในหัวข้อซึ่งมี Zack Piester, co-founder ของ blockchain VC Intrepid Ventures เป็นผู้ดำเนินรายการ และผู้ร่วมแสดงทัศนะยังประกอบไปด้วย

  • Dr. John Millar ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์จาก Ananda Development
  • คุณ Tim Casio ผู้อำนวยการจาก Samsung NEXT M&A team
  • คุณ Hiro Saijou ประธานเจ้าหน้าที่ฝายบริหารและกรรมการผู้จัดการ จาก Yamaha Motors Ventures และ Laboratory Silicon Valley
  • คุณพลภัทร อัครปรีดี (Paul Ark) กรรมการผู้จัดการ Corporate Venture Capital จาก Digital Ventures
  • คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจและ DTAC Accelerate

เหล่าตัวแทนจาก CVC ทุกท่านมารวมตัวบนเวทีเดียวกันเพื่อให้คำแนะนำที่ตรงไปตรงมา รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้ที่สั่งสมมา รวมถึงเล่าถึงหลักการในการลงทุนของพวกเขา โดยทั้งห้องนั้นเต็มไปด้วยเหล่าผู้ประกอบการ SME และบรรดานักลงทุนที่กระตือรือร้นที่จะได้ฟังมุมมองจาก CVC เหล่านี้

CVC นั้นเป็นศิลป์หรือศาสตร์ หรือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัวเอง?

คำถามที่น่าสนใจคำถามหนึ่งจากผู้ดำเนินรายการอย่าง Zach Piester คือ “CVC นั้นเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งหรือเป็นศิลปะกันแน่?” ตัวแทนจาก CVC หลายท่านเห็นตรงกันว่างานของพวกเขานั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เหตุผลคือ ในมุมของศิลปะแล้วกล่าวได้ว่าไม่มีสูตรตายตัวใดที่จะสามารถใช้ในการวัดหรือประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในทีมหรือวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละทีมที่พวกเขาจะตัดสินใจลงทุนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นศาสตร์ด้วยองค์ประกอบอย่างเช่นวิธีการที่จะประเมินแนวโน้มของความสามารถในการขยายขนาดของธุรกิจของโมเดลธุรกิจต่างๆ ในโลกความเป็นจริงก็เข้ามามีบทบาทเช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วอีกปัจจัยสำคัญก็คือธุรกิจหรือผู้ประกอบการรายนั้นๆ เหมาะสมกับ CVC แห่งนั้น ๆ หรือประเทศนั้น ๆ หรือไม่ เพราะถึงแม้ว่าตลาดจะมีความแตกต่างกันไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เป้าหมายของแต่ละธุรกิจก็ย่อมเปลี่ยนไปเมื่อเวลาผ่านไป อะไรที่สามารถขายได้ใช้งานได้ในช่วงระยะเริ่มต้น ก็อาจจะไม่เป็นไปเช่นเดิมเมื่อเวลาผ่านเลยไป หรือบางทีบางสิ่งที่ใช้ได้ผลในอินโดนีเซียอาจจะไม่ได้ผลแบบเดียวกันในประเทศไทยเพราะแต่ละประเทศมีความต้องการที่ต่างกัน มีโครงสร้างและกลุ่มของผู้บริโภคที่ต่างกัน ดังนั้นมันจึงเป็นการลองผิดลองถูกเพื่อที่จะชำนาญทั้งศาสตร์และศิลป์ในการที่จะสร้าง startup รายใหม่ที่ประสบความสำเร็จขึ้นมาสักราย

นอกจากตัวแทนจาก CVC หลายท่านยังเห็นตรงกันว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในโครงสร้างของ CVC ซึ่งแน่นอนว่ามันย่อมไม่ได้เกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน ดังนั้นสิ่งที่แต่ละแห่งกำลังลงมือทำคือการสร้างทีมสำหรับนวัตกรรม มีทีมการสร้างนวัตกรรมภายใน และการพัฒนาวิธีการทำงานของ CVC เพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะก้าวล้ำนำหน้านวัตกรรมต่างๆ ได้

อะไรคือทางเลือกที่ดีที่สุดระหว่างการทำลาย Startup ที่ disrupt หรือเข้าซื้อบริษัทเหล่านั้น?

หลายๆ startup ต่างก็นำไอเดียของตัวเองมาระดมทุนกับสาธารณชน (crowdfunding) บ้างกับ accelerators บ้าง หรือกระทั่งด้วยเงินลงทุนของตัวเอง ซึ่งมักจะมากับแนวคิดที่จะ disrupt อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเหล่าธุรกิจที่ไม่มีใครสามารถแตะต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดทางธุรกิจ เป็นธุรกิจที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นในภาคธุรกิจเช่น ธนาคาร การคมนาคม และอสังหาริมทรัพย์ แต่ Uber, Grab, Airbnb, และ Food Panda ต่างก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือ CVC ต่างก็ไม่ได้ปลอดภัยจากการถูก disrupt เลยแม้แต่น้อย คุณพอลเองได้เล่าถึงประสบการของเขาอย่างกระตือรือร้นในการทำงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เพื่อร่วมมือและปลุกปั้น FinTech startup ต่าง ๆ ว่า “พวกคุณ (เหล่า startup) ไม่ disrupt เราก็ทำให้บริการของเราดียิ่งขึ้น ดังนั้นคนที่ทำงานในภาคธุรกิจการเงินการธนาคารจะไม่ทำลายเทคโนโลยีเพื่อให้บริการของพวกเขาดูเป็นนวัตกรรมขึ้นมา” คุณพอลยังอธิบายต่อไปอีกด้วยว่าโครงสร้างของบริษัทเองยังอาจจะทำให้ CVC กลายเป็นคู่แข่งตัวฉกาจที่สุดของตัวเองก็เป็นได้  ด้วยเหตุนั้นคำแนะนำของเขาสำหรับเหล่า CVC คือให้ลงทุนในบรรดา startup ที่สามารถช่วยให้บริษัทของพวกเขาดีขึ้น แล้วเพิ่มไอเดียของนวัตกรรมต่าง ๆ เพิ่มเติมลงไป รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ startup เหล่านั้นไม่เคยมีมาก่อน

คำฮิตติดกระแสใหม่ในช่วงนี้: Blockchain

หนึ่งในผู้ร่วมพูดคุยกล่าวว่า “มันเป็นเรื่องที่ใหม่และน่าตื่นเต้น ทุกคนต่างก็พูดถึง blockchain เป็นคำฮิตติดกระแส แต่คนเหล่านั้นจะรู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร” สำหรับเหล่าคนที่ไม่คุ้นเคยกับ blockchain คำอธิบายง่าย ๆ อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นเหมือนระบบฐานข้อมูลออนไลน์คล้ายกับลักษณะของการบันทึกบัญชีที่ถูกดูแลโดยกลุ่มคนทั้งหมดในฐานข้อมูลนั้น ทุกคนต่างรับรู้ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในฐานข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนเสียด้วยซ้ำ ซึ่งข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจที่ถูกกล่าวถึงโดยคุณพอลคือการลงทุนครั้งแรกของ SCB ในฐานะ VC นั้นเป็นการลงทุนใน blockchain นี่เอง เนื่องจากเป็นการมองถึงความเป็นไปได้ของ startup ในสายนี้ในระยะยาวที่อาจจะเลือกกลยุทธ์ที่ซึ่งธนาคารโดยปกติแล้วไม่มีข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ (เช่น การป้องกันการฟอกเงิน การค้าเงิน เป็นต้น) ซึ่งนี่เป็นมุมมองที่ซ้ำคัญมากเมื่อย้อนกลับไปยังคำพูดของเขาว่า “ช่วยทำให้เราดีขึ้นหรือ disrupt เรา?” และเขาเลือก startup นี้เพราะมันช่วยทำให้ธุรกิจของธนาคารดียิ่งขึ้นนั่นเอง

ในแง่ของการลงทุนแล้วเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือไม่?

เนื่องจากการลงทุนนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์จึงมี CVC น้อยมากที่มีสถิติการเลือกลงทุนที่สมบูรณ์แบบกับเหล่า startup ที่ประสบความสำเร็จทั้งหมด แต่ดูเหมือนว่า Yamaha Ventures ซึ่งดำเนินการมาแล้วถึง 2 ปีจะเป็นข้อยกเว้นเมื่อคุณ Hiro Saijou ได้เล่าว่า Yamaha Ventures นั้นยังไม่เคยตัดสินใจผิดพลาดในช่วงเวลาที่ผ่านมา  ในขณะที่คุณ Tim Casio (จาก Samsung NEXT) กล่าวต่อว่า “การที่จะตัดสินใจว่าเป็นความสำเร็จหรือความล้มเหลวนั้นขึ้นอยู่กับว่านิยามของคำว่าประสบความสำเร็จคืออะไร เพราะฉะนั้นการติดสินใจที่แย่จึงต้องขึ้นกับการให้ความหมายของคำว่าความสำเร็จ ซึ่งการตัดสินใจที่แย่อาจจะเป็นการลงทุนในธุรกิจที่ไม่ได้เป็นธุรกิจที่ส่งเสริมหรือดีกับธุรกิจของเราก็เป็นได้” ซึ่งผู้ร่วมวงสนทนาท่านอื่น ๆ ในครั้งนี้ก็เผยว่าเกือบ 1 ใน 4 ของสิ่งที่พวกเขาเลือกนั้นผิดพลาด ศิลปะใช้ไม่ได้ผลหรือไม่ก็ทีมนั้นไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นสิ่งที่ยากจะคาดการณ์ในช่วงแรก ๆ ของ startup

ก้าวนำหน้านวัตกรรมและต่อสู้กับ disruption

ในขณะที่เหลือเพียง 30 วินาทีสุดท้ายในการพูดคุย เหล่าตัวแทนของ CVC ต่างก็แสดงทัศนะไปในทางเดียวกันถึงแนวทางที่เหล่า CVC จะก้าวนำหน้าในการแข่งขันที่กำลังดำเนิน

  • คุณ Paul Ark จาก Digital Ventures ให้ความเห็นว่า ควรเข้าร่วมงานประชุมสัมมนาเช่นงานนี้เพื่อเรียนรู้จากเหล่าคนที่เป็นที่สุดของที่สุด และเก็บเกี่ยวไอเดียใหม่ ๆ ก่อนจะนำไปคิดต่อยอดว่าจะทำให้ไอเดียเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ๆ อย่างไร
  • คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ จาก DTAC Accelerate ยกเอาประโยคที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยอย่าง Stay hungry, stay foolish เป็นข้อคิดสำหรับทุกคน
  • คุณ Hiro Saijou จาก Yamaha ให้มุมมองว่า  เราต่างก็มีแผนที่ที่ถูกต้องแม่นยำวางอยู่ตรงหน้า แต่คำถามคือว่าเราจะเลือกถนนสายที่ดีที่สุดที่จะไปถึงได้อย่างไร และสำหรับสังคมของกลุ่ม startup แล้วแผนที่ของคุณคืออะไร และเราจะสร้างและพัฒนาแผนที่ของเราเองได้อย่างไร ซึ่งหากมองในมุมนี้แล้วเราจะเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางด้วยกันได้หรือไม่?
  • คุณ Tim Casio กล่าวว่า งานของของผมคือการเข้าใจว่าทุกคนที่นี่กำลังทำอะไรกันอยู่บ้างแล้วคิดให้ออกว่างานของผมและสิ่งที่ทุกคนทำนั้นจะเข้ากันได้อย่างไร
  • John Millar จาก Ananda ทิ้งท้ายไว้ด้วยประโยคเด็ดที่ว่า จงใช้เงินของ CVC นำคนที่เก่งที่สุดในโลกทั้งหลายมารวมกันและพัฒนาไอเดียเหล่านั้นให้เร็วกว่าใคร ๆ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...