ถอดบทเรียนเส้นทางการฝ่าคลื่น Digital Disruption จากองค์กรชั้นนำระดับโลก | Techsauce

ถอดบทเรียนเส้นทางการฝ่าคลื่น Digital Disruption จากองค์กรชั้นนำระดับโลก

Digital Transformation Forum 2019

เมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ขึ้นมา อีกทั้งสร้างผลกระทบต่อมูลค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีอยู่เดิม หากธุรกิจในปัจจุบันปรับตัวไม่ทันจะถูกแทนด้วยธุรกิจใหม่ นับว่าเป็นทั้งโอกาสสำหรับธุรกิจในการหนดยุทธศาสตร์ทางธุรกิจใหม่เพื่อฉวยจังหวะ Digital Disruption หรืออาจกลายเป็นอุปสรรคได้เช่นกันหากไม่มีแผนการรับมือกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ดีพอ

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ได้ร่วมจัดงาน Digital Transformation Forum 2019 ขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก ภายใต้หัวข้อ “Surfing the Waves in Digital Transformation Era” โดยมุ่งหวังให้นำองค์ความรู้ต่างๆ ไปพัฒนาต่อยอดเชิงเทคโนโลยี นวัตกรรม และแพลตฟอร์มดิจิทัล ผ่าน Best Practices จากผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจดิจิทัลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้องค์กรได้ตื่นตัวและก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันได้มีการเปิดเวทีพูดคุย Digital Transformation Journey for Smart Living คลื่นการเปลี่ยนแปลงได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตรวมไปถึงการทำธุรกิจอย่างไร ปัจจัยอะไรที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า รวมถึงเทรนด์การปรับใช้เทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมกับส่วนต่างๆ ในธุรกิจเดิมที่มีอยู่ เพื่อดำเนินธุรกิจใหม่ ซึ่งผู้บริหารที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนี้ได้แก่ ดร. สุพิทัศน์ ส่งศิริ General Manager บริษัท ชินาทรัพย์ จำกัด, คุณกิติพงษ์ ธาราศิริสกุล Chief Technology Officer, Huawei Technologies, Mr. Andrew Hamilton, Client Partner: Smart Infrastructure, Hitachi Consulting และ Mr. Robert Jessing, Senior Manager, Accenture Strategy

กุญแจสำคัญในการเอาตัวรอดจากคลื่นการเปลี่ยนแปลงคือ ‘ต้องฟังเสียงลูกค้า’

Digital disruption ส่งผลกระทบไม่เพียงแต่โมเดลธุรกิจ ที่ต้องเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป แต่ยังรวมไปถึงการปรับใช้เทคโนโลยีในองค์กร และการสร้างวัฒนธรรมขั้นมาใหม่

เมื่อมีการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติมาใช้ ทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมดต้องดำเนินไปตามเทคโนโลยีดังกล่าว วิธีที่องค์กรดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายเหล่านี้คือการกำหนดกลยุทธ์องค์กรใหม่ องค์กรจะรอดพ้นจากคลื่นความเปลี่ยนแปลง อีกทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาจำนวนมากได้อย่างไร?

คุณกิติพงษ์ ได้เน้นย้ำว่า การทำความเข้าใจลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรหากต้องการรอดจากคลื่นการเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ลูกค้ามีพลังมากขึ้น เนื่องจากมีเครื่องมือต่างๆ ที่พวกเขาสามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีทรัพยากรอยู่ในมือ อีกทั้งยังสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กับคู่แข่ง มากไปกว่านั้นยังสามารถทำธุรกิจได้ด้วยตัวเอง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะเทคโนโลยี

ด้วยสิ่งเหล่านั้น ทำให้ลูกค้ามีความคาดหวังต่อธุรกิจในปัจจุบันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเร็ว (Speed), ความโปร่งใส (Transparency), รวมไปถึงด้านการทำ Personalisation นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่จากลูกค้าเท่านั้นที่ทำให้หลายธุรกิจต้องมองหาโมเดลธุรกิจใหม่ ผู้เล่นใหม่จำนวนมากที่เข้ามาทำธุรกิจก็เป็นตัวเข้ามา disrupt เช่นกัน ดังนั้นธุรกิจในปัจจุบันต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ต้องเตรียมตัวให้พร้อม มิเช่นนั้นจะโดน disrupt เสียเอง

วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้เป็นแบบ Agile และการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามา คือการเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ซึ่งควรครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ไปจนถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เส้นทางสู่ Digital Transformation กรณีศึกษาจาก HUAWEI

ความผิดพลาดขององค์กรส่วนใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมุ่งไปที่เทคโนโลยีให้เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงหลัก อีกทั้งไม่ได้ให้ความสำคัญด้านธุรกิจว่ามีสิ่งไหนที่ควรทำ คุณกิติพงษ์ ได้ยกกรณีตัวอย่างการเริ่มเส้นทาง Digital transformation ของ Huawei ในปีค.ศ. 2014 โดยเริ่มทำการโฟกัสไปที่ 3 ด้านที่ต้องทำการมุ่งเน้น ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ (Strategy), ด้านกระบวนการทำงาน (Process) และด้านเทคโนโลนี (Technology)

ด้านกลยุทธ์ (Strategy): มุ่งเน้นไปที่ 3 สิ่ง ได้แก่

  1. การสร้างและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
  2. การมอบอำนาจให้พนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  3. การทำทุกอย่างบนคลาวด์

ด้านกระบวนการทำงาน (Process): เนื่องจาก Huawei เป็นบริษัทใหญ่ ดังนั้นจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกขั้นตอนในองค์กร จึงได้สร้าง 5 สิ่งที่มีร่วมกันเพื่อให้ทั้งองค์กรสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้ โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า ROADS

‘ROADS’ : 5 สิ่งที่ Huawei มีร่วมกันในองค์กร มีดังนี้

  • Real time -  ทุกอย่างในโครงการ Digital Transformation เป็นการทำงานแบบเรียลไทม์
  • On demand  -  ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะเลือกใช้หรือไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ก็ได้
  • All Online -  ข้อมูลทุกอย่างจะต้องอยู่บนระบบคลาวด์
  • DIY -  พนักงานและลูกค้าต้องมีความสามารถในการทำทุกอย่างด้วยตนเอง
  • Social - ความสามารถในการแบ่งปันประสบการณ์ความรู้

ด้านเทคโนโลยี (Technology): ทำการระบุเทคโนโลยีที่ใช้ในองค์กว่ามีอะไรบ้าง รวมถึงดูวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ AI เพื่อช่วยทำงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ เพื่อช่วยลดต้นทุน การใช้ Blockchain ในการทำธุรกรรมที่ปลอดภัยมากขึ้น และการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud) เพื่อใช้ทรัพยากรข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

จากการวาง Roadmap ข้างต้นทำให้ Huawei สามารถทำการสร้าง 5 โปรเจคหลักๆ ได้แก่

  1. กำหนด 7 เทคโนโลยีหลักที่ต้องการสร้างพร้อมมอบหมายงานให้แต่ละทีม:พื่อแก้ปัญหา silos ในทีมวิจัยและพัฒนา สร้างการทำงานแบบ Agile มากขึ้น มอบหมายงานให้พนักงานตามเทคโนโลยีหลักเหล่านั้น เพื่อเป็นการสร้างอิสระให้คนในแต่olisละทีมสามารถตัดสินใจในการทำงานได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ยังได้สร้างระบบคลาวน์ของทีม R&D เพื่อให้พนักงานสามารถจัดสรรทรัพยากรได้ด้วยตัวเอง สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแบบเรียลไทม์ได้ตามความต้องการ ส่งผลให้ความเร็วในการตอบสนองสู่ตลาดเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า
  2. สร้าง Global Map Matrix: แต่ละโรงงานผลิตมีข้อมูลมากมาย ดังนั้นการสร้างแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลของแต่ละโรงงานเหล่านั้น เป็นการช่วยให้สามารถมองเห็นมุมมองแบบองค์รวมของทั้งหมดได้
  3. การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาด้านโลจิสติกส์: เช่น IoT, RFID เข้าไปในระบบซัพพลายเชน
  4. สร้าง Connected Huawei: สร้างแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า WeLink
  5. สร้าง Holistic view ของแต่ละแคมปัส: ช่วยให้ทีม Management รู้ว่าในแต่ละแคมปัสมีการใช้ทรัพยากรไปเท่าไร

ความผิดพลาดขององค์กรส่วนใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นองค์กรด้านนวัตกรรม คือการมุ่งไปที่เทคโนโลยีให้เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงหลัก ไม่ได้ให้ความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ทางธุรกิจว่ามีสิ่งไหนที่ควรทำบ้าง

ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัล

Mr. Robert ได้พูดถึง 3 เทคโนโลยีที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนอนาคต ได้แก่ เทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain), เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence (AI)) รวมไปถึงเทคโนโลยี Quantum Computing  อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าองค์กรจะมีเทคโนโลยีขั้นสูงแค่ไหน แต่หากไม่สามารถส่งเสริมให้พนักงานใช้เทคโนโลยีนั้นได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์ที่จะสร้างเทคโนโลยีนั้นมา

ดร. สุพิทัศน์ ได้แนะในเรื่องปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัลว่า ด้านทรัพยากรคน (People) ด้านกลยุทธ์ (Strategy) และด้านพันธมิตร (Partner) โดยเฉพาะเรื่องคนถือเป็นแกนหลักของการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งการสร้างพันธมิตรจะเป็นตัวช่วยเสริมองค์กรให้ดำเนินเส้นทางการเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันทั้งระบบนิเวศ

นอกจากนี้คุณกิติพงษ์ ยังได้เสริมในด้านผู้นำ โดยเฉพาะการสนับสนุนจากระดับ C-Level เพื่อสร้างโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับผู้ให้บริการเทคโนโลยี การสร้างระบบนิเวศ การลงทุนที่มั่นคงก็เป็นส่วนสำคัญในการตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

Digital transformation นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกิจ และต้องขับเคลื่อนโดยผู้นำ โดยเฉพาะการสนับสนุนจากระดับ C-Level เพื่อสร้างโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับผู้ให้บริการเทคโนโลยี การสร้างระบบนิเวศ การลงทุนที่มั่นคงก็เป็นส่วนสำคัญในการตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์หรือ Cybersecurity นั้นเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ เพราะเมื่อพูดถึงการทำทุกอย่างให้เป็นดิจิทัล นั้นมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลล้วนๆ หากองค์กรไหนมีชุดข้อมูลที่ไม่ดี ย่อมส่งผลให้การตัดสินใจผิดเพี้ยนไปด้วย ในตอนนี้หลายธุรกิจมีคลังข้อมูลดิจิทัลของตัวเองมากขึ้น สามารถเรียกใช้งานแบบเรียลไทม์มากขึ้น ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้วจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยในการตัดสินใจได้ดีขึ้นและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันอาจส่งผลให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาดอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากบริษัทไหนต้องการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งแรกจะทำการเริ่มต้นได้อย่างไร? ดร. สุพิทัศน์ ได้ให้คำแนะนำในด้านนี้ว่า อันดับแรกจะต้องทำการเช็คความพร้อมขององค์กรว่ามีความพร้อมแค่ไหน พร้อมส่งเสริมการทำงานแบบดิจิทัลร่วมกัน เนื่องจากไม่มีใครสามารถทำงานเพียงคนเดียวได้ สุดท้ายคือการหาพันธมิตรด้านเทคโนโลยี

เทรนด์การปรับใช้เทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมกับส่วนต่างๆ ในธุรกิจเดิมที่มีอยู่ เพื่อดำเนินธุรกิจใหม่

จากประสบการณ์การทำงานในหลากหลายภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นด้านสื่อ ด้านการเงินการธนาคาร และด้านโทรคมนาคมของคุณกิติพงษ์ จึงได้พูดถึงสิ่งที่พบจากการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปของแต่ละภาคธุรกิจ ดังนี้

ด้านสื่อ - นับเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล หลายบริษัทหยุดการใช้กระดาษ เพื่อปรับไปสู่ช่องดิจิทัล ทำเนื้อหาให้เป็นดิจิทัลเพื่อให้ง่ายต่อการใช้ประโยชน์จากเนื้อหา การหันไปใช้ระบบคลาวน์ เนื่องจากเป็นเรื่องยากสำหรับอุตสาหกรรมสื่อที่จะประเมินความสามารถในการเก็บข้อมูล ดังนั้นการใช้ระบบ Cloud นั้นช่วยได้มาก ในด้านการลงทุน หลายบริษัทได้มีการหันมาเน้นการลงทุนด้าน Cybersecurity และผลิตภัณฑ์ด้านไอที จากที่แต่ก่อนลงทุนด้านระบบการพิมพ์และระบบการกระจายเสียง

ด้านการเงินการธนาคาร - หลายธนาคารต่างพูดถึงเรื่องการเป็น Digital first ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยในการลดความเสี่ยง รวมไปถึงการช่วยตรวจสอบเอกสารเพื่อความปลอดภัยในการปล่อยสินเชื่อ การใช้เทคโนโลยีบล็อคเชน การโปรโมตการสร้างสังคมไร้เงินสด (Cashless society) ไปจนถึงการเริ่มใช้ E-KYC อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้เองโดยไม่ต้องเดินทางไปยังธนาคาร

ด้านกลุ่มโทรคมนาคม - ได้มีการปรับใช้ดิจิตอลในแง่การช่วยส่งมอบแอพพลิเคชั่นให้ไปถึงมือลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้นำดิจิทัลมาช่วยทำงานด้าน Operation เพื่อช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน

โดยงานดังกล่าวฯ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ซึ่งได้จัดขึ้นไปเมื่อวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2562 ผู้ที่สนใจสามารถอ่านสรุปเซสชั่นอื่นๆ จากงานในครั้งนี้ได้ที่นี่

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...