K PLUS ใหม่ ‘เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น’ พร้อมมี AI เป็นเบื้องหลังสำคัญ

K PLUS ใหม่ ‘เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น’ พร้อมมี AI เป็นเบื้องหลังสำคัญ

K PLUS แอป Mobile Banking จากธนาคารกสิกรไทย เป็นหนึ่งในแอปฯ ที่ครองใจผู้ใช้งานมาหลายปี ล่าสุด K PLUS พร้อมเปลี่ยนลุคใหม่ ภายใต้ Concept “เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น” โดยยังชูจุดแข็งนวัตกรรม KADE เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นระบบหลังบ้าน ที่ช่วยให้ K PLUS “รู้ใจ” ผู้ใช้งานเป็นรายบุคคลได้มากขึ้น

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2009 ธนาคารกสิกรไทยได้เปิดตัวแอปฯ ในชื่อ K-Mobile Banking PLUS ถือเป็นการปฏิวัติวงการธนาคารในสมัยนั้น ต่อมาในปี 2017 กสิกรไทยได้ปรับแบรนด์ดิ้งของโมบายแบงกิ้ง โดยเปลี่ยนชื่อและโลโก้ใหม่ ให้เรียกง่ายๆ จำง่ายๆ ว่า K PLUS ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมและปูทางให้แอปอื่นๆ ของธนาคารในตระกูล K ที่กำลังตามมา ไม่ว่าจะเป็น K PLUS SME และ K PLUS SHOP และในปีนี้ K PLUS ได้พลิกโฉมแบบ All-new โดยเปลี่ยนแอปใหม่แบบยกเครื่อง ตั้งแต่โลโก้ UX/UI และฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อผลักดันให้ K PLUS เป็น Lifestyle App ที่ลูกค้าใช้ในชีวิตประจำวัน

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า แอป K PLUS ใหม่ ต้องประกอบไปด้วย 3 สิ่ง คือ

  1. ไม่ใช่แค่เพียงแอปด้านธนาคารอย่างเดียว โดยมีการเพิ่มฟังก์ชันด้านไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้จริงมากขึ้น ได้แก่ K+ Market ที่สามารถซื้อของได้บนแอปและสามารถเลือกใช้พ้อยท์บัตรเครดิตจ่ายแทนเงินสดได้ หรือฟังก์ชันเพิ่มบัตรสมาชิกของพันธมิตรทางธุรกิจ ที่เสริมทัพเข้ามาในแอปฯ
  2. ง่ายและปลอดภัย คือ แก้โจทย์ที่เป็น Pain Point ของผู้ใช้ ได้แก่ การทำให้เมนูฟีเจอร์ต่างๆ หาได้ง่ายขึ้น ฟังก์ชันในการกดเงินโดยไม่ใช้บัตร การเปิดให้ใช้งานแอปผ่าน wifi ได้ทุกธุรกรรมตลอดเวลา โดยสามารถเปิดปิดได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
  3. มี AI เป็น พื้นฐานสำคัญ นั่นก็คือ KADE หรือปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานหลังบ้าน เพื่อให้ K PLUS “รู้ใจ” ผู้ใช้งาน สามารถให้คำแนะนำการใช้งาน รวมถึงเสนอโปรโมชันและแจ้งเตือนการทำธุรกรรมต่างๆ ได้เป็นรายบุคคล

มีอะไรเปลี่ยน และอะไรใหม่บ้างใน K PLUS

    • เปลี่ยนโลโก้ K PLUS ใหม่ ให้มีความเป็นสากล ทันสมัย เข้ากับชีวิตยุคดิจิทัล
    • เปลี่ยนหน้าตา User Interface และจัดวางเมนูใหม่ ให้ใช้งานง่ายขึ้น

      • รวมปุ่มธุรกรรม (Banking) ไว้ในปุ่มเดียว ทั้งเมนูโอนเงิน เติมเงิน จ่ายบิล ถอนเงิน ขอ Statement สินเชื่อ ลงทุน และบริการอื่นๆ ซึ่งเมนูจะแสดงตามประเภทของบัญชี และบัตร (บัญชีออมทรัพย์ บัตรเครดิต บัญชีกองทุน), ใส่ PIN เพื่อเข้าสู่ปุ่มธุรกรรม (ตรงกลาง) ที่เป็นสัญลักษณ์ที่ลูกค้าคุ้นเคย

  • เปลี่ยนรูปแบบ e-Slip ใหม่ เพิ่ม QR Code เป็นลายน้ำ สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็น e-Slip ของจริง ทำได้โดย - ผู้รับโอนบันทึก e-Slip ไว้ใน Gallery - จากนั้นกดปุ่ม Scan ใน K PLUS - ตรวจสอบ โดยรายละเอียดการโอนตรงกันกับ e-Slip ที่ผู้โอนส่งมา

      • เพิ่มหน้าแรก K PLUS Today

    - แจ้งเตือนธุรกรรมการเงินที่สำคัญและที่ลูกค้าทำบ่อยๆ รวมถึงแนะนำโปรโมชัน ร้านค้าโปรด และโปรส่วนลดต่างๆ ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า - นอกเหนือนี้ K+ Today ยังแจ้งเตือนรายการอื่นๆ ที่สามารถทำผ่านทาง K PLUS เช่น Request to pay/ Pay PLUS/ การชำระค่าตั๋วหนัง และ รับส่วนลด BTS เป็นต้น

        • เพิ่มปุ่มสแกน

    - ใช้สแกนเพื่อจ่ายเงินด้วย QR Code - ใช้สแกนเพื่อตรวจสอบ e-Slip แบบใหม่ - ใช้สำหรับการถอนเงินไม่ใช้บัตร ผ่านตู้ K-ATM

          • เพิ่ม K PLUS Market

    - ช้อปออนไลน์กับสินค้าหรือบริการที่คัดสรรพิเศษในราคาพิเศษ - นำคะแนนสะสมบัตรเครดิตธนาคารกสิกรไทย มาแลกชำระเงินแทนเงินสดได้ โดยคะแนนสะสมบัตรเครดิต 1,000 คะแนน มีมูลค่า 100 บาท

          • เพิ่มฟังก์ชันถอนเงินไม่ใช้บัตร โดยมีขั้นตอนการใช้ดังนี้

    1. เลือก “ธุรกรรม” และเลือก “ถอนเงิน” ผ่านแอป K PLUS 2. เลือก จำนวนเงินที่ต้องการถอนผ่าน K PLUS 3. ไปที่ตู้ K-ATM เลือก “ถอนเงินไม่ใช้บัตร” 4. เลือก “K PLUS” บน K-ATM 5. ใช้ K PLUS สแกน QR Code ที่ตู้ K-ATM 6. กดปุ่มยืนยัน รับเงิน พร้อม Slip จากตู้ K-ATM ซึ่งฟังก์ชันนี้สามารถถอนเงินได้สูงสุด 50,000 บาท/วัน

            • เพิ่มบัตรสมาชิก (Add Member Card)

    เพิ่มบัตรสมาชิกที่ใช้เป็นประจำ ไม่ต้องพกบัตร ไม่ต้องบอกเบอร์ โดยปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ - เพิ่มบัตรสมาชิก และสะสมคะแนนได้ทันที เช่น บัตร PTT Blue Card - เพิ่มบัตรสมาชิกใช้แทนบัตรพลาสติก เช่น บัตร The 1 Card

  • สามารถตั้งโอนล่วงหน้า ตั้งรายการโอนที่ทำเป็นประจำ กำหนดวันตั้งโอนเงินล่วงหน้านานสูงสุด 1 ปี ได้ 3 รูปแบบ สามารถตั้งค่าเป็นรายครั้ง รายสัปดาห์ หรือรายเดือน
  • สามารถใช้งานผ่าน wi-fi ได้ทุกฟังก์ชัน ทุกเวลา

    แล้ว KADE ทำงานอยู่ตรงไหน?

    คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)

    คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่พลิกโฉมแอป Mobile Banking ทั่วไปก็คือ AI ที่ชื่อว่า KADE ของ K PLUS ซึ่งจะเรียนรู้ และรู้จักผู้ใช้งาน ทั้งรู้จักหน้าผู้ใช้ รู้ข้อมูล รู้จักเสียง และเมื่อ KADE เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ KADE จะสามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้าเป็นรายคนได้ เช่น

    • K PLUS Today ที่สามารถแจ้งเตือนธุรกรรมการเงินที่สำคัญที่ลูกค้าใช้เป็นประจำ และแนะนำผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชั่นที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า
    • เทคโนโลยี Machine Lending ที่อยู่ใน K PLUS ทำให้ธนาคารนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอสินเชื่อส่วนบุคคล (K-Personal Loan) และสินเชื่อธุรกิจ ที่เหมาะสมกับความสามาร
    • ในการกู้และตรงกับความต้องการของลูกค้าผ่านแอปฯ K PLUS ในอนาคต K PLUS จะสามารถแนะนำการใช้จ่ายและการลงทุนที่จะเพิ่มศักยภาพทางการเงินและโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้า

    นอกจากนี้ K PLUS ยังมีโครงสร้างเทคโนโลยี Open Platform พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับช่องทางบริการและพันธมิตรในธุรกิจต่างๆ สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ต่อเนื่องและต่อยอดไปจนถึงการนำเสนอบริการใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีการเสนอสินค้าและบริการที่เชื่อมต่อกับ K PLUS SHOP โดยการดึงสินค้าละบริการจาก K PLUS SHOP มานำเสนอให้กับผู้ใช้อีกด้วย

    ก้าวต่อไปของ AI บน KPLUS ในอนาคต

    การพลิกโฉม K PLUS ใหม่นี้ เป็นเพียงก้าวแรกของการปฏิวัติแอป Mobile Banking โดยในเร็วๆ นี้ ธนาคารจะมี 3 บริการล้ำๆ ที่ตั้งใจผลักดันต่อ ได้แก่

    1. Verbal Adviser ผู้ช่วยส่วนตัวที่สามารถคุย ช่วยเหลือเราได้ 2. การสแกนใบหน้าในการซื้อสินค้ากับร้าน K PLUS SHOP สามารถจ่ายเงินได้ด้วยใบหน้าของเรา 3. การสั่งงานด้วยเสียงในการโอนเงิน เช่นการจ่ายค่าทางด่วน เป็นต้น

    ทั้งหมดนี้ กสิกรไทยได้วางกลยุทธ์และเป้าหมายสำคัญคือการผลักดันการใช้งานฟังก์ชันไลฟ์สไตล์ของ K PLUS เพิ่มเป็น 5-10% ภายใน 1 ปี และเพิ่มจำนวนลูกค้าของธนาคารเป็น 20 ล้านบัญชีภายใน 3 ปี

    “เป้าหมายการพัฒนา K PLUS คือ ทำให้เทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ ‘รู้จักจนรู้ใจ’ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกคนมากที่สุด ศักยภาพของ K PLUS ในอนาคต จะทำให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถทำธุรกรรมได้ เกิดธุรกรรมการเงินข้ามประเทศ ทำให้เราตั้งเป้าหมายว่า จะมีผู้ใช้ K PLUS ถึง 100 ล้านคนทั่วโลก ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียมกันและมีชีวิตที่ดีขึ้น” คุณสมคิดกล่าวปิดท้าย

    อ่านละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ Kasikornbank.com

    บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...