พาทัวร์ IBM Watson Experience Center ใจกลางกรุงซานฟรานซินโก | Techsauce

พาทัวร์ IBM Watson Experience Center ใจกลางกรุงซานฟรานซินโก

เมื่อพูดถึงบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ที่ Transform และมีความเคลื่อนไหวตลอดเวลานั้น เห็นจะหนีไม่พ้นยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ถ้าใครติดตามข่าว techsauce เป็นประจำก็จะเจอกรณีศึกษาการทดสอบเรื่อง Blockchain กับบริษัทต่างๆ รวมถึงงาน techsauce summit 2016 ที่ผ่านมาห้อง FinTech นำโดย Digital Ventures ก็ได้ดึงเอา IBM มาร่วมแชร์ประสบการณ์ด้วย

แต่วันนี้เราจะไม่ได้คุยกันถึงเรื่อง Blockchain แต่จะไปเจาะถึงกรณีศึกษาต่างๆ ของการนำ Product ของ IBM ที่ชื่อ Watson มาใข้ ครั้งนี้เราไปเรียนรู้ Product ดังกล่าวที่ IBM Watson Experience Center กลางกรุงซานฟรานซิสโก พึ่งเปิดใหม่เมื่อปลายปีที่แล้วนี่เอง

IBM Watson

IBM Watson คืออะไร

IBM Watson1

Watson ชื่อคล้ายๆ คน เป็น product ของทาง IBM ที่ถูกพัฒนาตามแนวทางของ Cognitive Computering คือระบบประมวลผลข้อมูลที่มีการเรียนรู้และให้มีความสามารถวิเคราะห์เฉกเช่นมนุษย์ โดยข้อมูลที่ถูกป้อนเข้ามานั้นจะมาในรูปแบบของ big data เรียนรู้และทำความเข้าใจในแบบภาษาธรรมชาติของมนุษย์ได้

การที่ IBM จะนำเสนอโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์แต่ละภาคธุรกิจได้นั้น Watson จะทำงานร่วมกับบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นๆ เพื่อเรียนรู้และสร้างระบบการประมวลผลที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มประสิทธิภาพให้ข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุดเพื่อการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นสายอาชีพอย่าง นักการตลาดดิจิทัล กลุ่มดูแลลูกค้าสัมพันธ์ ที่ปรึกษาเรื่องการเงิน คุณหมอ หรือแม้แต่เชฟ เป็นต้น

Watson มี API เพื่อให้สร้าง Chatbot โดยการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โทน จากภาษาต่างๆ, เสียงและการพูดคุย , Visual ในการจับภาพ และ API สำหรับ data insights โดยหนึ่งในบริการที่ทาง IBM นำมาแนะนำคือ Influential One เป็น A.I Influencer Platform ที่ทำงานร่วมกับ Watson วิเคราะห์ Influencer บน Instagram, Facebook และ twitter และทำการ segment ตามแต่ละ campaign สำหรับนักการตลาดได้

น่าเสียดายที่เราไม่สามารถถ่ายห้อง Interactive Zone ที่นำกรณีศึกษาเรื่องการคาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภคจากสื่อออนไลน์มาสร้างเป็นโมเดลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดูได้ แต่ต้องบอกว่าห้องนี้นำเสนองานได้เจ๋งมากๆ

กรณีศึกษา The Weather Company

โดย Brendan Hayes

ชื่อนี้หลายคนย่อมรู้จักแน่นอน แอปพลิเคชั่นดูพยากรณ์อากาศบนสมาร์ทโฟนชื่อดัง แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าบริษัทนี้เป็น Startup ที่ทาง IBM ซื้อกิจการไปเมื่อหลายปีก่อน Weather นั้นถือเป็นกรณีศึกษาการนำ IoT มาใช้ตั้งแต่ช่วง IoT ยังไม่บูมโดยการเชื่อมโยงระหว่าง  Personal Weather Stations ที่ใช้จับอุณหภูมิในสถานที่ต่างๆ แล้วส่งข้อมูลกลับเข้ามาเพื่อประมวลผล ซึ่งข้อมูลในรูปแบบของ Crowd Sourcing แบบ near realtime

IBM Watson4

มีคำขำๆ ที่เค้าใช้พูดแซวคนที่ชอบมอนิเตอร์ดูอากาศและความเคลื่อนไหวในทุกๆ วันว่า Weather Geek โดยจะติดตั้ง Personal Weather Station เอาไว้เพื่อวัดอุณหภูมิ, ความเร็วและทิศทางลม, ความชื้น, ทางขึ้นของแสงอาทิตย์ เป็นต้น ทั้งติดตั้งไว้ที่บ้านและสวนกระจายอยู่ทั่วสหรัฐฯ เลยทีเดียว

และเมื่อวิวัฒนาการเทคโนโลยี Webcam เข้ามาในปี 2007 ทำให้การวิเคราะห์เชิงลึกมากขึ้น จากข้อมูลภาพที่ถ่าย มีการประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ยุคใหม่ที่เข้ามาอาทิ Nest และ Solarcell ของบ้านต่างๆ

IBM Watson6

หนึ่งในโครงการที่ทำร่วมกับแบรนด์ใหญ่ก็มีอย่าง Samsung Galaxy S4  และ Note S3 เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งตัววัดอุณหภูมิ ความชื้น และ ความดันอากาศในตัวได้เลย รวมถึงการจัดภาพผ่าน Webcam พร้อมตำแหน่งสถานที่ และอีกแบรนด์คือรถ BMW ที่มีเซนเซอร์ติดรถไว้ใช้จับความเคลื่อนไหวของอากาศ

IBM Watson5

โดย BMW Group ใช้ข้อมูลสภาพอากาศจาก The Weather Company กับระบบ ConnectedDrive ของรถยนต์ BMW ทั่วอเมริกาเหนือ ความร่วมมือนี้ช่วยให้ผู้ขับขี่รถยนต์มีข้อมูลเชิงลึกยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสภาพอากาศเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ตัดสินใจโดยมีข้อมูลครบถ้วนว่า จะเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

โมเดลธุรกิจของ Weather - มีหลากหลายทั้งการนำเสนอข้อมูลทางทีวี, เปิดให้เชื่อมต่อกับ Consumer ผ่าน app, B2B2C กับพาร์ทเนอร์ดังๆ อย่าง apple, Samsung, ให้บริการในรูปแบบของ B2B และกับ Enterprise Government products โดยเฉพาะที่จีนและอินเดีย

IBM Watson7

Watson Internet of Things (IoT)

โดย Amit Fisher

IoT จะไม่มีประโยชน์เลยถ้าไม่สามารถดึงเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ให้กลายเป็น Insight และเกิดเป็น Action ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้มาสามารถนำไปเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนต่างๆ ตั้งแต่ Operational Performance, Customer Experience, Industry Transformation, Environmental Leadership, Institutional expertise

ในตัว Platform ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ด้วยกันได้แก่ Connect, Analytics, Information Management และ Risk Management

กรณีศึกษาที่ทาง IBM นำมาแนะนำวันนี้มี 3 ตัวหลักๆ

  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธอมัสเจฟเฟอร์สัน โรงพยาบาลขนาดกว่า 900 เตียงที่วางแผนติดตั้งลำโพงในห้องผู้ป่วย ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม Cloud Watson IoT และมีความสามารถในการประมวลผลภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสอบถามข้อมูล (เช่น อยากทราบประวัติคุณหมอที่ทำการรักษาฉันอยู่? วันอังคารนี้น้องชายจะมาเยี่ยมฉันได้ตอนไหน?) ควบคุมอุปกรณ์บางอย่างภายในห้อง (เช่น ปิดมู่ลี่ ปรับระดับแสง ปรับอุณหภูมิ หรือเปิดเพลงแนวที่ต้องการ) แจ้งให้ระบบช่วยเตือน (เช่น ช่วยเตือนให้ลุกขึ้นและเดินทุกสี่ชั่วโมง) หรือสื่อสารแบบสองทางกับระบบ (เช่น บอกให้ระบบช่วยติดตามและบันทึกกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับพยาบาล) โดยสื่อสารผ่านลำโพงที่ติดตั้งในห้อง

  • รถ IoT ไร้คนขับออลลี่ที่พัฒนาขึ้นโดยลอคัลมอเตอร์ส โดยมีการติดตั้งเซ็นเซอร์บนรถกว่า 30 จุด ร่วมกับการใช้ iCognitive อาทิ Watson Speech to Text, Natural Language Classifier, Entity Extraction และ Watson Speech to Text บนแพลตฟอร์ม Watson Cloud IoT ทำให้ระบบสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการเดินทางและปรับรูปแบบการให้บริการให้เหมาะกับความต้องการของผู้โดยสารในแต่ละจุดที่มีการให้บริการได้ นอกจากนี้ ผู้โดยสารยังสามารถสื่อสารกับรถ รวมถึงถามคำถามเกี่ยวกับการทำงานของรถ สอบถามจุดหมายปลายทางหรือจุดที่รถจอด แจ้งเส้นทางที่ต้องการไป ถามข้อมูลร้านอาหารหรือสถานที่ท่องเที่ยวในละแวกใกล้เคียง หรือสอบถามว่ารถมาถึงตำแหน่งที่ต้องการลงหรือยัง โดยเทคโนโลยีค็อกนิทิฟไอบีเอ็มวัตสันช่วยให้รถสามารถเข้าใจและตอบคำถามผู้โดยสาร เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์การเดินทางที่เพลิดเพลินสะดวกสบาย

  • ในแง่ FinTech กับ VISA - นอกจากนี้ IBM ยังประกาศจับมือ VISA เพื่อผสานเทคโนโลยี Conitive และแพลตฟอร์ม Watson IoT เข้ากับระบบชำระเงิน VISA ที่ปัจจุบันอยู่เบื้องหลังการใช้จ่ายกว่าร้อยละ 60 ทั่วโลก โดย Watson จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อและถอดรหัสมุมมองเชิงลึกจากอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่คาดว่าจะมีจำนวนถึง 20,000 ล้านชิ้นทั่วโลกในปี 2563 ความร่วมมือในการนำ IoT มาใช้ในด้านคอมเมิร์ซครั้งนี้จะส่งผลให้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา แหวน เครื่องใช้ต่างๆ หรือแม้แต่รถยนต์ สามารถชำระเงินในส่วนที่ผู้ใช้อนุญาตให้ดำเนินการแทนได้ ตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคสามารถเช่ารถ จากนั้นระบบจะดึงข้อมูลปริมาณการใช้งานรถในแต่ละวันพร้อมดำเนินการชำระเงินโดยอัตโนมัติ ความร่วมมือดังกล่าวยังส่งผลให้บริษัทต่างๆ สามารถเข้าถึง Visa Token Service ได้ผ่านแพลตฟอร์มวัตสันไอโอที โดย Visa Token Service  เป็นเทคโนโลยีระบุตัวตนดิจิทัลที่มีความปลอดภัยสูง ช่วยให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเผยรายละเอียดของบัญชี เลขหน้าบัตร 16 หลัก วันหมดอายุ หรือเลขท้ายบัตรเครดิตอย่างในปัจจุบัน และช่วยให้องค์กรสามารถผนวกรวมระบบจ่ายเงินดิจิทัลที่ปลอดภัยและใช้งานง่ายเข้ากับทุกผลิตภัณฑ์ สนับสนุนการชำระเงินและการซื้อขายผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันแบบทุกที่ทุกเวลา

Watson Customer Engagement

โดย Dr.Kareem Yusuf

ใน session นี้ได้ผู้บริหารระดับสูง Dr.Kareem Yusuf มาเล่าให้ฟังถึงโครงสร้างของกลุ่ม Product ด้าน Customer Engagement ปัจจุบันเมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มการตลาดทั้งที่ทาง IBM พัฒนาเองและเข้าซื้อกิจกรรม ปัจจุบัน Watson Customer Engagement จึงมีโซลูชั่นที่ครบวงจรตอบโจทย์ในกลุ่ม

  • Watson Marketing - Campaign Automation, Marketing Insights, Real-Time Personalisation
  • Watson Commerce - Digital Commerce, Order Management และ Store Engagement
  • Watson Supply Chain - Supply Chain Business Network, Supply Chain Insights และ Order Management

IBM Watson10

ตัวอย่างองค์กรที่ใช้งาน IBM Watson Customer Engagement ปัจจุบัน IBM ร่วมกับบริษัทต่างๆ มากกว่า 17,000 แห่งทั่วโลก ในการนำ IBM Watson Customer Engagement เข้าเสริมศักยภาพธุรกิจ รวมถึงองค์กร อาทิ Amadori Group, American Eagle Outfitters, Boots, Ermes, Luxottica, Moosejaw Mountaineering, Office Brands, Performance Bicycle, REI, The Clorox Company, The North Face, The Works UK, William Sonoma และธุรกิจต่างๆ ดังนี้

  • Charlotte Russe Charlotte Russe ธุรกิจค้าปลีกเสื้อผ้าสตรีในสหรัฐอเมริกา กำลังใช้โซลูชัน Watson Customer Engagement บน IBM Cloud เพื่อช่วยในการบันทึกจำนวนคำสั่งซื้อของลูกค้า ปรับปรุงความสามารถในการทำกำไร และรักษาความพึงพอใจระดับสูงของลูกค้า ระบบบริหารจัดการคำสั่งซื้อซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์ Watson Customer Engagement ช่วยให้ Charlotte Russe สามารถจัดการคำสั่งซื้อ ผนวกรวมกับระบบประมวลผลทางการเงิน ทำการแจ้งเตือนการส่งสินค้า ดำเนินการกับอีเมลลูกค้าและระบบชำระเงิน รวมถึงอัพเดตระบบสินค้าคงคลัง อีกทั้งยังมีข้อมูลครบถ้วนมากขึ้นสำหรับการตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อคำสั่งซื้อของลูกค้าอย่างไร ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงความสามารถในการทำกำไรและความพึงพอใจของลูกค้า ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันลูกค้าสามารถสั่งชุดกระโปรงบนสมาร์ทโฟนและเลือกว่าจะรับสินค้าจากสาขาที่เดินทางผ่าน โดยระบบบริหารจัดการคำสั่งซื้อซึ่งทำงานโดยอัตโนมัติจะสามารถตรวจสอบสินค้าคงคลัง และเมื่อพบว่าสินค้าไซส์ที่ลูกค้าต้องการขาดสต็อค ก็จะระบุได้ทันทีว่าสาขาใดมีสินค้าพร้อมจัดการให้สามารถนำสินค้าชิ้นนั้นไปส่งในร้านที่ต้องการอย่างรวดเร็วที่สุด หลังจากนั้นพนักงานขายในร้านจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือว่าสินค้ากำลังจะมาถึง พร้อมทั้งคำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องประดับอื่นๆ ที่ลูกค้าอาจสนใจโดยอิงตามโปรไฟล์เฉพาะตัวของลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าถูกใจเครื่องประดับ แต่ต้องการสีอื่น พนักงานขายสามารถค้นหาว่าสาขาใดมีสินค้า และจัดส่งตามไปที่บ้านของลูกค้าในภายหลัง
  • Harry & David® ในปีที่ผ่านมา บริษัทแม่ของ Harry & David ซึ่งก็คือ 1-800-FLOWERS.COM ได้เปิดตัว "GWYN™" (Gifts When You Need) ซึ่งเป็นบริการผู้ช่วยส่วนตัวที่ใช้ IBM Watson ในการช่วยให้ลูกค้าค้นหาของขวัญที่ตอบโจทย์ จากผลิตภัณฑ์มากกว่า 7,000 รายการ ผลการสำรวจพบว่า 80% ของลูกค้าที่ใช้ GWYN ได้รับประสบการณ์เชิงบวกและต้องการกลับมาใช้บริการอีกครั้ง ความสำเร็จนี้ทำให้บริษัทขยายความสามารถของ GWYN มาสู่ Harry & David เพื่อช่วยค้นหาสินค้าที่เหมาะสม ตั้งแต่ผลไม้ไปจนถึงช็อกโกแลตและขนมอบ เพื่อมอบเป็นของขวัญในวาระโอกาสต่างๆ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าสามารถพิมพ์ว่า "ฉันต้องการส่งของกำนัลเพื่อแสดงความขอบคุณ" จากนั้นระบบจะตีความคำถามพร้อมสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับวาระโอกาส ความรู้สึกของผู้ให้ และบุคคลที่จะรับของกำนัล GWYN ยังสามารถเรียนรู้ว่าแต่ละคนชอบของขวัญลักษณะไหน และสามารถยกระดับคุณภาพของประสบการณ์การซื้อสินค้าให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดย GWYN สามารถค้นหาผลิตภัณฑ์จากหลายพันรายการที่มีเพื่อเลือกของขวัญที่เหมาะสมมากที่สุดกับผู้รับ
  • Titan Company Limited ผู้นำในแวดวงนาฬิกาและเครื่องประดับของประเทศอินเดีย ใช้ IBM Watson Customer Engagement เป็นแกนหลักของแพลตฟอร์มออนไลน์ของบริษัท ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถปรับแต่งแคมเปญออนไลน์ในแบบเฉพาะตัวสำหรับลูกค้าของตน โดยไม่เพียงพิจารณาแค่ความชอบและการซื้อสินค้าที่ผ่านมา (สิ่งที่ลูกค้าจ่ายเงินซื้อก่อนหน้านี้ และข้อเสนอที่ก่อให้เกิดการตอบสนอง) แต่ยังใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมแบบเรียลไทม์ของลูกค้า (กล่าวคือ สินค้าใดที่มีการดูมากที่สุด ช่องทางใดที่ลูกค้าซื้อ เพราะเหตุใดลูกค้าจึงไม่ทำรายการซื้อในรถเข็นจนเสร็จ ฯลฯฃ) ดังนั้น แคมเปญการตลาดจะสามารถปรับให้เหมาะสมได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการซื้อสินค้า ตัวอย่างเช่น Titan สามารถทราบสไตล์ที่ลูกค้าชอบจากข้อมูลการสั่งซื้อในอดีต แล้วแนะนำดีไซน์ใหม่ที่ตรงกับความชอบของลูกค้า สามารถปรับจำนวนส่วนลดให้เหมาะสม และยังทราบว่าควรส่งข้อเสนอไปในช่องทางใด เช่น ผ่านทางอีเมล อุปกรณ์สื่อสารพกพา ฯลฯ จากนั้น เมื่อลูกค้าเข้ามาดูข้อมูลในเว็บไซต์ ระบบยังสามารถระบุได้ถึงสินค้าอื่นๆ ที่ลูกค้าน่าจะสนใจ พร้อมมอบรูปแบบข้อเสนอที่น่าสนใจสำหรับสินค้านั้นๆ ทันที Titan ตั้งเป้าที่จะใช้แพลตฟอร์มของ IBM เพื่อกระตุ้นผู้เข้าชมเว็บไซต์ ร้านค้าปลีกกว่า 1,500 แห่ง รวมถึง เอาต์เล็ตที่ขายสินค้าหลากหลายแบรนด์อีกกว่า 10,000 แห่งทั่วอินเดีย โดยพนักงานขายในร้านค้าเหล่านี้ จะมีแอพบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อให้รายละเอียดของผู้ซื้อแต่ละคน (ตั้งแต่การซื้อที่ผ่านมา ไปจนถึงสไตล์ที่ชอบ และอื่นๆ) ช่วยให้พนักงานขายสามารถรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้แบบตอบโจทย์เฉพาะบุคคล ทั้งนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดียกำลังจะไล่ตามทันตลาดสหรัฐฯ และกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกภายในเวลาน้อยกว่าสองทศวรรษ
  • Performance Bicycle เป็นผู้ค้าปลีกจักรยานที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา มีสาขามากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ โดยที่ผ่านมาพบว่าบรรดาผู้ที่ชื่นชอบการขี่จักรยานมักศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ล่าสุดก่อนเดินทางไปยังร้านค้าเพื่อทดลองขี่และซื้อสินค้า ด้วยเหตุนี้ Performance Bicycle จึงต้องการทำความเข้าใจเนื้อหาที่ลูกค้าใช้เวลาในการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ เพื่อออกแบบเป็นจักรยานที่ตรงกับความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้าแต่ละคน สิ่งนี้ช่วยผลักดันให้เกิดความภักดีในหมู่ลูกค้าที่ใช้จ่ายเงินมากถึง 5,800 ดอลลาร์สำหรับจักรยานใหม่หนึ่งคัน Performance Bicycle พบว่า IBM Watson Customer Engagement สามารถแท็กเนื้อหาและทำการเชื่อมโยงได้ในแบบที่ทีมไม่สามารถทำได้มาก่อน ตัวอย่างเช่น Watson ค้นพบว่าลูกค้าที่ซื้อจักรยานภูเขากำลังดูวิดีโอซึ่งทีมไม่เคยใช้ประโยชน์มาก่อน ซึ่งรวมถึงวิดีโอเกี่ยวกับการขี่จักรยานในทะเลทราย โซลูชันดังกล่าวยังช่วยให้ Performance Bicycle สามารถรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของตน (ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ากำลังศึกษา ช่วงราคาที่ต้องการ ฯลฯ) แคมเปญการตลาดทางอีเมล (แคมเปญใดที่ผลักดันให้เกิดการดำเนินการ) คอนแทคเซ็นเตอร์ และอื่นๆ ผลที่ได้รับก็คือ ทีมการตลาดสามารถนำเสนอประสบการณ์ในแบบเฉพาะบุคคลให้แก่ลูกค้าในหลายช่องทาง รวมทั้งสามารถประเมินการตอบสนองและปรับแก้ตามความจำเป็นเพื่อผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ในปัจจุบัน ทีมการตลาดของ Performance Bicycle สามารถมองเห็นว่า มีลูกค้ามือใหม่จำนวนมากที่กำลังดูวิดีโอรีวิวสินค้าบนเว็บไซต์ศูนย์การเรียนรู้ของบริษัท จากข้อมูลเชิงลึกนี้เอง ทำให้ทีมสามารถปรับเนื้อหานั้นเข้ากับแคมเปญทางอีเมลเป้าหมาย โดยมีลิงก์ไปยังข้อมูลเพิ่มเติมและคลับสำหรับนักขี่มือใหม่ในท้องถิ่น กำหนดการนัดหมายภายในร้านเพื่อให้ลูกค้าได้ชมและทดลองขี่จักรยาน และมอบส่วนลดสำหรับการซื้อครั้งแรก ตลอดจนทุกสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจที่จะเดินเข้ามาในร้านค้าในพื้นที่ของตน เมื่อมาถึงร้าน ทีมขายจะมีข้อมูลพร้อมสรรพเกี่ยวกับจักรยานที่ลูกค้าชื่นชอบและทางเลือกอื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์เสริมที่นักขี่มือใหม่ควรพิจารณา (หมวกกันน็อค ถุงมือ ฯลฯ)

Building Business in the API Economy

โดย Alyssa Simpson

เป็นการแนะนำตัวอย่างหลายๆ เคสที่เชื่อมต่อกับ API ของทาง Watson มาแชร์ให้ฟัง หนึ่งในนั้นรวมถึง Jill ซึ่งเป็น Teaching Assistant ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก AI ชนิดที่นักเรียนก็จับได้ยากว่า TA ที่เค้ารู้จักนั้นไม่ใช่มนุษย์

IBM Watson11

  • CogniToys  ของเล่นอัจฉริยะเพื่อการศึกษาของเด็กวัย 5-9 ขวบ ที่ทำงานอยู่บน IBM Watson สามารถโต้ตอบ เล่านิยาย เล่นเกม เล่นตลก เรียนรู้และเติบโตไปกับลูกน้อยของเรา แบบ Personalize เลยทีเดียว

Cognitoys

  • ROSS Intelligence ใช้ AI ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ภาษาธรรมชาติเพื่อ filter ค้นหาเอกสารกฏหมายแทนที่จะใช้ keyword แต่สามารถพูดถามเข้าไปได้

  • iTrend.TV  ดึงเดต้าจาก Social Media Blogs, Videos และ Live Stream feeds หลังจากนั้นนำไปวิเคราะห์และจัดอันดับ และแนะนำให้เกิดเป็น action
  • OmniEarth บริษัทที่วิเคราะห์และให้ข้อมูลในเชิงของพลังงาน แหล่งน้ำ และทรัพยากรบนโลกเพื่อธุรกิจที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ในเชิงเกษตรกรรมและอุตสหกรรม

  • Aerialtronics บริษัทจากเนเธอแลนด์เปิดตัว drone ที่ทำงานร่วมกับ IBM Watson IoT ให้บริการ inspection serevice สำหรับองค์กรต่างๆ ที่ต้องการมอนิเตอร์ข้อมูลตั้งแต่ pattern การจราจร สังเกตการเคลื่อนที่ของลม การ optmize เสาสัญญาณโทรศัพท์ ขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น

  • Macys เปิดตัวบริการ Macys on call เป็น mobile web tool ที่ช่วยแนะนำข้อมูลให้นักช้อประหว่างเดินอยู่ในร้านค้ากว่า 10 สาขาทั่วอเมริกา ผู้ใช้สามารถป้อนคำถามเข้าไป ระบุตัวสินค้า สาขา แบรนด์ และสถานที่ หลังจากนั้น Macys on call ก็จะตอบมาให้ รวมถึง customise คำตอบให้ตรงกับนักช้อปแต่ละคน

นี่เป็นเพียงส่วนแรกของการชมงานในทริปนี้ อย่าลืมติดตามบทความถัดไปกับ LaunchFestival สุดท้ายขอขอบคุณ Digital Ventures และ IBM ที่ให้การสนับสนุนการชมงานครั้งนี้ด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

นับถอยหลัง Bitcoin Halving Month พร้อมแนวคิดการลงทุนของคนรุ่นใหม่ ในงาน Bitkub Meetup 2024: The Halving Month

กลับมาอีกครั้งกับงาน Bitkub Meetup 2024 ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ: The Halving Month ร่วมนับถอยหลังสู่เดือนแห่ง Bitcoin Halving บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงประวัติศาสตร์ของ Cryptocurrency แ...

Responsive image

6 เทรนด์ Gen AI ฉบับเข้าใจง่าย จาก Accenture พร้อมเคสการใช้งานจริงในภาคธุรกิจ

รวมประเด็นน่ารู้จาก Accenture ที่จะทำให้ผู้บริหารและพนักงานเข้าใจการนำ Generative AI ไปใช้ประโยชน์มากขึ้น เช่น 6 เทรนด์ Gen AI พร้อมเคสการใช้งานจริงในภาคธุรกิจ, ผู้บริหารระดับ C-su...

Responsive image

ทักษะ AI ไม่มีไม่ได้แล้ว สำรวจพบใครใช้ AI เป็น เงินเดือนเพิ่ม อนาคตสดใส

ทักษะ AI วันนี้ไม่มีไม่ได้แล้ว ใครเก่ง AI นายจ้างไทยยินดีจ่ายเงินเดือนเพิ่มให้ 41% ด้านคนทำงานเร่งพัฒนาทักษะ หวังสร้างงาน สร้างอาชีพให้ดีขึ้น...