Home Hub เดินหน้า Business Transformation รับมือยุค Digital | Techsauce

Home Hub เดินหน้า Business Transformation รับมือยุค Digital

  • Home Hub ร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านที่แจ้งเกิดจากอุบลราชธานีมากว่า 40 ปี ถึงจุดที่ต้องเผชิญความท้าทายยุค digital เป็นเวลาที่ต้องทำ transformation
  • จุดหมายของการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และสร้างโอกาสทางธุรกิจ ใช้ Stock Scanner ช่วยบริหารสินค้าคงคลังได้ง่ายและแม่นยำเช่นเดียวกับกลุ่มผู้เล่นชั้นนำในธุรกิจ Modern Trade
  • แม้ Online Shopping ของ Home Hub ยังทำรายได้ต่ำกว่า 1% ของยอดขายรวม แต่ยังมุ่งเพิ่มความหลากหลายในอนาคต ควบคู่ใช้ช่องทาง Social Media ครองหน้าจอผู้บริโภครุ่นใหม่
  • ปีหน้าเริ่มโครงการ Cloud Computing บริหารฐานข้อมูล พร้อมเปิดให้ซัพพลายเออร์ตรจสอบสต็อคผ่าน Supply Chain Web Access ดังเช่นร้านค้าปลีกหัวแถวของตลาด

Business Transformation เป็นความหวังที่จะช่วยให้ Home Hub ช่วงชิงความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง โดยนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างช่องทาง Online Shopping พร้อมติดอาวุธการตลาดด้วย Social Media ที่เข้าถึงลูกค้ารุ่นใหม่ได้กว้างขวาง ยังคงพัฒนาต่อเนื่องโดยใช้ Cloud Computing บริหารฐานข้อมูลของบริษัท เปิดให้ซัพพลายเออร์เช็คสต็อคผ่านระบบ Supply Chain Web Access เช่นเดียวกับร้าน Modern Trade ชั้นนำ

Business Transformationร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านในนามโฮมฮับ (Home Hub) เปิดต้อนรับลูกค้าครั้งแรกในฐานะร้านขายสีเมื่อปี 2519 ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จนปัจจุบันกลายเป็นกิจการ Modern Trade ซึ่งทำรายได้เฉลี่ยราว 3 พันล้านบาทต่อปีจากทั้ง 5 สาขา ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น และอุดรธานี ที่บริหารโดยทายาทรุ่นสอง ชาตรี ตั้งมิตรประชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โฮมฮับ จำกัด

ชาตรี ปรับปรุงร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่รุ่นพ่อเริ่มไว้ให้ผันตัวสู่ธุรกิจค้าปลีกร่วมสมัยเมื่อปี 2548 จนถึงวันนี้เขาก็ยังไม่หยุดค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับร้าน Home Hub ในลักษณะของการทำ Business Transformation เพื่อให้ตอบโจทย์ใน 3 ด้านหลักคือ หนึ่ง คือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท สองลดค่าใช้จ่ายขององค์กรโดยรวม และสามเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้มีช่องทางจำหน่ายที่กว้างขึ้น 

Business Transformation

Business Transformation ในแบบ Home Hub

ปัจจุบันแม้เทคโนโลยีที่บริษัทนำมาใช้เพื่อพลิกโฉมให้ธุรกิจคล่องตัวขึ้นจะไม่ได้แปลกใหม่ไปกว่าองค์กรอื่น ๆ มากนัก แต่ผลที่ได้ก็สร้างความพอใจด้วยตรงดังเป้าหมายที่ชาตรีวางไว้ ไม่เพียงเท่านั้นเขายังวางแผนที่จะยกเครื่ององค์กรให้ทันสมัยยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านกระบวนการทำ Business Transformation

เริ่มที่ด้านลอจิสติกส์ ชาตรีเล่าว่าได้นำระบบติดตามรถขนส่งด้วย GPS มาใช้ เมื่อปี 2556 ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานใหญ่สามารถตรวจสอบและให้คำตอบกับลูกค้าถึงสถานะการส่งสินค้าได้แบบเรียลไทม์ จึงช่วยสร้างความพึงพอใจต่อบริการของ Home Hub เช่นเดียวกับที่หากพบความผิดปกติของการเดินทางก็สามารถติดต่อไปสอบถามและให้ความช่วยเหลือแก่คนขับรถเพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่น

GPS ยังถูกนำมาใช้กับการติดตามทีมเซลของบริษัทด้วย ซึ่งนอกจากเกิดประสิทธิภาพในแง่การบริหารงานขายแล้ว ยังช่วยเรื่องคำนวนค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง เพราะสามารถรู้ข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางของเซลแต่ละคนว่าเป็นไปตามแผนอย่างถูกต้องหรือไม่ จึงสามารถคำนวนค่าน้ำมันที่ชดเชยให้ได้ตามจริง

อีกหนึ่งพัฒนาการภายใต้การทำ Business Transformation คือส่วนอุปกรณ์ซึ่งเป็นที่นิยมของบรรดากิจการ Modern Trade อย่าง Stock Scanners หรือเครื่องนับสต็อกขนาดพกพา ที่ใช้สัญญาณ WiFi ในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเริ่มใช้เมื่อปี 2557 ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ชาตรีมองว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฝ่ามือ เพราะช่วยให้การทำงานง่ายและเร็วขึ้นมาก เพียงแค่ไปอ่านแถบบาร์โค้ดที่ชั้นวางก็จะรู้จำนวนสินค้ารายการนั้น ๆ ว่าคงเหลือในระบบเท่าไรได้ทันที จึงนับเป็นอีกนวัตกรรมที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ดี เพราะนอกจากไม่ต้องใช้พนักงานจำนวนมากเพื่อมาทำงานนี้แล้วยังเป็นการตรวจสอบที่แม่นยำขึ้นด้วย

Business Transformation

สมัยก่อนเวลาตรวจนับสต็อกต้องเดินไปจด มาบันทึกลงระบบ แล้วพิมพ์เป็นเอกสารส่งให้ฝ่ายต่างๆ อีกที แต่ตอนนี้พอใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยก็เร็วและง่ายขึ้น

นอกจากเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว การปรับเปลี่ยนในแบบ Business Transformation ยังเริ่มใช้ระบบประชุมทางไกลแบบออนไลน์เมื่อปี 2559 ก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายใหักับบริษัทได้อย่างมาก จากเดิมที่ต้องให้พนักงานจากสาขาต่าง ๆ เดินทางมายังสำนักงานใหญ่ในตัวเมืองอุบลราชธานี แต่ในวันนี้ืสามารถพูดคุยพร้อมกันได้จากห้องประชุมของสาขาต่าง ๆ รวมถึงนำไปใช้ในการประชุมแบบเร่งด่วนกับฝั่งลูกค้าและซัพพลายเออร์ได้เช่นกัน

ระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ หรือ IP Camera (Internet Protocol camera) ซึ่งเริ่มติดตั้งในปี 2559 ก็เป็นหนึ่งในการพัฒนาที่ช่วยลดต้นทุนให้กับ Home Hub อย่างเด่นชัด เช่น จากเดิมที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยถึง 4 คนต่อสาขา ก็ลดลงเหลือเพียง 2 คนต่อสาขา อีกทั้งด้วยเทคโนโลยี AI ที่เสริมเข้ามาก็ทำให้สามารถตรวจับการเคลื่อนไหวและวิเคราะห์เพื่อรายงานมายังศูนย์กลางให้ติดตามว่าเป็นเหตุการณ์ปกติหรือไม่อย่างไร

ชิมลาง online shopping

เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ลูกค้าของ Home Hub สามารถเข้ามาดูข้อมูลสินค้าและสัั่งซื้อได้ทาง www.homehub.co.th ซึ่งยังจำกัดเฉพาะสินค้าบางส่วนเท่านั้น ทำให้ขณะนี้จึงสร้างรายได้ให้บริษัทไม่ถึง 1% ของยอดขายรวม อย่างไรก็ตามชาตรีมองว่าจะเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าที่สำคัญมากขึ้นในอนาคต จึงยังเดินหน้าต่อเพื่อเพิ่มสินค้าให้หลากหลายขึ้น แม้ว่าปัจจุบันความนิยมในการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างทางช่องทางออนไลน์จะยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับสินค้ากลุ่มอื่นๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ พรม มู่ลี่ เป็นต้น

ชาตรีเล่าถึงรูปแบบการแข่งขันว่า ปัจจุบันคู่แข่งหลายรายเริ่มใช้ช่องทางออนไลน์ขายสินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านที่เน้นสินค้าบางประเภทแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น เหล็ก เซรามิค หลอดไฟ เป็นต้น ทำให้จำเป็นต้องดูแลให้ content เกี่ยวกับสินค้าและโปรโมชั่นของ Home Hub ปรากฏในหน้าแรกทุกครั้งที่มีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้าน

นอกจากนี้ Home Hub ยังใช้ช่องทาง Social Media ทั้ง Facebook และ LINE เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำการตลาดกับผู้บริโภครุ่นใหม่ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้กิจกรรมการตลาดพ่วงไปกับการกด like และ share รวมถึงทุกวันอังคารทาง Facebook จะมีการ live สดเกี่ยวกับสินค้าและให้ลูกค้าเข้ามาตอบคำถาม ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างฐานแฟนคลับเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้ content เกี่ยวกับสินค้าของ Home Hub อยู่ในสายตาของผู้บริโภคที่เกาะติดหน้าจอมือถือและคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ

“เราชิมลางด้วยสินค้าตกแต่งบ้านไปก่อน ไว้ให้ระบบลอจิสติกส์สำหรับสินค้าขนาดใหญ่พร้อมกว่านี้ ก็จะเริ่มให้บริการได้แบบไม่ตกขบวน เพราะตอนนี้ลูกค้าไม่เดินมาหาของที่ร้าน แล้วแต่มัก search ในเว็บมาก่อนแล้วค่อยซื้อที่ร้านหรือบางทีก็สั่งทาง website เลย”

Business Transformation

สำหรับในอนาคตอันใกล้ Cloud Computing จะมีบทบาทต่อ Home Hub มากขึ้นในแง่การบริหารจัดการฐานข้อมูลกลางของบริษัท ที่้ไม่เพียงลดค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว ยังมีความคล่องตัวในการเพิ่มหรือลดทรัพยากรได้ง่ายกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้บริการระบบ Cloud Computing จากบริษัทภายนอกอย่างเป็นทางการภายในต้นปีหน้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบระบบ

“หากใช้ระบบ Data Network ที่เป็นเทคโนโลยีแบบเดิม มีแต่ค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบในอนาคตจะเพิ่มขึ้น” 

อีกเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการสื่อสารระหว่างซัพพลายเออร์และบริษัทคือ Supply Chain Web Access ซึ่งคู่ค้าสามารถ log in เข้ามาดูข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสต็อกสินค้า การคืนสินค้า ยอดขายของสินค้าของซัพพลายเออร์รายนั้น ๆ  เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพราะมี Modern Trade รายอื่นได้ใช้อยู่แล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมา Home Hub ยังต้องพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลให้อัพเดทก่อน

Business Transformation มีบทบาทในธุรกิจค้าปลีกสินค้าเกี่ยวกับบ้านมากขึ้น ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป ตอนนี้คนส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าโดยค้นหาข้อมูลทางออนไลน์ก่อน แล้วค่อยเดินมาที่ร้านหรือโทรสั่งซื้อแล้วให้ไปส่ง จึงจำเป็นที่ Home Hub ต้องมีตัวตนบนออนไลน์และใช้ Social Network ที่หลากหลายในการเข้าถึงลูกค้า

ภาพประกอบโดย Photomind


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...