สัมภาษณ์ TechFarm: Hardware Startup ไทยกับผลงาน "เล่นน้ำ" | Techsauce

สัมภาษณ์ TechFarm: Hardware Startup ไทยกับผลงาน "เล่นน้ำ"

IMG_6744

เป็นอีกเรื่องที่น่ายินดีกับวงการ startup ไทยที่ได้เห็นหนุ่มสาวสายเลือดใหม่เข้าสู่วงการกันมากขึ้น แถมฝีไม้ลายมือไม่ธรรมดาจริงๆ กับทีม TechFarm ซึ่งเป็น hardware startup ที่เล็งเห็นปัญหาเมื่อเกษตรกรต้องเผชิญกับคุณภาพน้ำและดิน พวกเขาเลยมุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้โดยสร้างผลิตภัณฑ์ “เล่นน้ำ” และ “เล่นดิน” เพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำและดินที่ใช้ทำการเกษตร

เท่านี้ยังไม่พอน้องๆ TechFarm ยังได้การันตีฝีมือจากหลายเวทีด้วยกัน อาทิเช่น คว้ารางวัลชนะเลิศ special award from USAID และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในประเภท World Citizenship จากรายการ Imagine Cup Thailand 2015 และอีกหนึ่งรางวัลที่พวกเขาได้รับก็คือ Digital Winner จากโครงการ dtac accelerate ปีที่ 3 แถมได้ไปนำเสนอผลงานกับ Telenor Group ที่กรุง Oslo ประเทศนอร์เวย์อีกด้วย

12233036_10153321006861298_270307408_n

TechFarm ประกอบด้วย

  • นางสาวมณีรัตน์ ว่องเจริญพร (จิ๋ว) co-founder อายุ 21 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา สารสนเทศและการสื่อสาร ปี 3
  • นายอานนท์ บุณยประเวศ (นนท์) CEO & co-founder อายุ 21 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ปริญญาโท
  • นายปริวรรช์ ทองเนื้อสุข (เต้) co-founder อายุ 23 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินน์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ที่มาของ TechFarm เป็นอย่างไร

TechFarm เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มนักศึกษาครับ เมื่อปีที่เราทำโปรเจคเข้าแข่งขันและได้รับหัวข้อเรื่อง “ปัญหาการขาดแคลนอาหาร” พวกเราถกกันไปจนได้ข้อสรุปว่า อาหารทุกอย่างที่เราทานมันมาจากดินทั้งนั้น ดินเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดซึ่งเกษตรกรปัจจุบันไม่สามารถใช้มันได้อย่างเต็มที่ จึงเกิดมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า “เล่นดิน” เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพดินครับ หลังจากที่ทำไปสักพัก เราเริ่มให้ความสนใจกับชาวประมง และทราบว่าพวกเขาก็มีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำเหมือนกัน พวกเราเลยสร้างอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งขึ้นมาชื่อว่า “เล่นน้ำ” คอยตรวจสภาพน้ำและช่วยเกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในตรงนี้ เลยเป็นที่มาของ TechFarm ครับ

ได้ข่าวว่ายังเรียนอยู่ ทำไมจึงอยากมาทำ startup

เราเล็งเห็นว่าตัวผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณค่ากับตลาด และสามารถช่วยเหลือสังคมได้จริงๆ โดยหลังจากที่ผ่านการแข่งขันมาหลายเวที ทำให้เราเข้าใจว่าการที่เราจะคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ต้องขับเคลื่อนด้วยรูปแบบธุรกิจที่เติบโตไปได้ จึงตัดสินใจออกมาทำกันแบบจริงจังครับ

ความท้าทายของการเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยคืออะไร

แน่นอนเลยว่าคือเรื่องของการจัดเวลา ถ้าเราจะทำงานอย่างเดียวโดยที่ไม่เรียนก็แปลว่าเราไม่สามารถจัดการเวลาได้ เพราะเราขึ้นชื่อว่าเป็นนักเรียน หน้าที่ของเราก็คือเรียนหนังสือ ถ้าอยากทำอย่างอื่นไปด้วยเราก็ควรต้องจัดการบริหารเวลาให้ได้ แต่ข้อดีของการเรียนไปด้วยนั้นคือความรู้ในห้องเรียนและโลกของการทำงานมันสนับสนุนกันด้วย ทำให้เราเติบโตได้ไวเช่นกัน

ไปเข้าร่วมโครงการ Telenor Group ที่นอร์เวย์มา เป็นอย่างไรบ้าง

สนุกดีครับ เราได้ไปเข้าร่วม conference Telenor Digital Winner ของปีนี้มา ซึ่งธีมของงานก็จะเป็น Internet For All แต่จะเน้นไปที่นวัตกรรมของแถบสแกนดิเนเวียมากกว่า ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศเขา และทำให้รู้ว่า Hardware startup ในบ้านเรายังถือว่ามีน้อยมาก อาจจะด้วยต้นทุนที่สูง แต่บ้านเขามีเต็มไปหมดเลย และอีกอย่างก็คือ ไอเดียของ startup คนไทยไม่แพ้ชาติอื่นนะครับ

อยากฝากอะไรกับเพื่อนๆในวัยเรียนที่สนใจมาทำ startup

อยากให้ทำความเข้าใจกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เพราะมีหลายคนที่ล้มเหลวในการทำ startup เพราะว่าพวกเขาไม่เข้าใจลูกค้าเพียงพอ คิดว่ามีไอเดียที่ดีก็ทำเลย เราควรศึกษาเช่น ลูกค้าต้องการอะไร ไลฟ์สไตล์ชีวิตเป็นแบบไหน แล้วเราจะสร้างผลิตภัณฑ์อะไรออกมาเพื่อตอบโจทย์พวกเขาครับ

หลังจากที่สัมภาษณ์เสร็จ สิ่งหนึ่งที่ทีมงานสัมผัสได้คือ Passion และความตั้งใจจริงของน้องๆ กลุ่มนี้ อีกไม่นานเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์"เล่นน้ำ" มาให้เกษตรกรไทยได้ใช้กัน ทีมงานขอเอาใจช่วยให้น้องๆ TechFarm ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...