เมื่อบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำผลักดันการทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน หรือนี่จะถึงคราวสิ้นสุดของการทำงาน 5 วัน? | Techsauce
เมื่อบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำผลักดันการทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน หรือนี่จะถึงคราวสิ้นสุดของการทำงาน 5 วัน?

มิถุนายน 10, 2022 | By Connext Team

วัฒนธรรมการทำงานกำลังเปลี่ยนไป เมื่อบริษัทแบล็คเบิร์ด (Blackbird) ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาวิดีโอเกม ประสบความสำเร็จอย่างมากหลังได้ทดลองทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน รวมทั้งเบลเยียมได้ผ่านกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้พนักงานมีสิทธิ์ขอทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 10 ชั่วโมง แทนการทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 8 ชั่วโมง นี่จึงดูเหมือนเป็นเวลาที่พนักงานจะทวงสิทธิเรื่องเวลากลับคืนมา และเป็นเวลาที่ผู้บริหารธุรกิจจะเข้าใจว่า “Less is More” เป็นอย่างไร

การทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน

โลกการทำงานในอนาคต

ค่านิยมเกี่ยวกับงานและชีวิตส่วนตัวของชาวอเมริกันกำลังเปลี่ยนไป กลุ่มคน Millennials และ Gen Z กำลังพยายามสร้างความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) และในอนาคตสิ่งที่คนจำนวนมากจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ สุขภาพจิต การกำหนดตารางงานเอง และการทำกิจกรรมนอกเวลางาน

อย่างไรก็ตาม อเมริกากลับเป็นประเทศที่มีนโยบายงานและชีวิตส่วนตัวอยู่ในลำดับรั้งท้ายในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยมีเพียงอเมริกา กายอานา ซูรินาเม เนปาล และพม่าเท่านั้นที่ไม่รับรองการจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานในวันลาหยุด (PTO) และมีประเทศยากจนเพียงไม่กี่ประเทศ (รวมถึงอเมริกา) ที่ไม่รับรองการจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานในวันลาป่วย ในขณะที่เกือบทุกประเทศในยุโรปอนุญาตให้พนักงานสามารถลางานได้ 4 อาทิตย์ต่อปีโดยยังได้รับค่าจ้าง

คนรุ่นใหม่เชื่อว่า “เราทำงานเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อทำงาน” และการลาออกครั้งใหญ่ (Great Resignation) แสดงให้เห็นแล้วว่า คนรุ่น Boomer และรุ่นอื่นๆ เริ่มจะเชื่อในแบบเดียวกัน

หลุยส์ ฮายแมน นักประวัติศาสตร์ด้านธุรกิจจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล กล่าวว่า การทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ในปัจจุบันเกิดจากการนัดหยุดงานประท้วงของพนักงานโรงงานในช่วงทศวรรษ 1900 โดยพนักงานได้กดดันให้ผู้นำและนักการเมืองออกนโยบายคุ้มครอง และตอนนั้นยังได้มีการเรียกร้องการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์อย่างแพร่หลายอีกด้วย หลุยส์ยังกล่าวว่า “ความเชื่อที่ว่าเราต้องเริ่มงาน 9 โมงเช้า เลิกงาน 5 โมงเย็น วันจันทร์-วันศุกร์ ได้เสื่อมถอยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แล้ว”

หลุยส์อธิบายต่อว่า หลังมีการระบาดของโควิดเราก็เริ่มมีมุมมองมองต่อการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป และเกิดคำถามว่าทำไมเราต้องไปออฟฟิศ และถ้าไม่ไปเหตุใดจึงต้องไปนั่งทำงานที่ไหนสักแห่ง 5 วันต่อสัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าเราจะลดจำนวนวันทำงานลงและเพิ่มเวลาให้กับครอบครัว เพื่อนฝูง และการพักผ่อน

นโยบายย่อมดีกว่ากฎระเบียบ

ผู้บริหารหลายคนกังวลว่ากฎระเบียบที่มากเกินไปเกี่ยวกับการกำหนดให้พนักงานทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ จะสร้างความเสียหายให้กับองค์กรและไม่เป็นธรรมกับลูกจ้าง ดังนั้น ถ้าจะให้ได้ดีจึงควรมีการออกนโยบายคุ้มครอง นั่นคือการมอบอำนาจให้พนักงานสามารถเลือกรูปแบบการทำงานเองได้แทนการบังคับ โดยทางเบลเยียมได้ออกเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่ให้พนักงานมีสิทธิ์ขอทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ วันละ 10 ชั่วโมง แทนที่จะทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 8 ชั่วโมง และหากมีเหตุผลสำคัญที่องค์กรไม่สามารถทำได้ พนักงานจะต้องทำเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อชี้แจงเหตุผล 

ดังนั้น นี่จึงถือว่าเป็นก้าวแรกสู่การมีอิสระและมีความยืดหยุ่นในการทำงาน เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของทุกคนแล้ว ยังส่งเสริมให้พนักงานสามารถเลือกชีวิตการทำงานที่เหมาะกับตัวเองอีกด้วย

น้อยแต่มาก (Less is More)

กรณีนี้จะเหมาะกับงานที่ต้องการความ Productive โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยเทคนิค ความรู้ หรือความคิดสร้างสรรค์ การลดจำนวนวันทำงานลง 1 วันต่อสัปดาห์ ทำให้ผู้บริหารบริษัทแบล็คเบิร์ดต้องชั่งใจว่างานชิ้นใดสำคัญกว่ากัน และพยายามหาวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยพวกเขาจะเปลี่ยนการประชุมที่แสนยาวนานไปเป็นการเข้าไปพูดคุยระยะสั้นๆ และเปลี่ยนการประชุมสั้นๆ ไปเป็นการคุยทางอีเมลแทน

ลองนึกถึงกฎของพาร์กินสันที่กล่าวว่า เวลาที่ใช้ในการทำงานใดๆ จะยืดออกตามเวลาที่ได้จัดสรรไว้ ถ้าคุณให้เวลาตัวเองเขียนรายงานหรือทำสไลด์นำเสนองานหนึ่งสัปดาห์ คุณจะใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้าให้เวลาตัวเองสองเดือน คุณก็จะใช้เวลาสองเดือน 

อย่างไรก็ตาม การทำงานสัปดาห์ละ 4 วันอาจไม่ยืดหยุ่นหรือใช้ได้กับทุกที่ อย่างเช่น โรงพยาบาลและโรงเรียน แต่ข่าวสารความเป็นไปจากบริษัทแบล็คเบิร์ดและประเทศเบลเยียมชี้ชัดแล้วว่าเรามาถูกทาง ดังนั้น ความเข้าใจพื้นฐานว่า “จำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์” ต้องมีหน้าตาเป็นอย่างไรนั้นล้าสมัยไปแล้ว ถึงเวลาที่การทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน เริ่มตอน 9 โมงเช้าและเลิกอีกทีตอน 5 โมงเย็น ต้องหมดสิ้นไป เพราะโลกการทำงานในอนาคตคือการเน้นความยืดหยุ่น อิสระ และเสรีภาพ

หากเพื่อนๆ คนไหนอยากรู้ทริคเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำอย่างไรให้มี Work-Life Balance แบบเจาะลึก และอยากทราบว่าโลกการทำงานในอนาคตจะเป็นอย่างไร พลาดไม่ได้กับเซสชั่น Design your work life: วิธีหางานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ในงาน Tech ConNEXT Job Fair 2022 วันที่ 7-9 กรกฎาคมนี้ ณ True Digital Park ชั้น 6 และ 7 BTS ปุณณวิถี 

ลงทะเบียนเข้างานได้ที่ :
https://www.eventpop.me/e/13032/techconnext-job-fair-2022

เขียนโดย Parinya Putthaisong

อ้างอิง medium

No comment