Delivery Man: เรื่องราวของ Wang Wei ผู้ก่อตั้ง SF Express และ ทำไมเขาถึงขึ้นมารํ่ารวยกว่า Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba ได้ | Techsauce

Delivery Man: เรื่องราวของ Wang Wei ผู้ก่อตั้ง SF Express และ ทำไมเขาถึงขึ้นมารํ่ารวยกว่า Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba ได้

xiang wei

หากจะเปรียบเทียบ Wang Wei กับ Jack Ma ผู้ที่เป็นทั้งประธานและผู้ก่อตั้งบริษัท Alibaba ที่ความสามารถด้านการตลาดและการใช้สื่อต่างๆแล้วนั้น Wang Wei ผู้ก่อตั้งบริษัท SF Express นั้นอาจดูจะเป็นเพียงแค่บริษัทที่ให้บริการด้านขนส่ง ที่อาจจะไม่ได้โดดเด่น และค่อนข้างน่าเบื่อ แต่สิ่งที่บริษัทของเขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ถือได้ว่าขาดไม่ได้ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน  โดยหลังจากที่ SF Expressได้เสนอขายหุ้นของบริษัทให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO)ในตลาดหุ้นที่เซิ่นเจิ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มูลค่าหุ้นของ SF Express ในตอนนี้นั้นมีมูลค่ารวมอยู่ที่  38,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าหุ้นของ FedEX ผู้ให้บริการด้านการขนส่งรายใหญ่ที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 นั้นอยู่ที่ประมาณ 51,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ด้วยสัดส่วนการครองหุ้นของ SF Express  ที่สูงถึง 68% ทำให้มูลค่าทรัพย์สินของ Wang Wei พุ่งแซงชนะของ Jack Ma ไปแล้วเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทำให้เขาได้กลายเป็นคนที่รำ่รวยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของจีน ด้วยมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งหมด 198,500ล้านหยวน (ราว 28,700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) โดยเขามีทรัพย์สินมากกว่าเจ้าของบริษัท Tencent อย่าง Pony Ma ที่เป็นบริษัทที่ให้บริการแพลทฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังอย่าง WeChat

graph SF

จุดกำเนิดของอาณาจักรขนส่งยักษ์ใหญ่

แม้ว่า Wang Wei อาจจะไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงการสื่อและวงการเทคโนโลยีเท่ากับ Jack Ma ทว่าเรื่องราวของเขาและการก้าวขึ้นสู่ความเป็นราชาแห่งวงการขนส่งของประเทศจีนนั้น ไม่ได้น่าสนใจหรือเป็นแรงบันดาลใจน้อยไปกว่าเรื่องราวของ Jack Ma เลยแม้แต่น้อย

พ่อของ Wang Wei ทำงานเป็นล่ามภาษารัสเซียให้กับกองทัพประชาชนเพื่ออิสระภาพ (People’s Liberation Army) และเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย Wang Wei เกิดที่เซี่ยงไฮ้เมื่อปี ค.ศ. 1971 และหลังจากนั้นไม่นานเขาก็ย้ายตามพ่อแม่ของเขาไปอยู่ที่ฮ่องกง ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาเติบโตขึ้น และหลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลาย Wang Wei ก็ได้เริ่มทำงานที่โรงพิมพ์เล็กๆแห่งหนึ่งซึ่งเป็นของลุงชาวฮ่องกงของเขา ที่ตั้งอยู่ที่เมืองชุนเต๋อ มณฑลกวางตุ้ง

ขณะที่ทำงานอยู่ที่โรงพิมพ์แห่งนั้น เขาต้องส่งตัวอย่างของงานพิมพ์ไปให้ลูกค้าที่อยู่ที่ฮ่องกงตรวจสอบ และสิ่งนี้เองที่ทำให้เขาเริ่มสังเกตเห็นถึงอุปสงค์ของบริการการขนส่งที่มากขึ้นซึ่งขัดอุปทานที่มีในตลาดในขณะนั้น และสิ่งนี้นี่เองที่จุดประกายความคิดให้เขาเห็นถึงช่องว่างจุดนี้ในตลาดของธุรกิจการขนส่ง

ช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่เมืองชุนเต๋อนั้น  เป็นช่วงที่ประเทศจีนกำลังก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปิดรับโลกภายนอกภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง โดยเติ้งได้ริเริ่มคอนเซ็ปของเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs -Special Economics Zones) โดยเป็นเสมือนกับกระเป๋าเงินของจีน ซึ่งเป็นที่ทดลองเปิดรับนโยบายการค้าเสรี (free market)  โดยเริ่มจากบริเวณเขตเศรษกิจสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียง (PRD-The Pearl River Delta) ที่ประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ๆอย่างเซิ่นเจิ้นและกว่างโจว ซึ่งเป็นบริเวณแรกของเศรษฐกิจพิเศษ และมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการค้าขายระหว่างจีนและฮ่องกงที่มากขึ้น

นักธุรกิจชาวฮ่องกงหลายคนได้ตัดสินใจตั้งโรงงานขึ้นในมณฑลกวางตุ้ง และการกระทำดั่งกล่าวก็ส่งผลให้มีอุปสงค์ในบริการการขนส่งระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกงที่สูงขึ้น

Delivery man 2

ในปี ค.ศ. 1993  ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นจุดสูงสุดของการปฎิรูปเศรษฐกิจจีน Wang Wei ที่ขณะนั้นมีอายุเพียง 22 ปี ก็ได้ตัดสินใจร่วมทุนกับเพื่อนอีก 5 คนเพื่อเริ่มธุรกิจ Shufeng (SF) Express โดยมีพ่อของเขาเป็นผู้สนับสนุนเงินทุน 100,00 หยวน (ราว 13,000ดอลล่าร์สหรัฐ) เพื่อทำให้ธุรกิจของ Wang Wei นั้นสามารถก่อตั้งขึ้นได้เริ่มต้นขึ้นได้

...เช่นเดียวกันกับตอนที่ Uber และ Airbnb เริ่มต้นธุรกิจ โมเดลธุรกิจของ Wang Wei นั้น  ถือได้ว่าอยู่ในพื้นที่สีเทาของตลาด เนื่องจากในขณะนั้น บริการขนส่งของเอกชนนั้นถือว่าเป็นธุรกิจที่ผิดกฏหมาย โดยมีบริการขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพของไปรษณีย์จีนเท่านั้นที่ถือว่าถูกกฏหมาย จนกระทั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปี ค.ศ. 2009 แต่สิ่งนี้เองก็ไม่สามารถหยุดความพยายามของ SF Express ได้

ในช่วงเริ่มแรกของ SF Express ตัวWang Wei เองต้องเป็นคนขนส่งกระเป๋าเดินทางและสัมภาระต่างๆ ข้ามชายแดนฮ่องกง โดยเขาต้องทำงานถึงวันละ 15-16 ชั่วโมง โดยมีความมมุ่งมั่นที่จะปั้นให้ธุรกิจของเขาเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านขนส่งรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีนเป็นแรงกระตุ้น

Shufeng Express และปรัชญาในการทำธุรกิจของ Wang Wei

บริษัท SF Express ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว โดย Wang Wei เป็นผู้บริหารบริษัทด้วยตัวเองถึง 99.99%   และเขาก็พยายามหลีกเลี่ยงการสนับสนุนทางการเงินจากภายนอก และด้วยความที่ไม่เป็นที่รู้จักกับคนทั่วไปมากนัก เลยมีการลือกันว่า มีนักลงทุนบางคนได้เสนอเงินถึง 70,000 ดอลล่าร์สหรัฐให้กับนักล่าเงินสนับสนุนที่สามารถนัดผู้ก่อต้อง SF Express ที่ค่อนข้างเก็บตัวคนนี้มาทานข้าวด้วยได้

เมื่อมีคนถาม Wang Wei ว่าเหตุใดเขาจึงไม่อยากปรากฏตัวในสื่อ Wang Wei ตอบว่าเหตุผลก็เพราะ “ผมมีความเชื่อในพลังที่เหนือกว่านั้น ผมคิดว่าความสำเร็จของคนคนนึงนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรสวรรค์ของเขา ความสำเร็จนั้นเกี่ยวข้องกับการทำความดี การมีเงินมากๆ ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาพูดจาโอ้อวดให้คนอื่นรู้ เช่นเดียวกันกับการมีพรสววรค์

การที่ประสบความสำเร็จและสามารถหาเงินได้มากมากยนั้น เป็นเพียงเรื่องของโชคชะตา นั่นคือเหตุที่ว่าทำไมผมคิดว่าคนไม่ควรพูดจาโอ้อวดเรื่องความสำเร็จในอาชีพของเขา การอยู่อย่างเงียบๆนั้น มีประโยชน์ในด้านของการบริการ เช่นถ้าพนักงานของคุณจำคุณไม่ได้ สิ่งนี้จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงพวกเขาได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณสามารถมองเห็นและเข้าใจสถานการณ์ความเป็นไปของบริษัทที่แท้จริงได้”

ในปี ค.ศ. 2013 การเข้าสู่ตลาดหุ้นนั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของ SF Express แต่ Wang Wei ได้ขายหุ้นเพียง 25% ให้กับนักลงทุนจำนวนมาก ที่นำโดยบริษัท CTITC Capital Holding Limited

 “ผมเชื่อว่าวัตถุประสงค์หลักของบริษัทควรไม่ใช่เพื่อการหาเงิน ผมต้องการสร้างแพลทฟอร์มที่ผมสามารถแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความคิดของผม จุดประสงค์เพียงอย่างเดียวที่จะนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหุ้นคือการหาเงินทุน ซึ่งสามารถนำมาเป็นตัวผลักดันการเติบโตของบริษัทได้ SF Express เองก็ต้องการเงินทุนเช่นกัน แต่ SF Express ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดหุ้นได้เพียงเพราะความต้องการเงินทุน เพราะหลังจากการเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทแล้ว บริษัทก็จะกลายเป็นเหมือนเครื่องจักรปั๊มเงิน ซึ่งมีราคาหุ้นของบริษัทที่ขึ้นและลงทุกวันเป็นตัวกำหนดคุณค่าของบริษัทและกำลังใจของพนักงาน และสิ่งนี้เอง ที่ทำให้การบริหารบริษัทกลายเป็นเรื่องยาก”

“สำหรับผม การบริหารธุรกิจนั้นผมอยากจะทำให้มันเป็นสิ่งที่ยั่งยืน เพื่อเป็นตัวช่วยให้คนมีวิธีที่จะทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นและน่าเคารพมากยิ่งขึ้น แต่การนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นนั้นจะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป คุณจะต้องคิดถึงผู้ถือหุ้นของบริษัท ต้องกังวลเรื่องมูลค่าหุ้นของบริษัท และพยายามทำให้มันมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ การแสวงหากำไรจะกลายเป็นเป้าหมายหลักของบริษัท และมันจะทำให้บริษัทไม่มั่นคง เช่นเดียวกันกับสภาพสังคมในสมัยนี้”

delivery man 3

การที Wang Wei ยังคงกุมบังเหียนของบริษัทไว้ ทำให้เขาสามารถทำตามจุดประสงค์ในระยะยาวของเขาได้ ซึ่งคล้ายกันกับสิ่งที่ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon และ Evan Spiegel ผู้ก่ตอตั้ง Snapchat ทำกับบริษัทของพวกเขา  แต่อย่าลืมว่า SF Express นั้นเกิดขึ้นมาก่อนที่จะมี Amazon และ eBay ซะอีก

“เพื่อที่จะนำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้นั้น คุณต้องพุ่งความมุ่งหมายไปยังจุดประสงค์ในระยะยาวอย่างไม่ลดละ เมื่อคุณนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหุ้น เงินทุกบาททุกสตางค์หรือแม้แต่กระทั้งการตัดสินใจเรื่องเล็กๆน้อยๆจะถูกจับตาและถูกสืบสวนโดยเหล่าบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัท และนี่เป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้ ผมไม่สามารถสัญญาผลตอบแทนในระยะสั้นได้ ถ้าผมตั้งใจจะทำอะไรที่ส่งผลในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อบริษ้ทเข้าสู่ตลาดหุ้น คุณต้องเริ่มเปิดเผยข้อมูลของบริษัทให้คนทั่วไปได้รับรู้ แต่หากต้องการที่จะแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ระดับโลก เราจำเป็นต้องเก็บความลับของบริษัทเอาไว้ ในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจ คุณต้องเข้าใจว่าทำไมคุณถึงอยากจะเข้าสู่ตลาดหุ้น ที่ผมพูดมาทั้งหมดก็เพื่อจะบอกว่า SF Express นั้นจะไม่เข้าสู่ตลาดหุ้น ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือยาวก็ตาม ถ้าเราตัดสินใจจะเข้าตลาดหุ้น เหตุผลจะไม่ใช่เพราะเราต้องกาความโด่งดังหรือว่าเพื่อเงิน”

การเข้าสู่ตลาดหุ้นและการเติบโตในระดับนานาชาติ

แม้ว่า Wang Wei จะมีความปรารถนาดีที่จะการรักษาบริษัทของเขาให้เป็นของส่วนตัวให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ความจริงที่โหดร้ายคือบริษัทของเขาทำธุรกิจในการขนส่งสินค้าไปยังผู้รับปลายทาง (last-mile delivery) ซึ่งหากดูจากข้อมูลของนักวิเคราะห์  จะพบว่ากำไรของธุรกิจประเภทนี้ นับวันจะยิ่งถดถอย  โดยลดลงจาก 30% เหลือเพียง 5% ภายในเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

ผนวกกับความพยายามของ Alibaba ที่จะรวบรวมบรรดาบริการการขนส่งต่างๆ ในจีนเข้าด้วยกันผ่านแพลทฟอร์ม Cainiao ยิ่งทำให้สถานการณ์นี้เลวร้ายลงไปอีก ส่งผลให้บรรดาบริษัทขนส่งในจีนต่างพากันเริ่มแข่งขันกันอย่างบ้าคลั่งเพื่อหาเงินทุนสนับสนุนให้ได้มากที่สุด และเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  เพื่อที่จะสามารถเพิ่มขนาดของบริษัทจนไปสู่จุดที่กลายเป็นผู้ครองตลาดเพียงหนึ่งเดียวได้

“ทั้ง SF Express , YTO และบริษัทขนส่งด่วนหลักๆในจีน ต่างแข่งกันที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้น เนื่องจากกำลังประสบปัญหาภาวะกำไรถดถอยและสถานการณ์ที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้น ความฝันที่จะเป็นเสมือน FedEx ของประเทศจีน จึงกลายเป็นการแข่งขันกันด้วยเงินทุนและความสามารถ” Jeffery Towson ศาสตราจารย์ประจำโรงเรียนบริหารและการจัดการ Guanghua มหาวิทยาลัยปักกิ่งกล่าว

SF Plane

คู่แข่งของ SF อย่าง ZTO Express และ Alibaba ที่มี YTO Express สนับสนุนอยู่ ต่างพึ่งพากันเข้าสู่ตลาดหุ้น โดย ZTO สามารถหาเงินสนับสนุนได้ 1,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยการประเมิณมูลค่าของบริษัทโดยตลาดหุ้นอเมริกา ส่วน YTO ก็ได้รับเงินสนับสนุนมูลค่า 10,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐผ่านการขึ้นทะเบียนอย่างลับๆในตลาดหุ้นที่เซี่ยงไฮ้

ในขณะที่บรรดาคู่แข่งต่างพากันเพิ่มเงินทุน SF เองเหลือตัวเลือกไม่มากนัก นอกจากการเข้าสู่ตลาดหุ้นเช่นกัน โดยบริษัท SF เข้าสู่ตลาดผ่านตลาดหุ้นที่เซิ่นเจิ้น โดยการรวมตัวกับบริษัทอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในท้องถิ่น และการตัดสินใจนี้ทำให้ Wang Wei กลายเป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 3 ของจีน โดยร่ำรวย กว่า Jack Ma อยู่สองสามวัน จนมูลค่าหุ้นของ SF ตกลง แต่นี่ไม่ใช่สัญญาณของจุดจบการแข่งขันระหว่างบริษัทขนส่งต่างๆในจีน

ศาสตราจารย์ Towson จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้กล่าวว่า เพื่อที่จะพยายามพัฒนาบริษัทให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆนั้น ผู้นำด้านการขนส่งในจีนต่างๆต้องขยายบริการของตนออกไปยังประเทศอื่น โดยมีประเทศในเอเชียต่างๆที่จะเป็นก้าวแรกของบริษัท

STO ได้ตั้งศูนย์ขนส่งในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทขึ้นที่ฮ่องกง ซึ่งทำให้บริษัทสามารถขนส่งสินค้าไปได้ทั่วเอเชียภายใน24ชั่วโมง และ SF Express ก็ได้ตั้งบริษัทอยู่ที่เซินเจิ้น ซึงเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ประเทศไทย ที่เป็นเสมือนประตูสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้วยการเข้าครอบครอง Lazada ของ Alibaba ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีที่ผ่านมา และการเข้าสู่อินโดนีเซียของ JD ในปี ค.ศ. 2015 การที่ SF จะเข้าสู่ตลาดสู่ตลาดที่กำลังเกิดขึ้นใหม่อย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามลูกค้าชาวจีนรายใหญ่ที่สุดของบริษัทนั้น ก็คงไม่ใช่เรื่องที่คาดเดาไม่ได้

หาก SF ภายใต้การบริหารของ Wang Wei เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราก็คงจะได้เห็นสงครามระหว่างธุรกิจขนส่งที่มาจากจีนทั้งหลาย กับบริษัทที่ให้บริการด้านการขนส่งในภูมิภาคอย่าง Ninja Van และ Kerry Logistics รวมถึงบริษัทขนส่งระดับโลกอย่าง DHL และ Singpost

 

บทความนี้เขียนขึ้นโดยคุณ Sheji Ho Group CMO ของ aCommerce และเผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษที่เว็บไซต์ eCommerceIQ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...