A Year of i ของกสิกรไทย เตรียมดันไอที-Data-คน-พันธมิตร พร้อมโต 8 เท่าในตลาดต่างประเทศ

A Year of i ของกสิกรไทย เตรียมดันไอที-Data-คน-พันธมิตร พร้อมโต 8 เท่าในตลาดต่างประเทศ

  • กสิกรไทยเผยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ A Year of i นำทีมโดย 5 ผู้บริหารระดับสูง
  • มุ่งผลักดันธุรกิจในตลาด CCLMVI คาดรายได้ธุรกิจในต่างประเทศโตกว่า 8 เท่า ใน 3 ปีข้างหน้า
  • 5i ประกอบด้วย iGNITE , iNCORPORATE , iNSIGHT , iNTEGRATE และ iNNOVATION

ในปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าธนาคารกสิกรไทยมีความเคลื่อนไหวที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการธนาคารและ FinTech ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก และในปีนี้กสิกรไทยได้นำทีมผู้บริหารระดับสูง 5 ท่าน ร่วมเผยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ A Year of i  ที่จะเกิดขึ้น พร้อมประกาศพันธกิจสู่ธุรกิจแบงก์ยุคใหม่ที่ต้องแกร่งทั้งในประเทศ และขยายสู่ต่างประเทศ โดยมุ่งให้ รายได้ 50% เกิดจากการใช้งาน Data พร้อมผลักดันธุรกิจในตลาด CCLMVI คาดรายได้ธุรกิจในต่างประเทศโตกว่า 8 เท่า ใน 3 ปีข้างหน้า

กลยุทธ์ A Year of i ขับเคลื่อนด้วยทีมผู้บริหารระดับสูง 5 ท่านแห่งกสิกรไทย  ซึ่งประกอบไปด้วย iGNITE , iNCORPORATE , iNSIGHT , iNTEGRATE , iNNOVATION

iGNITE นำทีมโดย พิพิธ เอนกนิธิ

คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เผยถึงอุปสรรคทางการค้าในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องของภาษา แต่คือหงส์ดำหรือความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นมาในโลกธุรกิจ ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น เหตุการณ์ต้มยำกุ้ง หรือเหตุการณ์ 911 และปัจจุบันคือสงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยไม่ได้มองแค่ตลาดในประเทศอีกต่อไป แต่มุ่งตั้งเป้ารายได้ธุรกิจในต่างประเทศ

“ปัจจุบันเราได้มองข้าม ความเป็นธนาคารไปแล้ว และมองไปมากกว่าตลาดเมืองไทย ซึ่งเรายังสามารถสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นกับตลาดต่างประเทศได้ด้วย”

คุณพิพิธอธิบายว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่เรียกว่า “เศรษฐกิจผสานมิติ (Augmented Economy)”  คือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีมีการเชื่อมต่อโลกออนไลน์และออฟไลน์อย่างผสมผสานกลมกลืน การอยู่รอดของทุกธุรกิจจะต้องอาศัยทักษะและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยมีแนวคิด 3 ด้าน

แนวคิด 3 B ในการผลักดันสู่ตลาดต่างประเทศ

  • Beyond Frontier โดยธนาคารกสิกรไทย ได้ผลักดันธุรกิจไปสู่ต่างประเทศเชื่อมโยงการค้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภครายย่อย  โดยมุ่งในกลุ่มของ CCLMVI (จีน กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และอินโดนีเซีย) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพสูง คาดว่าภายในปี 2573 ใหญ่กว่าเศรษฐกิจไทยถึง 41 เท่า
  • Beyond Banking มองโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นและวางเป้าหมายที่จะอยู่ในทุก ๆ ช่องทางที่ลูกค้าใช้ชีวิต
  • Beyond Competition คือ มองหาโอกาสร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ ๆ ทั้งฟินเทค Startup  ข้ามประเทศ ข้ามอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับการให้บริการของธนาคารและเสริมศักยภาพให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าสู่ตลาด CCLMVI ได้

KVision สะพานเชื่อม Tech Partner

KVision คือ บริษัทที่กสิกรไทยจัดตั้งขึ้นมาใหม่เงินลงทุนกว่า 8 พันล้านบาท เพื่อแสวงหาเทคโนโลยีและลงทุนใน FinTech หรือ Startup มีจุดประสงค์ในการเป็นสะพานเชื่อมกับบริษัทเทคโนโลยีในต่างประเทศ โดยปัจจุบัน KVision ได้จัดตั้ง Innovation Lab ขึ้น ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อิสราเอล จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม เพื่อเฟ้นหา Innovation, Tech Partner, และ Tech Talent ใหม่ ๆ เพื่อนำมาสนับสนุนการพัฒนาบริการของธนาคารใน CCLMVI ควบคู่กับแสวงหาเทคโนโลยีที่ช่วยต่อยอดธุรกิจ

3 กลยุทธ์สำคัญ ในการเชื่อมโยงลูกค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคใน CCLMVI

  1. Local Insight & Partnership

ให้คำแนะนำและเชื่อมโยงพันธมิตรในท้องถิ่น ให้กับลูกค้าจากช่องทางและพันธมิตรที่มีอยู่ครบทุกประเทศ ทำให้เข้าใจบริบทของการทำธุรกิจในแต่ละประเทศ

  1. Cross-Border Value Chain Solution

ให้บริการทางการเงินเพื่อเชื่อมโยงการค้าระหว่างลูกค้ากับคู่ค้า ในต้นปีนี้ธนาคารจะเริ่มให้บริการ Solution ดังกล่าวในลาวและกัมพูชาก่อน โดยการนำระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยให้การชำระค่าสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. Single Regional Payment Platform

สร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค เพื่อสร้างความสะดวกสบายและเข้าถึงผู้บริโภครายย่อยในภูมิภาคผ่านแพลตฟอร์มของธนาคาร โดยปัจจุบันธนาคารได้เริ่มแผนการดังกล่าวจากโครงการ “QR KBank” แอปฯ กระเป๋าเงินออนไลน์สำหรับชาวเวียงจันทน์ใน สปป.ลาว ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยไม่ใช้เงินสด สนองนโยบายรัฐบาล สปป.ลาว นำร่องให้บริการที่ตลาดหนองจัน หรือ “ตลาดขัวดิน” เป็นพื้นที่แรก ตั้งเป้าปี 2562 นี้ จะมีธุรกรรมผ่าน “QR KBank” ประมาณ 2 ล้านรายการ มูลค่ากว่า 36,000 ล้านกีบหรือประมาณ 115 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค ช่วยให้ธนาคารเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้จ่ายด้วยระบบดิจิทัล (Digital Spender) ในลาวอีกด้วย พร้อมตั้งเป้าหมายขยายการให้บริการและเชื่อมต่อแพลตฟอร์มเข้าด้วยกันทั่ว CCLMVI ในอนาคต

คุณพิพิธเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ตอนนี้เราสนใจในลูกค้าจีน  มีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าจีน และจะมุ่งขยาย Digital Banking ในประเทศจีน เช่นการทำ Digital Lending จีนกับกลุ่มคนชั้นกลางในประเทศจีน โดยที่ไม่ต้องมีสาขา เพราะตลาดพร้อมอยู่แล้ว  ทั้งนี้ยังมีเป้าหมายมุ่งเติบโต 8 เท่าใน 3 ปี ในตลาดต่างประเทศ

iNCORPORATE นำทีมโดย คุณปรีดี ดาวฉาย

คุณปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีสัดส่วนประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 82% ทำธุรกรรมบน Mobile Banking 74% และซื้อสินค้าออนไลน์  48.5% ของประชากรไทยทั้งหมด ดังนั้นภาคธนาคารต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วได้แก่ โครงการพร้อมเพย์ , การชำระเงินด้วย QR Code โดยภายในปี 2020 จะเริ่มมีการพัฒนาการทำงานไปสู่ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ QR Code ชำระค่าบริการในต่างประเทศ และพัฒนา Blockchain

เตรียมนำ Blockchain ขับเคลื่อนต่อ

โดยกสิกรไทย มีการวางแผนจะนำเทคโนโลยี Blockchain ต่อยอดสู่บริการรับรองเอกสารทางการศึกษา (E-Transcript) ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจ เพิ่มความสะดวก ให้แก่นิสิต นักศึกษาที่จบใหม่ รวมทั้งบุคคลที่ต้องการหาตำแหน่งงานและองค์กรที่กำลังเปิดรับบุคลากร

ลูกค้าไม่ต้องมาธนาคาร และไม่มีค่าธรรมเนียมการกดเงิน

จะมีการดำเนินโครงการ National Digital ID (NDID) มาใช้เพื่อให้ลูกค้ามีความสะดวกมากขึ้น ไม่ต้องมาถึงธนาคาร ทั้งสามารถยืนยันตัวตนผ่านระบบออนไลน์  ช่วยให้เปิดบัญชีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลา การขอสินเชื่อและการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทางออนไลน์ รวมทั้งโครงการเอทีเอ็มสีขาว (White-Label ATMs) ที่จะช่วยให้ธนาคารบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น  รวมทั้ง NO FEE ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมจากการกดเงิน

iNSIGHT นำทีมโดย ขัตติยา อินทรวิชัย

คุณขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า Data คือ ทรัพย์สินที่มีค่าของธนาคาร และ Data เกิดขึ้นในทุก ๆ ที่และทุก ๆ เวลา จึงเป็นโจทย์ของกสิกรไทยที่จะนำ Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยธนาคารเริ่มเดินหน้า Analytics ในการแปลงข้อมูลมาเป็น insight เพื่อให้เข้าใจ รู้ใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น และเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล (Segment of one - insight) อีกทั้งยังมีการตั้ง Data Analytic Office (DAO) มาขับเคลื่อนข้อมูลโดยเฉพาะ

“เราทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก ทำเรื่องยากให้ง่ายด้วยพลังของข้อมูล”

สร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมด้วยพลังของ Data

  • Frictionless, Anywhere, Anytime สร้างประสบการณ์ทุกที่ทุกเวลา ด้วยการนำเทคโนโลยีผสานกับศักยภาพด้าน Data Analytics ช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการให้ชีวิตลูกค้าง่ายกว่าเดิม เช่น การใช้ใบหน้าเปิดบัญชี หรือใช้เสียงจ่ายเงิน  หรือการถอนเงินโดยไม่ต้องใช้บัตรหรือโทรศัพท์มือถือ
  • Behavioral - Based Lending การปล่อยสินเชื่อโดยดูพฤติกรรม สร้างโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อให้กับลูกค้ากลุ่ม Unbanked และ Underbanked ที่มีการเดินบัญชีผ่านธนาคารน้อย หรือไม่มีหลักฐานแสดงรายได้ที่สม่ำเสมอ
  • บริการอัตโนมัติ และใช้เอกสารน้อย  การก้าวเข้าสู่การเป็น Data-Driven Bank อย่างเต็มตัว  ช่วยลดภาระให้แก่ลูกค้าในการยื่นเอกสาร

ทั้งนี้ ธนาคารให้ความสำคัญสูงสุดต่อการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์จะไม่สามารถระบุตัวตนของลูกค้าได้ และธนาคารจะไม่มีการแชร์ข้อมูลลูกค้าโดยเด็ดขาด หากปราศจากการให้ความยินยอมของลูกค้า

โดยธนาคารมีความพร้อมทั้ง 4 ด้านในการผลักดันการใช้ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูล เทคโนโลยี บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กรแห่งการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

และในด้านกระบวนการทำงาน ธนาคารได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานภายใน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลและบริการลูกค้าให้ดียิ่งกว่าเดิม

iNTEGRATE นำทีมโดย พัชร สมะลาภา

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในส่วนของ Integrate คือการ Integrate บริการออนไลน์และออฟไลน์ และ Partner เข้าด้วยกัน แต่ในปีที่ผ่านมายอมรับว่ายังทำได้ไม่เต็มที่ ปีนี้จึงเตรียมเดินหน้า ทั้งภารกิจในการเดินหน้าหาลูกค้าใหม่ และมุ่งเป้าสินเชื่อรายย่อยให้เติบโต 9-12% โดยมี 3 ส่วนคือ

  • ผนึกพันธมิตรแพลตฟอร์มขยายฐานลูกค้า
  • เดินหน้าธุรกิจเพื่อหารายได้ใหม่ โดยจะเดินหน้าแผนธุรกิจในการสร้างรายได้จากการให้สินเชื่อลูกค้าบุคคลที่มีจำนวนผู้กู้ยืมในตลาดนี้ประมาณ 31.3 ล้านราย ซึ่งปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 7% และตั้งเป้าหมายจะดันส่วนแบ่งตลาดเป็น 16% โดยการผนึกพันธมิตรแพลตฟอร์มชั้นนำเพื่อไปอยู่ในที่ที่ลูกค้าอยู่
  • บริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำสินทรัพย์ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการปรับพอร์ตเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น การปรับปรุงกระบวนการติดตามหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอย่างเหมาะสมต่ออัตราการฟื้นตัวของสินเชื่อ

iNNOVATE นำทีมโดย เรืองโรจน์ พูนผล

คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส – เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) นำเสนอแนวคิดแห่งนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า ด้านนวัตกรรมทางการเงินใหม่ที่เรียกว่า Cognitive Banking ที่ส่งมอบคุณค่า 3 ด้านให้แก่ลูกค้า ประกอบด้วย

  • บริการที่ฉลาด รู้ใจ (Highly Intelligence)
  • บริการที่ปรับรูปแบบตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้า (Highly Adaptive)
  • เข้าใจ รู้ใจ ลูกค้าแต่ละคนอย่างลึกซึ้ง (Highly Personalized) โดยการเป็น Cognitive Banking จะทำให้บริการดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทยมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดไปไกลกว่าการเป็นเพียงธนาคารหรือแพลตฟอร์มบนโทรศัพท์มือถือ

“เราพยายามที่จะสร้าง cognitive banking เปรียบเสมือนเรามอบพนักงาน 20,000 คนในการดูแลลูกค้า 1 คน  เราพยายามเป็น super app หา partner เพื่อเข้าไปอยู่ในชีวิตของลูกค้าให้มากขึ้น อีกทั้งเราพยายามจะสร้าง Super employee”

นอกจากนี้คุณเรืองโรจน์ยังนำเสนอ Augmented Intelligence (AI) มาใช้ขับเคลื่อนองค์กร ที่ไม่ได้มาจากปัญญาประดิษฐ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากบุคลากรอีกด้วย

“โลกของเรากำลังจะก้าวข้าม AI ไปสู่การทำงานของ คน + เครื่องจักร”

สร้างพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม

โดย KBTG จะเป็นพันธมิตรกับทั้ง Startup องค์กรชั้นนำ ผ่านนวัตกรรมแห่งความร่วมมือ 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. Open Banking API ความสามารถในการต่อเชื่อมบริการของธนาคารให้แก่พันธมิตรโดยสะดวกและปลอดภัย
  2. K PLUS Business Platform การสร้างความหมายใหม่ของ K PLUS จากการเป็นธนาคารบนโทรศัพท์มือถือไปสู่การเป็นแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจที่พันธมิตรสามารถนำไปต่อยอดสร้างบริการแบบดิจิทัล โดยการประยุกต์ใช้คุณสมบัติที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มศักยภาพ
  3. Innovation Sandbox คือ สนามทดลองเพื่อรองรับการทดสอบไอเดียทางนวัตกรรมใหม่ ๆ ของพันธมิตรโดยเฉพาะกลุ่มสตาร์ทอัพ ได้อย่างประหยัดและรวดเร็ว

“เป้าหมายการพัฒนา KBTG ไปสู่การเป็นองค์กรเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนแกนเทคโนโลยีของโลกมาสู่ประเทศไทย ภายในปี 2565”

สำหรับในปีนี้ KBTG ได้งบลงทุนด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และบุคลากร กว่า 5,000 ล้านบาท

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...