‘TechJam by KBTG’ ชวนคนช่างคิดมาร่วมพิชิตโจทย์ Human-centric AI | Techsauce

‘TechJam by KBTG’ ชวนคนช่างคิดมาร่วมพิชิตโจทย์ Human-centric AI

เวทีล่าสุดที่เราอยากนำเสนอให้ ‘คนช่างคิด’ มาร่วมปล่อยของ ‘TechJam by KBTG’ โครงการแข่งขันรูปแบบใหม่ที่มีธีม ‘Human-centric AI’ ภายใต้แนวคิด Better Living Through Intelligence Technology ซึ่งเวทีนี้เปิดโอกาสให้คนช่างคิดที่มีความรู้ความสามารถในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Programming) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Data Science) และการออกแบบที่สร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งาน (UX/UI Design) ได้แสดงความสามารถ ประชันไอเดีย เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะ 3 ทีมจาก 3 ความถนัด ซึ่งจะได้รางวัลเป็นตั๋วเครื่องบิน สิทธิ์ในการเวิร์กช็อปที่ซิลิคอน วัลเลย์ ฯลฯ

เนื่องจาก KBTG (KASIKORN Business-Technology Group) มีภารกิจในการสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อสนับสนุนธนาคารกสิกรไทยในการส่งมอบบริการและเครื่องมือที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ให้ใช้ชีวิตได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ นับเป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดบริการใหม่ๆ ได้จริง และเรื่อง Human-centric AI ก็เป็นเทรนด์ที่หลายๆ ภาคธุรกิจกำลังเรียนรู้ พัฒนา และมีบทบาทต่อไลฟ์สไตล์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต KBTG จึงจับมือพันธมิตรชั้นนำ Google Developers และ LINE ประเทศไทย จัดโครงการ TechJam by KBTG ขึ้น โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงมาให้ความรู้และมาเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้เข้าร่วมโครงการตลอดการแข่งขัน

‘TechJam Mixer Event’ รวมตัวเพื่อพบปะ - แบ่งปันในด่านแรก

เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องและเตรียมความพร้อมสำหรับผู้เข้าร่วมแข่งขัน TechJam by KBTG  จึงจัดงาน ‘TechJam Mixer Event’ ขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน โดย ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เป็นประธานเปิดงาน และภายในงานมีวิทยากรจาก KBTG, Google Developers, GDG Thailand และ LINE ประเทศไทย รวมทั้งคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย มาร่วมแชร์แนวคิดแห่งอนาคต

เนื่องจากงานนี้สนับสนุนให้ผู้เข้าแข่งขันได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่อย่างแชทบอท ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และโมบายล์แอปดีไซน์อย่างแท้จริง KBTG จึงจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญจากหลายแขนงมาร่วมวงสัมมนาแบ่งปันความรู้ใน 3 แทร็ค ให้แก่ผู้มีความสนใจที่แตกต่าง และเปิดโอกาสให้ซักถามอย่างเป็นกันเอง

ห้องแรก ‘Code Track’ สำหรับผู้ที่มีความสามารถด้าน Programming

ห้องนี้โฟกัสที่นักพัฒนาผู้ชอบประลองฝีมือเขียนโปรแกรมและไขโจทย์ที่ท้าทาย ซึ่งในโลกไฟแนนซ์ 50-60% ของเงินหมุนเวียนในประเทศไทยเป็นเดต้าที่อยู่กับธนาคาร ทำไมทีมนักพัฒนาถึงมีความสำคัญมากกับธุรกิจการเงิน?

  • ลองนึกภาพดูว่า วันวันหนึ่งมีจำนวน Transaction ที่เกิดขึ้นจากสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงในช่องทางออนไลน์ต่างๆ ในปริมาณที่เยอะมาก ถ้าเกิดระบบที่พัฒนาออกมา ออกแบบไม่ดี อาจทำให้ระบบล่มหรือมีปัญหา กระทบลูกค้าเป็นล้านๆ รายได้ ดังนั้นสำหรับสายงานของนักพัฒนาแล้ว เปรียบเสมือนเส้นเลือดที่เป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีเลยทีเดียว และถึงจะ Design หน้าตาออกมาดีแค่ไหน แต่ถ้า Core โครงสร้างไม่ดี ก็ทำให้เกิดบริการดีๆ ไม่ได้เลย

ปัจจุบันมีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย ทางธนาคารยิ่งต้องค้นหาทีมพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการเข้ามาช่วยพัฒนาฟังก์ชั่นต่างๆ อาทิ ระบบ Infrastructure หลักในการรับโหลดลูกค้าปริมาณมากๆ, Automated Customer Service และ Workflow เพื่อให้ประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า, KYC (Know-Your-Customer) การรู้จักลูกค้า, การพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมต่อกับ FinTech ภายนอก เป็นต้น นอกจากนี้นักพัฒนาเองต้องตื่นตัว ติดตามเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ทันด้วย อย่างตอนนี้ Blockchain กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และที่งาน TechJam ครั้งนี้ก็ได้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยปูพื้นเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้าแข่งขันใน Code Track การแข่งขันรอบคัดเลือกแบบออนไลน์จะมีชุดโจทย์ปัญหาให้ทำตามเวลาที่กำหนด ส่วนการแข่งขันรอบตัดสินจะมีโจทย์ที่หลากหลายเพื่อให้ผู้แข่งขันเลือกแก้โจทย์ โดยแต่ละโจทย์จะระบุให้ใช้ API ตามที่กำหนด และเกณฑ์การตัดสินของทั้งสองรอบจะพิจารณาจากความถูกต้องแม่นยำ ประสิทธิภาพของโปรแกรม และความครบถ้วนตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด

ห้องที่สอง ‘Data Track’ สำหรับผู้ที่มีความสามารถด้าน Data Science, Machine Learning

เป็นห้องที่เหมาะกับผู้ที่ชอบเรื่อง Data Science และ Machine Learning โดยตรง และเป็นห้องที่ได้รับความนิยมชนิดว่าเต็มทุกที่นั่ง ถึงกับต้องขนเก้าอี้เสริมกันเข้ามาเลยทีเดียว และจากการสัมมนาในห้องนี้มีหลายหัวข้อที่น่าสนใจ โดยมีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้

  • สำหรับธนาคารแล้ว ข้อมูลหรือเดต้าคือสิ่งสำคัญมากที่จะเข้าใจลูกค้าแบบ 360 องศา จุดสำคัญคือต้องมองให้ออกว่าข้อมูลที่ได้มา เอามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง เราจะช่วยให้ประสบการณ์ลูกค้าดีขึ้นได้อย่างไร ปัจจุบันการวิเคราะห์เดต้า ทำให้หลายๆ องค์กรนอกจากรู้ข้อมูลพื้นฐานแล้ว ยังเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้นว่า เดิมอยู่ที่ไหน ชอบทำธุรกรรมผ่านช่องทางไหน ชอบซื้อสินค้าอะไร มีการเดินทางไปต่างประเทศบ่อยหรือไม่ สุดท้ายแล้วการนำเสนอประสบการณ์ที่ดีที่สุดคือ ต้องลงระดับ Segment on One คือการเข้าใจลูกค้าแต่ละคนให้ได้ และทำ Personalize นำเสนอสิ่งที่ตรงใจลูกค้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ไม่อยากให้นักพัฒนาและคนที่มาสายเทคนิคเน้นเรื่องของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว อยากให้คำนึงถึงว่า บริการที่กำลังคิดขึ้นมานั้น ทำแล้วนำมาใช้จริงได้อย่างไร เกิดประโยชน์กับลูกค้าจริงๆ ได้อย่างไร
  • ทักษะที่สำคัญของการมาร่วมทีมเดต้า นอกจากมีทักษะเรื่องเทคนิค ยังมีจุดสำคัญอีก 2 ทักษะ คือ ควรสื่อสารและอธิบายให้คนอื่นสามารถเข้าใจได้ และทักษะการคิดนอกกรอบ เปิดใจให้กว้างเพื่อพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ
  • มีโปรแกรมเมอร์หลายคนที่อยากเติบโตมาสาย Data Science แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร วิทยากรในงานแนะนำว่า สามารถที่จะลงเรียนผ่านสื่อออนไลน์จากแพลตฟอร์มดังๆ ได้เช่น Coursera

สำหรับผู้เข้าร่วมแข่งขันใน Data Track จะได้สร้างโมเดลจากไอเดียตัวเอง โดยการแข่งขันรอบคัดเลือกแบบออนไลน์จะมีโจทย์พร้อมข้อมูลประจำโจทย์ (Training Data Set) ให้ทำตามเวลาที่กำหนด ส่วนการแข่งขันรอบตัดสินจะมีโจทย์และข้อมูลที่ความซับซ้อนและท้าทายมากยิ่งขึ้น โดยเกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาจากทีมที่สามารถสร้างโมเดลที่ให้ผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำที่สุด

ห้องที่สาม ‘Design Track’ สำหรับผู้ที่สนใจอยากใช้ Creativity และ Design Thinking

ห้องนี้ สำหรับผู้มีความสามารถด้านการออกแบบแนวคิดชีวิตที่ดีกว่าด้วยเทรนด์ทางสังคมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่ตอบโจทย์ความต้องการและสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งาน ซึ่งความรู้ที่วิทยากรนำมาแบ่งปันในห้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Design Sprint (โดย Google Ventures) คือ กระบวนการหาวิธีแก้ปัญหาที่เราสงสัยได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว (เร่งกระบวนการคิด) โดยใช้เวลาเพียง 5 วัน ซึ่งความรู้และมุมมองที่ได้จากห้องนี้ก็เช่น

  • 5 วันของการทำ Design Sprint : วันแรก ให้ทำความเข้าใจปัญหา กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน สร้างแผนที่ และตั้งคำถาม How might we? และตั้ง Long Term Goal เป้าหมายระยะยาว เช่น ถ้าตั้งร้านกาแฟ เราต้องการเป็นร้านกาแฟที่คนอยากจะมานั่ง ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า เราทำให้มีเพลงเพราะๆ มีเก้าอี้ที่นั่งสบายได้ไหม นี่คือลักษณะของ Sprint Question วันที่ 2 ให้เลือกปัญหาที่จะแก้แล้วแยกย้ายไปแก้ปัญหา วันที่ 3 นำเรื่อง How might we? มาคุย หาโซลูชันที่ดีที่สุด และตัดสินใจ โดยทีมต้องมี Decider ผู้ที่ตัดสินใจได้ วันที่ 4 สร้างต้นแบบ Prototype และ วันที่ 5 นำไปทดสอบกับผู้ใช้จริงแล้ววัดผล โดยสามารถดาวน์โหลดข้อมูลของ Design Sprint เพิ่มเติมได้ที่ https://designsprintkit.withgoogle.com/resources

รวมทั้งในวันนั้นยังมี Panel discussion ที่น่าสนใจจากหลากหลายมุมมองของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายสาขาอาชีพซึ่งมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ Technology อย่าง AI และการออกแบบแบบสร้างสรรค์ อาทิ

  • Interaction ระหว่าง AI กับมนุษย์ จะมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น จาก Communication ทางเดียวจะเป็นสองทาง แต่ก็จะมีความท้าทายมากขึ้น คือ AI จะทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีขึ้น จึงทำให้ Interaction โดยรวมจำเป็นต้องเป็นมีการพัฒนาปรับควบคู่กันไปด้วย
  • เพื่อให้เราได้ทราบเกี่ยวกับการเติบโตทางเทคโนโลยี และสามารถนำเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาเป็นส่วนช่วยในการออกแบบให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น อาจจะเริ่มจากทำความรู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Machine Learning
  • การดีไซน์ย่อมต้องออกแบบให้ถูกใจผู้ใช้ ในอนาคตการออกแบบจะมีลักษณะเป็น Personalized เช่น เรื่องเว็บไซต์ ไม่จำเป็นที่หน้าแรกที่ผู้ใช้แต่ละคนเห็น จะต้องเหมือนกัน เพราะระบบเริ่มเรียนรู้จนรู้เป็นรายบุคคลได้ว่า ใครสนใจเรื่องอะไร มีคาแรกเตอร์อย่างไร การออกแบบ จำเป็นจะต้องนำเสนอ Interface ให้สอดคล้องกับสิ่งที่บุคคลนั้นสนใจให้ได้
  • ถ้าเราอยู่ในช่วงเริ่มต้น ให้ศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว การดูตัวอย่างประเทศอื่นๆ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง โดยนำตัวอย่างที่ได้มาปรับให้เข้ากับสังคมนั้นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ใช้ไลน์เพราะชอบอะไรที่มุ้งมิ้ง ต่างกับยุโรปที่นิยมใช้ Whatsapp เพราะต้องการแค่ฟีเจอร์เพื่อสื่อสารกันตรงๆ
  • ทุกอย่างจะมีจุดเบรกของมัน ไม่มี Best Practice ของการออกแบบที่จะใช้ได้ตลอดไป เช่น อีก 5 ปี ก็จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ  เราจำเป็นต้อง  Redesign โดยต้องคำนึงว่า องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะเปลี่ยนไปคือ User ซึ่งจะไม่ได้มีความคาดหวังที่เหมือนเดิม

สำหรับการเฟ้นหาสุดยอดนักคิดวิสัยทัศน์สร้างสรรค์ที่มี Passion ใน Human Centric Experience Design มาเข้าร่วมแจมใน Design Track จะเปิดให้ร่วมแข่งขันรอบคัดเลือกแบบออนไลน์ โดยให้นำเสนอ Conceptual Design ในโจทย์ด้านการออกแบบชีวิตแห่งอนาคต ที่ผสมผสานไปกับเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นการท้าทายให้ผู้สมัครได้แสดงออกถึงวิสัยทัศน์ ไอเดีย และทักษะในการออกแบบเพื่อใช้ในการพิจารณาคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ

ในด้านภาพรวมของ TechJam Mixer Event มีผู้สนใจเข้าร่วมงานราว 500 คน โดยส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีไฟ มีฝัน อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และหลังจากเสร็จสิ้นงานสัมมนา KBTG ยังจัดให้มี Networking Party ให้ทุกคนได้แจม ได้จอย ได้เชื่อมคอนเนคชันในคอมมูนิตีรวมพลคนช่างคิดอีกด้วย

สมัครทางไหน มีรางวัลอะไรบ้าง?

TechJam by KBTG รับสมัครตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน ถึง 30 กรกฎาคมนี้ ที่  www.kbtg.tech/techjam โดยนิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสัญชาติไทยที่สนใจร่วมการแข่งขัน สามารถสมัครแบบมาคนเดียวหรือมาเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 2 คน และสามารถเลือกเข้าแข่งขันได้เพียง 1 จาก 3 แทร็ค คือ Code Track, Data Track หรือ Design Track

ทีมผู้สมัครจะต้องผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นทางออนไลน์ (Online Audition Round) โดยกำหนดปล่อยโจทย์ของทั้ง 3 แทร็คบนเว็บไซต์ TechJam ช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม และกำหนดส่งคำตอบภายในช่วงเย็นของวันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม หรือตามเวลาที่กำหนดซึ่งจะมีการแจ้งให้ทราบต่อไป ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกในวันที่ 5 สิงหาคม ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในวันที่ 26-27 สิงหาคม 2560 ณ อาคาร KBTG แจ้งวัฒนะ ซึ่งจะได้ร่วมแข่งขันในโจทย์การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ พร้อมนำเทคโนโลยีมาสร้างนวัตกรรมแห่งอนาคตในธีม Human-centric AI

ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขัน TechJam by KBTG ในแต่ละแทร็ค รวม 3 ทีม จะได้ไปศึกษาดูงานและร่วมทำเวิร์กช็อปที่ซิลิคอน วัลเลย์ ซึ่งเป็นคอมมูนิตีด้านไอทีที่นักพัฒนาต้องไปสัมผัสให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิตกับ Google พร้อมตั๋วเครื่องบินและค่าใช้จ่ายตลอดการเดินทางที่สหรัฐอเมริกา และรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท

ผู้เข้าแข่งขันสามารถติดตามความเคลื่อนไหว และประกาศต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.kbtg.tech/TechJam และเฟซบุ๊ก TechJam by KBTG

รู้เพิ่มกันหน่อยเกี่ยวกับ KBTG

KBTG เป็นบริษัทของธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในการสร้างธนาคารแห่งอนาคตแบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ รวมทั้งสนับสนุนฟินเทคในการพัฒนาแอปพลิเคชันทางการเงินเพื่อตอบสนองการใช้งานของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย โดยในปี 2559 ทาง KBTG ได้สนับสนุนบริษัท บีคอน อินเตอร์เฟส ซึ่งเป็นฟินเทคของไทย ในการพัฒนาแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น ส่งเข้าประกวดในงาน Singapore FinTech Festival 2016 รับรางวัลชนะเลิศ Winner of Global FinTech Hackcelerator จากธนาคารกลางของสิงคโปร์ และรางวัล Developer Hub Award จาก Citigroup หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันควบอีก 1 รางวัลจากการประกวดดังกล่าว และล่าสุดในปี 2560 ทาง KBTG ได้รับรางวัล Best Innovation Center by Financial Institution in Thailand จากวารสาร The Asian Banker อีกด้วย ตอกย้ำความเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีของไทย

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...