9 เทรนด์การทำงานในปี 2023 ที่จะเข้ามาท้าทายและเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ไม่เหมือนเดิม | Techsauce
9 เทรนด์การทำงานในปี 2023 ที่จะเข้ามาท้าทายและเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ไม่เหมือนเดิม

พฤษภาคม 16, 2023 | By Connext Team

ในปี 2022 มีความวุ่นวายเกิดขึ้นมากมายในการทำงาน โดยเฉพาะอัตราการลาออกของพนักงานที่สูงขึ้น รวมถึงการกลับไปทำงานในองค์กรเหมือนเดิม ส่งผลให้ปี 2023 องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับปัญหาอีกมากที่จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปตลอด วันนี้ ConNEXT จะพามารู้จักกับ 9 เทรนด์ในปี 2023 ที่จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปตลอด

9 เทรนด์การทำงานในปี 2023 ที่จะเข้ามาท้าทายและเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ไม่เหมือนเดิม

1. การใช้วิธี Quiet Hiring เพื่อเพิ่มทักษะพนักงาน

วิธี Quiet Hiring คือการเพิ่มทักษะของพนักงานที่มีอยู่โดยไม่ต้องจ้างพนักงานใหม่ เช่น มอบหมายงานที่ท้าทายให้พนักงาน โดยองค์กรจะให้โบนัส ขึ้นเงินเดือน หรือการเลื่อนขั้นเป็นการตอบแทน

2. รูปแบบงานแนวหน้าจะเปลี่ยนเป็น Hybrid มากขึ้น

งานแนวหน้า เช่น งานอุตสาหกรรมหรือการแพทย์ จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid มากขึ้น จากผลสำรวจพบว่าแรงงานแนวหน้า ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาทำงาน หรือวันลา

3. ผู้จัดการจะงานหนักขึ้น

งาน Management ที่เป็นตัวกลางระหว่างพนักงานและองค์กรจะหนักขึ้นเนื่องจากต้อง Balance ระหว่างความคาดหวังของพนักงาน ความยืดหยุ่นในการทำงาน และโอกาสทางอาชีพที่มีแรงกดดันจากผู้บริหารระดับสูง

4. องค์กรต้องการพนักงานที่มีทักษะหลากหลายมากขึ้น

เป็นเวลาหลายปีที่องค์กรต่างมีแผนขยายความหลากหลายของทักษะพนักงาน เมื่อพนักงานมีปัญหาในการตอบสนองต่อทักษะที่องค์กรต้องการ เนื่องจากวิธี Sourcing หรือการจัดหาแบบเก่า องค์กรต่างๆ จึงเน้นไปที่พนักงานที่มีทักษะที่ต้องการมากกว่าประสบการณ์หรือการศึกษาเพื่อแก้ปัญหานี้

5. การฟื้นตัวจากวิกฤตโรคระบาดจะเป็นทางสู่ความยั่งยืน

ความเสียหายของวิกฤตโรคระบาด ส่งผลให้พนักงานได้รับผลกระทบทางร่างกายและจิดใจ พนักงานเกือบ 60% รายงานว่าพวกเขามีความเครียดสูง ส่งผลให้ประสิทธิภาพทางการทำงานลดลง องค์กรชั้นนำต่างๆ จึงจำเป็นต้องสนับสนุนให้พนักงานมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น 

6. องค์กรต่างๆ จะผลักดัน DEI ท่ามกลางกระแสต่อต้านที่มากขึ้น

ผลวิจัยพบว่าพนักงาน 42% คิดว่า DEI (Diversity, Equity, and Inclusion) ตอกย้ำให้พวกเขารู้สึกแปลกแยก ทำให้ความมีส่วนร่วมและความเชื่อใจระหว่างพนักงานลดลง องค์กรจึงจำเป็นต้องรีบหาวิธีแก้ไข

7. ความเสี่ยงทาง Data จะมากขึ้น

องค์กรต่างๆ ใช้เทคโนโลยี เช่น AI หรือ Smart Watch เพื่อรวบรวมข้อมูลสุขภาพ สถานการณ์ครอบครัว ชีวิตความเป็นอยู่ หรือสุขภาพจิตของพนักงาน ในขณะที่เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้นายจ้างตอบสนองความต้องการของพนักงานได้ แต่ก็เป็นดาบสองคมที่มีโอกาสทำให้ความเป็นส่วนตัวของพนักงานถูกเปิดเผยได้เช่นกัน

8. AI จะเป็นเครื่องมือในการจ้างที่โปร่งใสมากขึ้น

เมื่อองค์กรต่างๆ เริ่มใช้ AI ในการจ้างงานมากขึ้นทำให้ปัญหาทางจริยธรรมก็เป็นเรื่องเร่งด่วนขึ้นเช่นกัน องค์กรจึงจำเป็นต้องเปิดเผยการตรวจสอบบัญชีภายในเพื่อแสดงความโปร่งใสในการใช้ AI ในการจ้างงาน

9. พนักงานในองค์กรจะมีปัญหาด้านทักษะทางสังคม

พนักงานจำนวนมากประสบปัญหาการขาดทักษะทางสังคมที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ การเกิดวิกฤตโรคระบาดในปี 2020 ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ต้องหาทางแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนในช่วงการทำงานการกลับเข้ามาทำงานที่องค์กรของเหล่าพนักงาน 


เขียนโดย : Weerapat Nenbumroong

อ้างอิง : hbr

No comment