ปรับทักษะคนในองค์กรให้พร้อมต่อโลกอนาคต กรณีศึกษาจาก LinkedIn

ปรับทักษะคนในองค์กรให้พร้อมต่อโลกอนาคต กรณีศึกษาจาก LinkedIn

ในยุคที่เทคโนโลยีฉลาดขึ้น การปรับตัวให้ทันต่อความสามารถของ AI เป็นสิ่งที่มนุษย์อย่างเราต้องตามให้ทัน ไม่เช่นนั้นก็จะโดน Disrupt เสียเอง ผลการสำรวจของ Mckinsey Company พบว่า 50 เปอร์เซ็นของงานในปัจจุบันอาจไม่มีอยู่ในอนาคต  ไม่นานมานี้ Techsauce ได้มีโอกาสไปนั่งฟังการบรรยายจาก Atul Harkisanka, Regional Sales Manager จาก LinkedIn ในหัวข้อ “Future of Workforce, Jobs of Tomorrow, Analytics for HR” เกี่ยวกับทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการในไทย สิ่งที่องค์กรต้องปรับตัว และจะเตรียมบุคลากรให้มีทักษะที่พร้อมเพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของบริษัทต่อไปได้อย่างไร มาดูกันค่ะ

งานใหม่ที่กำลังมาแรงในไทยคืองานที่ต้องใช้ทักษะดิจิตัล

อาชีพ Data Scientist ได้กลายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ในประเทศไทยยังมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ในจำนวนน้อย ซึ่งถ้าเทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อน ความต้องการของอาชีพนี้ได้เพิ่มขึ้นมากถึง 4-5 เท่า

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ ตลาดในอนาคตไม่เพียงแต่จะมีความต้องการแค่อาชีพ Front-End Developer หรือ Back-End Developer เท่านั้น แต่จะพัฒนากลายเป็น Hybrid Developer หรือ Full Stack Engineer ที่คนๆ หนึ่งจำเป็นที่จะต้องมีทักษะมากกว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นตำแหน่งที่ถูกคาดหวังว่าจะสามารถทั้งสองตำแหน่งได้ในเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้อาชีพที่เกี่ยวข้องกับ Health, Fitness และ Meditation ก็กำลังมาแรงอีกเช่นกัน เมื่อสิบปีก่อนไม่ได้มีอาชีพเหล่านี้ให้เห็นกันมากนัก แต่เมื่อได้มีการเข้ามาของดิจิตัล อีกทั้งเวลาที่คนในปัจจุบันได้ใช้ไปกับโทรศัพท์มือถือก็มากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้อาชีพที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้เพิ่มขี้นตามไปด้วย

ทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานไทย

จากภาพจะเห็นได้ว่า Mass Market เป็นทักษะที่คนจำนวนมากมี อีกทั้งทักษะเหล่านี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ในขณะที่ Niche Skills เป็นทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการเช่นกัน แต่มีเพียงกลุ่มคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่มีทักษะเหล่านี้ ดังนั้น ถ้าหากคุณต้องการที่จะโดดเด่น คุณจะต้องเรียนรู้ทักษะในหมวดหมู่ Niche Skills แต่ถ้าคุณเป็นกังวลว่าไม่เป็นที่ต้องการของตลาด การฝึกตัวเองให้มีทักษะในกลุ่ม Mass Market ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการทำงานในอนาคตเช่นกัน

จากภาพจะเห็นได้ว่า ในประเทศไทยยังขาด Talent ที่มีทักษะในกลุ่ม A ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้คนจากกลุ่มประเทศอินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มุ่งหน้าเดินทางเข้ามายังประเทศไทย เพื่อมาทำงานในตำแหน่งที่คนไทยเองยังไม่มีประสบการณ์และทักษะในด้านดังกล่าว

ขณะเดียวกัน คนในกลุ่ม B ที่ทำอาชีพในอุตสาหกรรมน้ำมัน แก๊ส Offshoring, Outsourcing ได้ทยอยออกจากประเทศไทยและได้เดินทางต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี นั่นอาจเป็นเพราะโปรเจคได้จบลงแล้ว หรืออาจจะกำลังเดินทางกลับบ้านเนื่องจากบางโปรเจคต้องใช้เวลาดำเนินการเป็นระยะเวลามากกว่า 2-3 ปี

การเตรียมความพร้อมเหล่าบุคลากรเพื่อรองรับตลาดแรงงานในอนาคต

จากปัจจัยดังกล่าวทำให้สายงานด้านทรัพยากรบุคคลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการค้นหาเหล่า Talent เพื่อเตรียมพร้อมกับความของตลาดแรงงานในอนาคต จะเห็นได้ว่าการที่จะเป็น HR ในยุคนี้นั้นแน่นอนว่าไม่ง่าย ซึ่งนอกจากจะต้องแข่งขันกับมนุษย์ด้วยกันแล้ว ยังต้องแข่งขันกับหุ่นยนต์หรือพวก AI ที่กำลังเข้ามาเป็นทั้งตัวเลือกและคู่แข่งของคนที่ทำงานในด้านทรัพยากรบุคคล

ทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นทักษะที่สำคัญอย่างมาก ซึ่ง HR จะต้องรู้วิธีการจัดการชุดจำนวนข้อมูลมหาศาลเพื่อใช้ในการช่วยในการตัดสินใจที่ชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยในการคาดการณ์ความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต

HR จะทำการเตรียมคนในองค์กรให้พร้อมกับการเข้ามาของ AI ได้อย่างไร? จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้สามารถระบุ Talent ที่ต้องการได้ว่าพวกเขาต้องมีทักษะอะไรบ้าง อยู่ที่ไหน ในช่วงเวลาใด?

สิ่งที่องค์กรควรเตรียมพร้อมในการเตรียมบุคลากรให้พร้อมกับทักษะและอาชีพในอนาคต พร้อมกับคำถามที่ควรถามทั้งตัวเองและในองค์กรมีดังนี้

1. ทักษะที่ต้องมีเพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน

  • ฉัน/ องค์กรจะทำการ Upskills และ Reskills ได้อย่างไรบ้าง?
  • คู่แข่งของฉัน/ องค์กรได้ทำการลงทุนไปกับทรัพยากรด้านอะไรบ้าง?
  • เมื่อเปรียบเทียบกับในอุตสาหกรรมเดียวกันและเพื่อนร่วมงาน ฉัน/ องค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะในอนาคตมากแค่ไหน?

อันดับแรก ทำการสำรวจและประเมินศักยภาพของคนในองค์กรว่าพวกเขามีทักษะอะไรอยู่แล้ว และมีทักษะอะไรที่ต้องทำการพัฒนาเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกับงานในอนาคต ซึ่งอาจจะต้องใช้ทักษะที่มีมากกว่าปัจจุบันถึง 30-40 เปอร์เซ็น

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ ในการที่จะเตรียมพร้อมคนในองค์กรให้กลายเป็น Data Scientist พนักงานจะต้องมีทักษะที่จำเป็นในการทำอาชีพนี้อย่างน้อย 10 ทักษะ เนื่องจากอาชีพ Data Scientist, Data Specialist นั้น จะมีทักษะหลักๆ ด้วยกันประมาณ 6-7 ทักษะเท่านั้น การเริ่มค้นหาทักษะที่ขาดหายไป และผลักดันให้บุคลากรได้พัฒนาทักษะที่พวกเขาจำเป็นในอนาคตนั้นจะเป็นการดีกว่าการไปหาบุคลากรใหม่ในภายหลัง

2. ทำการดูว่าคู่แข่งได้ทำการลงทุนในทรัพยากรด้านใดบ้าง

  • ฉัน/ องค์กรมีทักษะอะไรบ้าง และมีที่ไหนที่กำลังต้องการทักษะที่มีอยู่?
  • สถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการตั้งสำนักงานคือที่ไหน?
  • ความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับต้องการของตลาดแรงงานในภูมิภาคมีอะไรบ้าง? ในภูมิภาคมีพื้นที่ไหนที่กำลังมีความต้องการทักษะนั้นๆ แต่กำลังขาดทรัพยากร?

3. ทักษะอะไรที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด

  • ในตอนนี้ Skills อะไรที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด?
  • ตอนนี้ฉัน/ องค์กรกำลังตามคู่แข่งทันอยู่หรือเปล่า?
  • เปรียบเทียบการทำการ Up skills คนในองค์กรหรือทำการจ้างคนใหม่ที่มีทักษะที่เป็นที่ต้องการ ว่าสิ่งไหนจะสามารถประหยัดทรัพยากรและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ในการที่จะมั่นใจได้ว่าคุณหรือองค์กรของคุณจะไม่อยู่รั้งท้ายในอุตสาหกรรม เหล่า Talent และเหล่าผู้นำจะต้องรู้จักใช้ข้อมูลในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด โดยการทำการวิเคราะห์ว่าทักษะอะไรกำลังเป็นที่ต้องการนั้นสามารถทำการวิเคราะห์ได้สองระดับ

ระดับองค์กร - ทำการสำรวจบุคลากรในบริษัทตามอุตสาหกรรมที่สนใจ โดยจะเห็นได้จากโปร์ไฟล์ของพนักงานว่ามีทักษะอะไรที่คนในองค์กรเหล่านั้นมีบ้าง

ระดับประเทศ - ยกตัวอย่างการทำงานของ Linkedin ที่ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลสิงคโปร์ โดยทำการดูว่ามีทักษะอะไรที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดบ้าง ในการเตรียมคนให้พร้อมกับงานในอนาคต รัฐบาลต้องทำอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่าคนในประเทศมีทักษะเหล่านั้น

4. การดึงดูดทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการโดยการดูจากกลุ่ม Talent เป็นหลัก

  • ฉัน/ องค์กรควรจะเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่หรือสำนักงานใหม่ที่ไหนหรือไม่?
  • ฉัน/ องค์กรจำเป็นที่จะต้องประเมินและเพิ่มการลงทุนกับบุคลากรหรือไม่?

5. การดึงดูดทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการโดยการดูจากกลุ่มเชื้อชาติเป็นหลัก

  • เมื่อจะทำการดึงดูดเหล่า Talent ที่อยู่ต่างประเทศ จะต้องสามารถระบุได้ว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน พวกเขามีทักษะอะไร
  • องค์กรจะสามารถทำงานร่วมกับเหล่า Talent จากต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร?
  • องค์กรจะสามารถดึงดูด Talent ที่ดีที่สุดจากต่างประเทศได้อย่างไร?

สร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ในการจะเตรียมบุคลากรให้พร้อมกับงานในอนาคต องค์กรจะต้องมีวิธีการจัดการชุดจำนวนข้อมูลมหาศาลเพื่อใช้ในการช่วยในการตัดสินใจที่ชาญฉลาด และมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยในการคาดการณ์ความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ต้องทำการเปลี่ยนวัฒนธรรมในคนองค์กรให้มีความรักในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และสิ่งที่เปลี่ยนนั้นต้องสามารถเข้ากับวัฒนธรรมในองค์กรด้วย เพราะสิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้อาจไม่สามารถปรับใช้ได้ในอนาคต

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...