IoT ต้องการมากกว่าอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ | Techsauce

IoT ต้องการมากกว่าอุปกรณ์และซอฟท์แวร์

บทความนี้เขียนโดย เบิร์น กุนเทอร์, Client Principal and Future Maker บริษัท ThoughtWorks 

ทุกครั้งที่มีการถกกันเรื่อง Internet of Thing ( IoT ) ทุกบริษัทจะมองเห็นแต่ข้อดี แต่หลายๆ บริษัทกลับพบว่าจะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเพราะเหตุใด

ในช่วงปีพศ. 2561-2562  บริษัทมากมายทั่วโลกมีแผนลงทุนด้าน IoT โดยผลการศึกษาของกลุ่มนักวิเคราะห์ IDG ชี้ว่าการลงทุนพุ่งเป้าไปที่ระบบเคลาด์ และความปลอดภัยของข้อมูล รองลงมาคือด้านฮาร์ดแวร์ เช่น เซนเซอร์

จากผลการศึกษายังพบว่า โครงการ IoT ส่วนใหญ่ ต้องการสร้างระบบออโตเมชันและการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเทคโนโลยีการผลิต ถัดมาคือเพื่อสร้างสินค้าที่มีการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตและระบบควบคุม ว่าง่ายๆ คือทุกคนกำลังก้าวเข้าอุตสาหกรรมยุค 4.0

เพื่อความสำเร็จ อันดับแรกทุกคนต้องยอมรับก่อนว่า IoT ไม่ใช่เป้าหมายแต่มันคือเครื่องมือในการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและพนักงาน และเพื่อให้เครื่องมือนี้ทำงานได้ บริษัทต้องมีวิธีการทำงานแนวใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงาน และมีทีมงานที่มุ่งมั่นให้งานสำเร็จ

แน่นอนว่า IoT ต้องการซอฟท์แวร์ที่ดี แต่ตัวเครื่องมือก็ต้องดีด้วย และนั่นหมายถึงนักพัฒนาซอฟท์แวร์และวิศวกรเครื่องกลต้องทำงานด้วยกันอย่างไกล้ชิดและเรียนรู้ไปด้วยกัน สิ่งที่ต้องท่องไว้คือวงจรการพัฒนาในปัจจุบันนั้นสั้นขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นที่เราต้องนำเสนอสิ่งที่เราสร้างขึ้นออกมาทีละน้อย ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาที่จับชีพจร ตัวนาฬิกาทำงานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ จากนาฬิกาธรรมดากลายมาเป็นตัววัดความฟิตของร่างกาย และต่อมาก็เป็นเสมือนผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพส่วนตัวที่มีการเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลอื่นทางอินเตอร์เน็ต แต่กว่าจะมาเป็นเช่นทุกวันนี้ ก็ต้องปรับปรุงซอฟท์แวร์อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี

อุปกรณ์สำหรับผู้บริโภคจะทำงานได้อย่างชาญฉลาดก็ต้องมีระบบนิเวศน์ที่ชาญฉลาดด้วย ในทางเทคนิคแล้ว ระบบนิเวศน์ที่ชาญฉลาดต้องมีองค์ประกอบสามอย่าง นั่นคือ ระบบที่ฝังในตัวอุปกรณ์ ระบบการทำงานแบบเคลื่อนที่ และระบบข้อมูล โดยระบบที่ฝังในอุปกรณ์จะเป็นตัวกระตุ้นให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างชาญฉลาดตามหน้าที่ของมัน ระบบการทำงานแบบเคลื่อนที่ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และระบบข้อมูลจะทำการเชื่อมข้อมูลกับระบบภายนอก ถ้าไม่มี 3 สิ่งนี้ตัวอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นหม้อต้มกาแฟหรือระบบปฏิบัติการในโรงงานก็จะเป็นได้แค่อุปกรณ์ธรรมดาๆ

แต่กว่าจะไปถึงขั้นนั้น ก็ต้องมีการทดสอบมากมาย รวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ดี

บริษัทเฟรช เอนเนอร์ยี ในประเทศเยอรมนี ซึ่งตามข้อมูลบริษัท ได้กล่าวว่าเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายแรกของเยอรมนีที่ใช้ระบบดิจิตัลเต็มรูปแบบ บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจให้บริการหลายส่วนทั้งการผลิตไฟฟ้า ระบบการประมวลผล แอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ และการให้บริการลูกค้าบนระบบที่ชาญฉลาดและสามารถขยายการให้บริการได้

ระบบประมวลผล ระบบการเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการจดจำการใช้ ทำให้ได้ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชิ้น  ข้อมูลทุกอย่างจะปรากฏที่ดิจิตัลแพลตฟอร์มของบริษัทที่ ThoughtWorks ช่วยพัฒนาขึ้น ปัจจุบันลูกค้าของเฟรช เอนเนอร์ยี จึงสามารถรู้ได้ถึงการใช้ไฟฟ้าของตนและปรับการใช้ไฟฟ้าของตัวเองได้ ด้วยแพลตฟอร์มนี้ เฟรช เอนเนอร์ยี จึงมีลูกค้าใหม่ๆ หลายพันรายและสามารถใช้ข้อมูลในการปรับปรุงระบบการทำงานเดิมและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ แน่นอนว่าแพลตฟอร์มนี้ยังสามารถรองรับคู่ค้าธุรกิจอื่นๆ ได้ด้วย

โดยสรุปแล้ว ระบบนิเวศน์ที่ชาญฉลาดคือระบบที่สามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว มีความคล่องตัว และสามารถขยายตัวได้ มันคือระบบที่เพิ่มมูลค่าให้กับผู้ใช้ ลูกค้าและคู่ค้าด้วยการทำให้ระบบทำงานได้ง่ายๆ ลดค่าใช้จ่าย และทำให้ระบบปัจจุบันทำงานได้ดีมากขึ้น

ระบบนิเวศน์ที่ชาญฉลาด ยังรวมถึง

- การหลีกเลี่ยงโครงการการลงทุนที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและใช้เวลานาน ควรแบ่งการลงทุนเป็นโครงการเล็กๆ และทำให้ได้ผลลัพธ์ในเวลาที่สั้นขึ้น

- ซอฟท์แวร์ กระบวนการทำงาน สินค้า/บริการ ที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อกระตุ้นการสร้างนวัตกรรมจากตัวตนและความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่แตกต่างกัน

- ต้องมีดุลยภาพในการปรับกระบวนการทำงานเดิมและการนำระบบใหม่มาใช้ ตรงนี้สามารถนำ IoT มาใช้ในการเชื่อมต่อได้

- การเพิ่มนวัตกรรมด้วยการยอมรับและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี วิธีการ วัฒนธรรม และในด้านอื่นๆ

- การลบแนวคิดเดิมๆ ที่ว่าเรารู้จักสินค้า ลูกค้า หรือเทคโนโลยีที่ใช่ เพราะการเปลี่ยนแปลงมันมาเร็วมาก

- อุปกรณ์คือสิ่งสำคัญ แต่ข้อมูลและซอฟท์แวร์สำคัญกว่าเพราะเป็นตัวขับเคลื่อนอุปกรณ์ ผู้ชนะในวันนี้คือผู้ที่สามารถทำให้อุปกรณ์และซอฟท์แวร์ทำงานไปด้วยกันเพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ

- การสร้างวัฒนธรรมในการทำงานใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นได้ด้วยแรงจูงใจ ลักษณะนิสัย การมีส่วนร่วม อิสระในการออกแบบ ความขวนขวาย ความต้องการ และการยอมรับ

- การสร้างความเป็นมืออาชีพให้ทีม ด้วยการเสาะหา พัฒนา และรักษาพนักงานที่มีความสามารถ เลิกไปได้เลยกับการมองหาคนที่ใช่สำหรับสูตรการทำงานแบบเดิมๆ

- ติดตามเป้าหมายทางธุรกิจ และมุ่งสร้างคุณค่าในธุรกิจที่คุณอยู่ สำหรับบริษัททั่วโลก เป้าหมายธุรกิจที่สำคัญที่สุดคือการเพิ่มยอดขายและกำไร การรักษาลูกค้าที่มีอยู่เดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่ นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่เป้าหมายใหญ่

เมื่อระบบนิเวศน์เอื้อแล้ว IoT ก็จะสร้างความสำเร็จให้บริษัทได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่โครงการล้มเหลว นั่นไม่ใช่เพราะ IoT แต่เป็นเพราะวัฒนธรรมองค์กรที่ขาดความยืดหยุ่น ระบบการดำเนินการที่ไม่เอื้อ และการขาดองก์ความรู้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...