8 มหาเศรษฐีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับการเดิมพันใน Tech Startups | Techsauce

8 มหาเศรษฐีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับการเดิมพันใน Tech Startups

เหล่าบุคคลที่ร่ำรวยและมีอำนาจสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในสิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ กำลังให้ความสนใจและเริ่มเดิมพันในธุรกิจ Tech  Startups ในภูมิภาค

เราจะพาไปดู 8 ครอบครัวมหาเศรษฐีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ลงทุนในบริษัท tech startup ในตอนนี้

  1. SINAR MAS GROUP

Sinar Mas Group มีธุรกิจใน 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ธุรกิจการเกษตรและอาหารบริการทางการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การสื่อสารและเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมพลังงาน

การจัดอันดับโดยForbes: Eka Tjipta Widjaja ผู้ก่อตั้งSinar Mas Group ถูกจัดเป็นอันดับ4 ของบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในอินโดนีเซียในปี2016

ลงทุนอะไร: ปัจจุบัน Sinar Mas Digital Ventures บริษัทในเครือของ Sinar Mas Group ได้ลงทุนใน Startup ไปแล้วถึง 7 บริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตัวอย่างบริษัทที่ Sinar Mas Group ลงทุนไป คือ Omise บริษัทระบบชำระเงินออนไลน์ของไทย ที่ได้รับเงินระดุมทุนไป 20.4 ล้านเหรียญสหรัฐ  โดยSinar Mas Digital Ventures ลงทุนไป17.5ล้านเหรียญสหรัฐ ในระดับ Series B ในช่วงไตรมาสที่สามของปี2016 และ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐในระดับ Series A ในไตรมาสที่สองของปี2015

นอกเหนือจากนั้น Sinar Mas Group ยังลงทุนใน Ardent Capital ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของไทยที่พยายามลดช่องว่างของตลาดStartup ด้วยการช่วยให้ผู้ค้าปลีกแบบออฟไลน์สามารถขายและเข้าถึงลูกค้าออนไลน์ได้

      2. ครอบครัว HARTONO

Robert Budi Hartono เป็นเจ้าของ Djarum บริษัทยาสูบในประเทศอินโดนีเซีย

การจัดอันดับโดยForbes: Robert Budi Hartono และ Michael Hartono พี่ชายของเขา ถูกจัดเป็นอันดับ 1 ของบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในอินโดนีเซียในปี 2016  และในปีเดียวกัน ครอบครัวHartono ก็ถูกจัดเป็นอันดับที่ 6 ของครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดโดย Forbes อีกด้วย

ลงทุนอะไร: Martin Hartono ลูกชายของ Robert ผู้ก่อตั้งและCEOของบริษัทร่วมทุน GDP Venture ได้ลงทุนในบริษัท Sea ในปี 2016 และปี 2017 อีกทั้งยังบริหารบริษัท Merah Putih ที่ลงทุนในเว็บข่าวเทคโนโลยีในอินดีนีเซียอย่าง DailySocial ด้วย

  1. ครอบครัว RIADY 

Mochtar Riady เริ่มก่อตั้ง Lippo Group ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในอินโดนีเซียในปี 1950

การจัดอันดับโดย Forbes: ในปี2016 Forbes จัดอันดับ Mochtar Riady และครอบครัวในอับดับ10 ของบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในอินโดนีเซีย โดยมีมูลค่าสุทธิถึง 1.9พันล้านเหรียญสหรัฐ

ลงทุนอะไร: Lippo Group เปิดตัวเว็บไซต์ e-commerce ภายใต้ชื่อ Matahari Mall ในปี2015 บริษัทระดมเงินทุนได้ถึง 638ล้านเหรียญสหรัฐจนถึงปัจจุบันนี้ และในเดือนมีนาคม ปี2016 Lippo Group ประกาศว่าจะมีการร่วมมือกับ Grab Taxi ประเทศสิงคโปร์ด้วย

  1. ครอบครัว SALIM

Salim Group มีพื้นที่เพาะปลูกน้ำมันปาล์มและสัมปทานการทำไม้ และธุรกิจอื่นอีกหลายอย่าง เช่น โรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

การจัดอันดับโดยForbes: Anthoni Salim ถูกจัดอันดับเป็นอันดับ3 ใน บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของอินโดนีเซียในปี2016

ลงทุนอะไร: Salim Group ได้ซื้อหุ้น10% ของบริษัท Rocket Internet และร่วมกับ Lotte Group ของเกาหลีในการทำเว็บไซต์ e-commerce B2C

  1. ครอบครัว ZÓBEL DE AYALA 

ครอบครัว ZÓBEL DE AYALA ก่อตั้งบริษัท Ayala Corporation ที่เก่าแก่ที่สุดในฟิลิปปินส์ มีธุรกิจครอบคลุมตั้งแต่ การค้าปลีก การศึกษา อสังหาริมทรัพย์ การธนาคาร การสื่อสารโทรคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานน้ำ พลังงานหมุนเวียนอิเล็กทรอนิกส์  ไปจนถึงIT โดยประธานบริษัทและ CEO คนปัจจุบันคือ Jaime Augusto Zóbel de Ayala II

การจัดอันดับโดยForbes : Jaime Zóbel de Ayala และครอบครัว ถูกจัดเป็นอันดับ5 ของบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในฟิลิปปินส์ในปีนี้

ลงทุนอะไร: Ayala Corporation เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Globe Telecom ซึ่งมีธุรกิจ Kickstart Ventures ที่ลงทุนใน 19 บริษัททั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมถึงการลงทุน 5ล้านเหรียญสหรัฐใน Coins.ph bitcoin ของฟิลิปปินส์

นอกเหนือไปจากนั้น Ayala corporation ก็ยังลงทุนกับบริษัท startup โดยตรง โดยซื้อหุ้นใหญ่ของบริษัท Mynt และ Ant Financial Services ในช่วงไตรมาสแรกของปี และในช่วงเดียวกันก็ได้ร่วมกับ Kickstart Ventures และ BPI Capital เพื่อเป็นผู้ถือหุ้น 49% ของZalora เว็บไซต์แฟชั่นและรองเท้า  ในฟิลิปปินส์

      6. ครอบครัว HAMAMI 

Achmad Hamami เป็นเจ้าของบริษัทขายอุปกรณ์หนัก PT Tiara Marga Trakindo ซึ่งมี Muki Hamami ผู้เป็นลูกชายดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โดยMuki ก็มีบริษัทที่ชื่อว่า Trakindo Utama ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายCaterpillar ในอินโดนีเซีย

การจัดอันดับโดย Forbes: แม้อันดับของ Achmad จะตกลงมาในช่วง2-3ปีที่ผ่านมา แต่เขาก็ยังอยู่ในอันดับที่ 38 ใน 50อันดับคนร่ำรวยที่สุดของอินโดนีเซียในปี2016

ลงทุนอะไร: ในเดือนมิถุนายน ครอบครัว Hamami ได้ลงทุนใน BookDoc tech startup ด้านสุขภาพในมาเลเซีย

  1. EDUARDO SAVERIN

Eduardo Saverin ผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook กับ Mark Zuckerberg ในปี2004 เขาย้ายไปอยู่สิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2009 และย้ายสัญชาติในปี 2011

การจัดอันดับโดย Forbes: ในปี2017 Saverin ถูกจัดเป็นอันดับ2 ของ 50 บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของสิงคโปร์

ลงทุนอะไร: Eduardo Saverin ได้ลงทุน8ครั้ง ใน7บริษัทเอกชนในภูมิภาค ร่วมถึงการลงทุนใน RedMart เว็บขายของชำออนไลน์ ที่ถูกซื้อไปโดย Lazada ของAlibaba ในปี2016

Eduardo ยังได้เปิดตัว B Capital Group ในปี2016 เป็นกองทุนมูลค่า143 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การช่วยให้ B2B และ B2B2C เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นทั่วโลก และจนถึงปัจจุบันก็ได้มีการลงทุนไปแล้วสองครั้งกับบริษัทขนส่งของสิงคโปร์ Ninja Van ในปี2016 และ บริษัท digital health ที่ดูแลเรื่องสุขภาพของพนักงานบริษัทอย่าง CXA ในปี2017

  1. ครอบครัวจิราธิวัฒน์

ครอบครัวจิราธิวัฒน์ เป็นเจ้าของ Central Group บริษัทศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  ปัจจุบันมีคุณทศ จิราธิวัฒน์ หลานของผู้ก่อตั้งเป็นผู้ดูแลกิจการ

การจัดอันดับโดย Forbes: ในปี2017 ครอบครัวจิราธิวัฒน์ ถูกจัดเป็นอันดับ3 ของ50 อันดับบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศไทย

ลงทุนอะไร: มีข่าวลือว่า JD.com บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน มีแพลนร่วมมือกับ Central Groupในปีนี้ เพื่อเปิดตัวเว็บไซต์ e-commerce ในไทย

ที่มาของภาพและเนื้อหา CBINSIGHTS

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...