สัมภาษณ์พิเศษ อ.ดร.มัลลิกา สังข์สนิท จากการไปดูงานเรื่องการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ประเทศสวีเดน | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ อ.ดร.มัลลิกา สังข์สนิท จากการไปดูงานเรื่องการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ประเทศสวีเดน

การเรียนการสอนและการพัฒนาส่งเสริมด้านความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) หลายๆ ประเทศมีการดำเนินการมานานแล้ว สำหรับในไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นอยู่ แต่ก็มีบุคคลากรหลายท่านที่เข้ามาช่วยและเริ่มผลักดันด้านนี้ ซึ่งครั้งนี้เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์กับอาจารย์ ดร. มัลลิกา สังข์สนิท อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ และมักเรียกตัวเองว่าเป็น Edupreneur (Education + Entrepreneur) ด้านนี้โดยเฉพาะเลยก็ว่าได้ โดยจะได้มาถ่ายทอดประสบการณ์จากการดูงาน SUT-STI Technical Visit เพื่อถอดโมเดลการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology Entrepreneurship) และการพัฒนา Entrepreneurial University ในมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสวีเดน และฟินแลนด์ อีกทั้งแนวทางการปรับใช้ในประเทศไทยของเรา

12273013_1208627222503072_543438985_n

จุดเด่นของระบบ ecosystem ในประเทศสวีเดนเป็นอย่างไรบ้างคะ ?

จริงๆ แล้วจุดเด่นของระบบ ecosystem ของสวีเดนคือ การบูรณาการ และวิธีคิด   ที่สวีเดนจะมีวิธีการคิดแบบองค์รวม เนื่องจากมีหน่วยงานที่ชื่อว่า VINNOVA หรือเรียกว่าเป็น  innovation export สำหรับประเทศของเขาเลย หรือถ้าเปรียบได้กับประเทศของเราคือสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งช่วยกันทั้งคิดนโยบาย เสนอแนะนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน  และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของประเทศ  ประเทศของเขามีการคิดแบบองค์รวม มีเป้าหมายเดียวกัน และทำงานให้เหมือนเป็นจิ๊กซอ นั่นคือมีหลายภาคส่วนที่เขามาช่วยในการสร้างนวัตกรรมของประเทศ

VINNOVA ได้รับมอบเป้าหมายคือ การสร้างนวัตกรรม สร้างความสามารถทางการแข่งขัน สร้างเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้ประเทศ   ซึ่งเราก็ทราบกันดีว่า กลุ่มประเทศนี้ไม่ว่าจะเป็น นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งวิจัยอันดับต้นๆ ของโลก และมีบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก จ้างงานคนภายในประเทศ อยู่ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ทั้งที่เขามีประชากรในประเทศไม่เยอะ อย่างประเทศฟินแลนด์ก็มี Nokia ที่เป็นบริษัทใหญ่ ทั้งยังมีบริษัทที่มีเทคโนโยโลยีที่สำคัญเยอะมาก แต่บริษัทเหล่านี้ก็สามารถล้มได้เพราะกระแสการแข่งขัน  และหากบริษัทเหล่านี้ล้ม ดังที่เห็นจาก การล้มของ Nokia ก็กระทบระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นประเทศเหล่านี้จึงต้องคิดและหาทางสร้างเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเก็นได้ชัดถึงเป้าหมาย เรื่อง Sustainability ของทุกองค์กของสวีเดน ไม่เว้นแต่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งน่าสนใจมากว่าทำไมเขาพูดภาษาเดียวกันทั้งประเทศ สื่อสารกันยังไง

ตามหลักธุรกิจแล้วบริษัทใหญ่จะล้มทุกๆ 10 ปี พอเกิดสถานการ์นี้พวกเขาจึงหาวิธีการให้ประเทศของเขาสามารถที่จะอยู่ได้ และสามารถแปลงองค์ความรู้ที่มีอยู่เพื่อให้ได้เปรียบในเชิงเศรษฐกิจวิธีคิดของเขาการแปลงความรู้เป็นเงิน นั้นหมายความว่า นำเงินมาใช้เพื่อสนับสนุนงานวิจัย แต่เราก็ต้องแปลงงานวิจัยดังกล่าวนั้นเพื่อสร้างเงินหรือรายได้ด้วยนั้นเอง

 

ตัวเงินสร้างองค์ความรู้ (งานวิจัย) แต่เมื่อไรก็ตามไม่มีการแปลงงานวิจัยออกมาเป็นนวัตกรรม (นั่นคือไม่ได้เกิดมูลค่าใดๆ) ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร

พวกเขาจึงมองว่า Entrepreneurship เป็นส่วนสำคัญในการสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา ดังนั้นจึงมีการจัดโปรแกรมต่างๆ ให้สร้าง Ecosystem ให้ออกมาเป็น innovation โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

  1. โดยการสร้าง Startups ผู้ประกอบการในการสร้างสรรค์ธุรกิจหรือ innovation ขึ้นมา
  2. การสร้างความเป็นผู้ประกอบการหรือ Entrepreneur

VINNOVA จึงมีโครงการชื่อ  Key Actor Program ขึ้นมาเพื่อหาระบบการสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย/องค์ความรู้/ทรัพย์สินทางปัญญา  ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็น Key Actor ใน Entrepreneurship/Innovation Ecosysem (ตอนนี้ Key Actor Program ดำเนินการมาครบ 10 ปี และยังพบว่ามีจุดที่ต้องทำต่อ ทาง VINNOVA ได้คิดโครงการต่อยอดคือ Knowledge Traiangle ซึ่งกำลังเริ่ม Implement)  ดังนั้นจึงมีการร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยในการผลักดัน Startups  ขึ้นมาในการสร้างงานวิจัย รวมถึงการสร้าง Entrepreneurial Skills ให้กับ นศ. บุคลากรวิจัย  และส่งเสริม สนับสนุน (ด้านการเงินและอื่นๆ) เพื่อให้มหาวิทยาลัยมี Tech Transfer Office (TTO), Incubator และ Accelerator, Science Park, Innovation Office, และอื่นๆ  เพื่อให้เกิด  Ecosystem ที่จะสนับสนุนให้เกิด innovation จริงๆ  เขาเน้นทำงานแบบร่วมมือ Triple Helix  มีการร่วมมือกันระหว่างเมืองกับมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นยังมีการร่วมมือจากภายนอกไม่ใช่เพียงแค่ตัวมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว

VINNOVA ให้มหาวิทยาลัยคิดและเสนอแนวทางมาเองว่าจะส่งเสริมเรื่องนี้อย่างไร  ดังนั้นบทบาทของเขาในแต่ละพื้นที่ก็ยังมีความแตกต่างกัน บางมหาวิทยาลัยต้องการลองโมเดลการสร้างผู้ประกอบการ โดยมีการเปิดหลักสูตรและสร้างสิ่งสนับสนุนอื่นๆ  บางมหาวิทยาลัยก็เริ่มโดยการบอกว่าตัวเองจะสร้าง Entrepreneuership และส่งต่องานสนับสนุน Startup กับหน่วยอื่น  แต่ที่เห็นชัดมากในตอนนี้คือ หลายๆมหาวิทยาลัย (หลังจากที่ได้ทดลองดำเนินงานกันมานานพอ สมควร) ก็จะเริ่มคล้ายกันคือ การมีหลักสูตร มีรายวิชาด้านความเป็นผู้ประกอบการที่ให้ทุกคณะหรือสาขาวิชาต่างในมหาวิทยาลัยลงทะเบียนเรียน เพื่อสร้างให้มีความเป็นผู้ประกอบการอยู่ในตัว และมหายวิทยาลัยยังได้รับความร่วมมือจาก  Angle และ VC (Venture Capital)  และที่มากไปกว่านั้นคือ หน่วยงานของมหาวิทยาลัยเองก็จะมีหน่วยที่ทำหน้าที่ Invest ใน Startups ด้วย   ดังนั้นสวีเดนจึงเป็นประเทศที่ครบวงจรในเรื่อง Startups Ecosystem เลยก็ว่าได้

จุดเด่นที่ Startups Ecosystem ที่แตกต่างจากประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัดคืออะไร ?

การดำเนินโยบายของเขาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเนื่องจากทางรัฐบาลจะมี Innovation Policy ของประเทศและสั่งการให้แต่ละหน่วยที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำงานประสานกัน จึงเกิดเป็นวงจรที่ต่อเนื่องกันในทุกภาคส่วน โดยอย่างประเทศสวีเดนเองก็จะมี Vinnova เป็นศูนย์กลางให้ Startups ในเรื่องนี้ ส่วนเมืองไทยยังไม่มีหน่วยงานที่ให้ความสำคัญที่ยื่นมือมาช่วยแบบครบวงจรได้ขนาดนั้น เรายังทำงานแยกส่วนกันมาก แต่ก็กำลังเห็นความพยายามของรัฐบาลไทยที่อยากจะบูรณาการการทำงาน แต่ต้องคอยดูกันต่อไป เพราะเมืองไทยยังขาด Expert ในเชิงนโยบายและการสนับสนุนอย่าง VINNOVA

ส่วนหนึ่งที่สวีเดนแตกต่างคือเขายอมให้ Startups หรือแม้แต่องค์กร (โครงการ)  สามารถล้มเหลวในไอเดียที่พวกเขาคิดได้เพราะ Startups ส่วนใหญ่กว่าจะสำเร็จได้นั้นก็มักเรียนรู้จักความไม่สำเร็จมาก่อนทั้งนั้น ในขณะที่เมืองไทยยังติดภาพที่ว่าหากทำไม่ได้ตามที่กำหนดนั้นคือล้มเหลว  สวีเดนมองว่าการปรับเปลี่ยนอะไรเป็นเรื่องปกติแต่บ้านเรายังไม่ได้มองแบบนั้น หากเมืองไทยมีการปรับให้เป็นแบบนี้ได้ มันจะดีมาก การ adjust หรือการปรับไม่ใช่สิ่งผิดอะไร ดังนั้นเขาจึงมีวิธีการคิดและพัฒนาอยู่เรื่อยๆ แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยเองก็ผลักดันตัวเองเป็น Entrepreneurial university เพื่อการทำงานแบบกล้าคิด กล้าทำ สร้างนวัตกรรม และทำงานแบบบูรณาการ  

Startups สวีเดนแตกต่างจาก Startups ไทยอย่างไร ?

จริงๆ แล้วไอเดียธุรกิจไม่ได้มีความแตกต่างอะไรมากมาย ไม่ได้เลิศเลอเพอเฟคร์เกินกว่าไทยอะไรซะขนาดนั้น แต่สิ่งที่แตกต่างคือ คนที่เข้ามาร่วมโครงการและเริ่มเป็น Startups ที่นั้นมีมาจากหลากหลายชาติ  Think Global ตั้งแต่แรก  เน้นการสร้างสิ่งใหม่ (นวัตกรรม) ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐาน หน่วยงานสนับสนุนมี Network ที่ดีและมี Mentor เยอะมากที่ไม่ได้จ่ายสตางค์หรืออาสาเป็น volunteer เพื่อช่วยผลักดันกันอย่างเต็มที่ รัฐเองก็สนับสนุนมาก ให้เงิน ให้การสนับสนุน สร้างเครือข่ายให้  แม้กระทั่งโครงการ ของ Aalto University เช่น พานักศึกษาไปเรียนรู้ฝึกงานกับ Statups ใน Silicon Valley มหาวิทยาลัยยังสนับสนุนและจ่ายค่าใช้จ่ายให้  มหาวิทยาลัยเข้ามามีบทบาทมาก ทำให้เขาสร้างสิ่งที่ Wow ได้จริงจังมาก

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยนั้นก็ต้องบอกว่า ไทยเรายังมีสิ่งที่เขามีน้อยมาก  เมืองไทยยังขาด Mentors อีกมาก ยังไม่มีระบบการสนับสนุนอย่างจริงจัง มหาวิทยาลัยก็ยังไม่เห็นความสำคัญอย่างจริงจัง  รัฐก็ยังไม่เข้าใจ  เราต้องการคนที่มีประสบการณ์เพื่อสร้าง Win-Win situation คำถามคือทำอย่างไรประเทศไทยถึงจะเป็นแบบนั้นเพราะถ้าเป็นแบบนั้นได้จะทำให้โอกาสของความล้มเหลวในการคิดไอเดียของ Startups ใหม่ล้มเหลวน้อยลง และทำไงจะขยายผลไปต่างจังหวัด ไม่กระจุกตัวแต่ในกรุงเทพฯ  ในต่างจังหวัดเป็นเรื่องยากมากในการทำเรื่องการสร้าง Startups  และ Entrepreneurship เราจึงควรมีการผลักดันเรื่องนี้กันอย่างจริงจังเพื่อให้ประเทศของเราเดินหน้าได้


 

หวังว่าทุกคนจะได้รับข้อคิดเห็นและประสบการณ์ดีๆ แบบนี้เพื่อไปปรับใช้และสร้างสรรค์ศูนย์กลางของ Startups และนักพัฒนาใหม่ๆ ไปใช้ได้ และต้องขอบคุณอาจารย์ ดร.มัลลิกา อาจารย์ผู้ยึดมั่นซึ่งการพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไว้ ณ ที่นี้ ที่สละเวลาให้พวกเราทีมงาน Techsauce ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ค่ะ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...