เงินกู้นอกระบบหลีกไป! Credit OK สตาร์ทอัพไทย ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงแหล่ง Working Capital | Techsauce

เงินกู้นอกระบบหลีกไป! Credit OK สตาร์ทอัพไทย ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงแหล่ง Working Capital

Working Capital หรือเงินทุนหมุนเวียน ถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการรายย่อย หรือ Micro Entrepreneur ที่เป็นคนกลุ่มหลักของประเทศ แต่มีปัญหาจากการที่คนกลุ่มนี้อาจจะยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่ง Financial ที่จะช่วยเหลือด้านการเงิน เพียงเพราะว่ายังไม่มีระบบที่รองรับการให้เครดิตคนกลุ่มนี้ได้ จึงทำให้ 'ยิ่งยง ตันธนพงศ์พันธุ์' มองเห็นช่องว่างในการทำธุรกิจที่จะสามารถช่วยเหลือการให้เครดิตในการกู้เงินกับคนกลุ่มนี้ ด้วยการสร้าง Start Up ชื่อว่า Credit OK  ขึ้นมา โดยใช้ Data จากพฤติกรรมในการใช้จ่าย และการประกอบอาชีพ นำมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ และทำเป็น Credit Scoring ออกมาเพื่อใช้ในการประเมิน 

working-capital-creditOKเริ่มต้นทำ Credit OK ได้อย่างไร 

หลังจากที่ผมจบปริญญาโททางด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐเอมริกา เมื่อปี 2006 ก็ได้กลับมาทำงานในเครือของบมจ.ปูนซิเมนต์ไทย  (เอสซีจี) ผมได้กลับมาดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โดยโจทย์หลักตอนนั้น คือ ทำอย่างไรที่จะสร้างทรัพย์สินทางปัญญาให้เกิดขึ้นจากงานวิจัยของเอสซีจี ก็ได้ดูแลในส่วนนี้มาประมาณ 10 ปี ปัจจุบันผมยังเป็นที่ปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้กับเอสซีจี

ระหว่างนั้นก็มีเพื่อนเรียนหนังสือทีเดินทางกลับมาจากบอสตัน สหรัฐอเมริกา ก็เลยมาเริ่มต้นตั้งบริษัทแรกด้วยกัน ซึ่งเป็น Financial Service Provider ชื่อว่า Cartrust ซึ่งเป็นบริษัทที่จะทำหน้าที่คล้าย ๆ กับการบริการลูกค้าให้กับสถาบันการเงิน โดยเป็นลูกค้าที่มีความต้องการสินเชื่อประเภท Car for Cash ซึ่งเราก็ทำหน้าที่เป็น Service Provider ที่จะคอยไปปิดบัญชีให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าปลอดภาระหนี้สินตรงนั้น และสามารถนำรถของตัวเองมารีไฟแนนซ์ หรือมาขอสินเชื่อ Car for Cash กับสถาบันการเงินได้

จากการทำธุรกิจตรงนี้จึงทำให้ผมเห็นว่าจริงๆแล้ว ในสังคมไทยยังมีคนอีกจำนวนมากที่ต้องการเงินหมุน หรือ เงินที่นำมาใช้ในการทำธุรกิจ หรือ Working Capital เมื่อเห็น Demand ที่ชัดเจน ผมก็คิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรที่สามารถสร้าง Product ใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากการที่ใช้รถยนต์มากู้เงิน แต่ผมอยากให้ครอบคลุมไปถึงกลุ่มที่ไม่มีใช้ยนต์มาใช้กู้ แต่ต้องการเงินไปหมุนเวียนในการทำกิจการ ก็เลยมาตั้งเป็น Startup ชื่อว่า Credit OK

ซึ่งมาจากความคิดที่ว่าเราอยากจะช่วยคนที่ประกอบอาชีพอิสระที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย แต่ต้องการเงินหมุนโดยที่เราคิดไปไกลว่าไม่อยากใช้หลักทรัพย์มาเป็นตัวค้ำประกันในการปล่อยเงินกู้ แต่เราอยากจะใช้ Data มาเป็นตัววิเคราะห์เพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับคนกลุ่มนี้หรือที่เรียกว่า Micro-entrepreneur และอีกกลุ่ม คือ เกษตรกร ซึ่งสองกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทย แต่การที่จะทำให้สำเร็จได้นั้นต้องอาศัย Data ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยประเมินความเสี่ยงที่จะให้เครดิตพวกเขาได้  

"เหตุผลที่ผมมาทำ Credit OK ก็เพราะว่าต้องการจะช่วยให้กลุ่มอาชีพอิสระที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย และเกษตรกร สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ ถ้าเราช่วยสองกลุ่มนี้ได้ มันก็จะหมายถึงว่าเราช่วยคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ โดยสิ่งที่พวกเขาต้องการมันมีหลายอย่าง แต่ความจำเป็นอันนึงในชีวิตเขา คือ การมีเงินมาหมุนเวียนในธุรกิจด้วยขั้นตอนที่รวดเร็วและดอกเบี้ยที่เหมาะสม"

working-capital-creditokลักษณะของ Data ที่จะช่วยบริหารความเสี่ยงในการให้เครดิตสำหรับ Working Capital Loan ได้ต้องเป็นอย่างไร

ต้องบอกว่าเราโชคดีตรงที่ได้มาร่วมมือกับทางเอสซีจี ซึ่งทางเอสซีจีเองมีความคิดริเริ่ม และความต้องการที่จะช่วยเหลือคู่ค้าหรือคนที่อยู่ใน Ecosystem ของเอสซีจี โดยเริ่มต้นที่กลุ่มช่าง หรือผู้รับเหมารายย่อยที่มาซื้อสินค้ากับเอสซีจี โจทย์ คือ เราจะต้องสร้างระบบเครดิตที่จะประเมินความเสี่ยงของช่างหรือผู้รับเหมารายย่อยได้ ทำให้ผู้แทนจำหน่ายของเอสซีจีสามารถนำมาใช้กำหนดวงเงินเครดิตการค้า

เพื่อให้ช่างหรือผู้รับเหมารายย่อยสามารถมาซื้อของกับเอสซีจีได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดเพราะว่าโดยธรรมชาติของอาชีพนี้ผู้ประกอบการต้องการมีเงินหมุนเวียนตลอด ระบบเครดิตจะทำให้ช่างสามารถเอาของออกไปทำงานก่อนอาจจะ 30 วันหรือ 45 วัน หลังจากนั้นถึงจะเอาเงินสดมาจ่าย ซึ่งทางเอสซีจีก็มีแนวคิดริเริ่มที่อยากจะทำเรื่องนี้อยู่ก่อนแล้วและเราก็เข้าไปทำให้แนวคิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้จริง 

ส่วน Data ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญนั้น เราก็ได้จากการที่ผู้แทนจำหน่ายที่ขายของให้กับเอสซีจีทั่วประเทศ ซึ่งเวลาที่ช่างหรือผู้รับเหมาไปซื้อของทางผู้แทนจำหน่ายก็จะมีการเก็บประวัติในการซื้อขายไว้ แล้วเราก็นำมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์เพิ่มเติม ก็จะทำให้เห็นเป็นโมเดลคร่าว ๆ  ได้ว่า คนกลุ่มนี้มีประมาณเท่าไหร่ มีระดับเครดิตอยู่ในระดับไหน และเราควรจะปล่อยเครดิตได้ในระดับใด  

นอกจากนี้เราก็ได้มีการเพิ่ม Alternative Data เข้าไป นั่นคือ เราจะมี Psychometric Data จากการที่เราจะได้มีการทดสอบเชิงจิตวิทยากับกลุ่มผู้รับเหมารายย่อยในอนาคตก็จะทำให้เราสามารถประเมินความเสี่ยงทางการเงิน ซึ่งจะเป็นการทดสอบกับตัวของผู้ที่จะมากู้เงินโดยตรง ตรงนี้ก็จะเป็น Data Source ใหม่ ๆ ที่สถาบันการเงินไม่เคยมีและใช้ในการวิเคราะห์มาก่อน และในอนาคตเราก็จะมีการพัฒนาให้สามารถมี Data Source อื่น ๆ เพิ่มเติมอีก

working-capital-creditokซึ่งทั้งหมดจะสามารถ Output ออกมาเป็น Credit Scoring คล้าย ๆ กับเครดิตบูโร แต่ไม่เหมือนกัน เพราะเครดิตบูโรจะเป็นข้อมูลในลักษณะพฤติกรรมของการชำระหนี้ของผู้กู้เป็นหลัก แต่ของเราจะเป็นจะมีทั้งส่วนของการประวัติการซื้อขาย และพฤติกรรมของผู้กู้  โดยผ่านการวิเคราะห์ให้ออกมาเป็น Score ที่สามรถแบ่งเกรดของช่างแต่ละกลุ่มออกมาได้

โดยในปัจจุบันกระบวนการทำ Score ก็เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตอนนี้ก็เริ่มที่จะ ดำเนินการกับฝั่งของผู้แทนจำหน่ายไปแล้วประมาณ 10 กว่าร้าน ซึ่งเป็นการใช้งานแบบระบบเครดิตการค้าหรือ Trade Finance หรือ การที่ผู้แทนจำหน่ายมาใช้ระบบของเราเพื่อให้เครดิตการค้ากับผู้รับเหมาที่มาซื้อของ พร้อมกันนี้ในอนาคตอันใกล้เราจะร่วมมือกับสถาบันการเงินทั้งกลุ่ม Bank และ Non-Bank เพื่อเข้ามาปล่อยกู้ในรูปแบบของ Working Capital Loan อีกด้วย 

จุดประสงหลักของเราไม่ได้เน้นที่ Consumption แต่เราอยากที่จะทำให้คนสามารถนำเงินไปต่อยอดธุรกิจ และทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นได้ หรือที่เรียกว่า Productive Working Capital

ซึ่งในอนาคตนอกจากลุ่มผู้รับเหมาแล้ว ก็ยังมีคนกลุ่มอื่นที่ต้องการเงินมาหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ ที่ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินได้ แน่นอนว่ามันต้องมีระบบประเมินความเสี่ยงก่อน เพราะถ้าให้ง่ายเกินไปมันก็อาจจะส่งผลให้เกินหนี้เสีย หรือ NPL ตามมา ซึ่งเราก็ต้องมาคิดอีกว่าจะทำอย่างไรให้คนสามารถเข้าถึงระบบตัวนี้ง่ายและเร็วขึ้น

โดยเราก็พยายามที่จะศึกษาที่จะขยายไปกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ซึ่งเน้นเฉพาะที่เป็นกลุ่มอาชีพหลัก ๆ  ของประเทศ ที่ต้องใช้ Scoring คนละแบบ เพราะแต่ละอุตสาหกรรม การประกอบอาชีพนั้นย่อมมีความแตกต่างกัน จะใช้ Score เดียวกันมันก็ไม่ Work

Stepถัดไปจะมีการขยายการประเมินเครดิตอย่างไร

นอกจากกลุ่มผู้รับเหมาแล้ว เราก็พยายามที่จะจับกลุ่มเกษตรกรด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำงานของเราไม่ได้ทำทีเดียวแล้วใช้กับคนทุกกลุ่มแต่เราเลือกจากการทำสิ่งที่เล็กๆก่อนให้เห็นผลลัพธ์ แล้วก็ค่อยขยายไปยังกลุ่มอื่นต่อไป นอกจากนี้เราพยายามที่จะทำให้ครอบคลุมอีกหลากหลายอาชีพที่เรากำลังมองหา Data ที่มีจำนวนมากพอของแต่ละกลุ่ม เพื่อที่จะสามารถนำมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ และทำเป็นโมเดลที่เหมาะสมออกมา และหา Partner ที่ต้องการจะปล่อยเงินกู้โดยใช้ Score ของเราด้วย 

ทั้งนี้เราก็พร้อมที่จะร่วมกับทั้งกับ Bank และ  Non-Bank ด้วย แต่อย่างที่บอกว่าช่วงแรกจะทำ Working Capital Loan ให้เก่งก่อน แล้วค่อยไปพัฒนาเงินกู้ประเภทอื่นๆ ซึ่งโครงการกับทางเอสซีจีก็มีความท้าทายหลายอย่าง เราได้เห็นข้อมูล และทำการวิเคราะห์ ให้ออกมาเป็นโมเดล และมุ่งหวังที่จะทำให้เกิดคววามสำเร็จให้ได้

คนที่เครดิตดี ๆ ในเมืองไทยมีอีกมาก  โดยเฉพาะคนตัวเล็กตัวน้อย หรือผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งไม่ใช่ว่าเขาเป็นคนไม่ดี แต่ว่ามันไม่มีระบบเครดิตรองรับที่เหมาะกับอาชีพเขาเท่านั้นเอง

working-capital-creditOKมี Passion ในการทำธุรกิจนี้อย่างไรบ้าง

ณ ตอนนี้เราต้องการที่จะทำกับกลุ่มผู้รับเหมาให้สำเร็จก่อน แล้วจึงจะขยายไปสู่กลุ่มอาชีพอื่น ๆ ต่อไป และในอนาคตเราต้องการที่จะขยายไปต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะในแถบ CLMV หรือในอาเซียนที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับประเทศไทย โดยแต่ละประเทศต่างก็มีประชากรกลุ่มที่เรียกว่า Micro-entrepreneur ค่อนข้างมาก และมี Financing Gap มหาศาล ซึ่งก็จะมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งการเงิน สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เราอยากทำ เพราะมันสามารถช่วยคนได้  ดังนั้นธุรกิจนี้มันจึงน่าทำ 

อย่างไรก็ตามในต่างประเทศก็มี Startup ที่เก่ง ๆ ทำเรื่องนี้อยู่ด้วยเหมือนกัน แต่เรามีความคิดว่า เราต้องการที่จะทำให้ Startup ไทย สามารถไปต่อสู้ในระดับระหว่างประเทศได้ ดังนั้นเราเห็นแล้วว่าในตลาดที่ใหญ่ แม้จะมีผู้เล่นหลายราย แต่ก็มีช่องว่างที่เราจะเข้าไปได้  แต่ต้องใช้เวลาสักระยะ จากการที่ Runway ของธุรกิจนี้มันค่อนข้างยาว เพราสิ่งที่เราทำมันยาก มันไม่ได้เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถตอบรับได้ทันที โดยเฉพาะฝั่งของผู้ที่ให้เงินกู้กับเรา มันต้องใช้เวลากว่าที่จะพิสูจน์ได้ว่า Score ของเรามันดีจริง ๆ   

สำหรับผมในการทำธุรกิจนั้น ต้องให้เวลาในการศึกษาว่าสิ่งที่เราอยากทำมันสามารถตอบโจทย์ได้จริง ๆ หรือไม่ ซึ่งถ้าตอบได้ว่ามันใช่ และเรามี Conviction กับมันจริง ๆ ก็ลงมือทำเลย ซึ่งมันก็มันยากเหมือนกันกว่าที่ะหาตัวเองตัวเจอ เพราะตอนที่ผมมาทำ ผมก็คิดอยู่ว่าอยากจะมาทำอะไรจริงจังสักอย่าง ซึ่งผมก็สนใจในเรื่อง Financial inclusion  อยู่แล้ว ที่เหลือก็ตอบตัวเองให้ได้ว่าเราชอบ หรืออยากทำจริง ๆ หรือไม่ 

ในบางครั้งที่เราไปเห็น Story ของคนอื่นที่ประสบความสำเร็จ เราก็ไม่ควรทำ เพียงแค่เพราะเห็นว่าเขาร่ำรวยจากการทำสิ่งเหล่านั้น เพราะจริงๆแล้วเราอาจทำได้ไม่ดีเท่าเขาก็ได้ ต้องคิดดีๆ และไม่หลอกตัวเอง

ในช่วงที่รู้สึก Fail มีวิธีการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร 

ผมว่าจริง ๆ ก็ต้องลองจินตนาการดูว่า ถ้าวันหนึ่งเราล้มเหลวเราจะรับตัวเองได้หรือไม่ ทุกคนพอถึงจุดหนึ่งก็ คิดว่าทุกอย่างมันจะไปถึงฝั่งฝันอย่างราบรื่น ซึ่งจริง ๆ แล้วทุกอย่างมันอาจจะไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ไม่ได้มีพรมแดงให้เราเดิน ดังนั้นเราต้องกล้าที่จะยอมรับความจริงกับชีวิตได้ และพร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่ หรือในบางครั้งระหว่างวัน ผมจะพยายามคิด ในเวลาที่เราเจอเรื่องต่าง ๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีและไม่ดี ทำอย่างไรที่เราจะจัดความคิดหรือจิตใจของเราได้ให้อยู่ในภาวะที่มันเป็นกลางได้  ไม่ใช่ว่าพอผิดหวังแล้วควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือพอได้ความสำเร็จก็หลงไปกับมัน 

ก่อนที่จะมาทำกิจการของตัวเองนั้น ผมได้จินตนาการสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในหัวแล้ว ว่าถ้ามันเกิดขึ้นกับเราจริงๆ เราจะสามารถรับได้หรือไม่ และพร้อมที่จะเริ่มต้นกับชีวิตใหม่ได้เลยไหม ถ้าคิดแล้วว่ารับได้ก็ OK แต่ถ้ารับไม่ได้ก็อย่าเพิ่งทำ เพราะจริง ๆ แล้วงานดี ๆ หรือ บริษัทดี ๆ อีกมากมายมีอีกมาก ที่คุณสามารถไปทำได้ แต่ถ้าคุณอยากเป็นผู้ประกอบการก็ต้องยอมรับให้ได้ 

บางอย่างมันเป็นเรื่องของสภาวะจิตใจ ที่พูดง่ายแต่ทำได้ยาก บางคนเจอปัญหาแล้วปัญหาเล่ายังรับได้ บางคนผิดหวังแค่นิดเดียวหรือเจอแค่อุปสรรคแรกกลับล้มเลิก ดังนั้นคนที่จะทำกิจการของตัวเองได้ ต้องรับในความล้มเหลวได้ สุดท้ายถ้าเรามีจิตใจที่เข้มแข็งจริงๆก็จะมีโอกาสที่จะสำเร็จในท้ายที่สุด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...