คนรุ่น Millennials Gen Z และความวิตกกังวลจากรุ่นสู่รุ่น | Techsauce
คนรุ่น Millennials Gen Z และความวิตกกังวลจากรุ่นสู่รุ่น

กรกฎาคม 4, 2022 | By Connext Team

ภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่หลายคนเลี่ยงไม่ได้ เช่น โควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ได้เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของพวกเราในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามามีผลกระทบต่ออาชีพการงาน หรือการเข้ามาสร้างความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับคนทำงานวัยหนุ่มสาว ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ได้สร้างความวิตกกังวลจากรุ่น Millennial สู่รุ่น Gen Z 

Gen Z

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่มีต่อคนกลุ่ม Millennial และ Gen Z

Annie Lowey นักเขียนจาก The Atlantic ที่ล่าสุดเขียนเรื่อง “Millennials Are The New Lost Generation” ได้พูดถึงผลกระทบระยะยาวของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีต่อคนรุ่นต่างๆ โดยเฉพาะรุ่น Millennial ดังนี้

ผลกระทบทางการเงิน

Millennial เข้าสู่ตลาดแรงงานในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยในปี 1930 ทำให้มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก อัตราว่างงานก็สูงเมื่อเทียบกับอัตราการว่างงานโดยรวม การสูญเสียงานและสูญเสียรายได้ในช่วงนั้นเปรียบเสมือนรอยแผลเป็นใหญ่ๆ ของคนกลุ่ม Millennial ที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะจางลง เพราะแม้ว่าจะผ่านมานานถึงสองทศวรรษ คนกลุ่ม Millennial ก็ยังคงมีรายได้ที่ยังคงขาดทุนอยู่ เรียกได้ว่าการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้เกิดผลกระทบต่อคนกลุ่มนี้แบบถาวร

ผลกระทบที่คนกลุ่มมิลเลนเนียลต้องเผชิญคือ ผลกระทบแบบน็อค-ออน (Knock-on effects) คือ พวกเขาสามารถซื้อบ้านได้ช้ากว่า Gen Z และ Baby Boomer ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเป็นเจ้าของบ้านที่ต่ำกว่าร้อยละแปดเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ อีกทั้งยังต้องดิ้นรนเพื่อสะสมความมั่นคงให้กับตัวเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาต้องใช้หนี้กู้เงินเรียน ส่งผลให้คนกลุ่มนี้สามารถย้ายออกไปอยู่บ้านเดี่ยวได้ช้ากว่า มีลูกน้อยลง และทำธุรกิจน้อยลง เพราะไม่มีความสามารถทางการเงิน

Gen Z เองก็อาจจะมีชะตาชีวิตที่ไม่ต่างกัน เพราะ Gen Z เรียนจบในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เราจะเห็นได้ว่าความเหลื่อมล้ำของรายได้แสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันของแต่ละช่วงวัย เพราะในช่วงเศรษฐกิจถดถอย Baby Boomer จะเผชิญกับปัญหาสภาวะทางการเงินแตกต่างจากคนรุ่นใหม่ เพราะพวกเขาเป็นช่วงวัยที่มีรายได้สูงสุดแม้แต่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้เอง ทำให้คนกลุ่ม Millennial และ Gen Z มีความเชื่อมั่นในสถาบันที่เป็นของรัฐน้อยลง เช่น รัฐสภา 

ผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจ

คนหนุ่มสาวที่เกิดในยุค 80 และ 90 ต่างก็มีภาระหนี้ทางด้านการศึกษามากขึ้น เนื่องจากลงทุนไปกับการศึกษาและบางคนอาจถึงขั้นกู้ยืมเงินเพื่อไปเรียน โดยหวังว่าเรียนจบแล้วจะมีงานการที่ดีทำ มีรายได้ที่มั่นคง แต่พอเรียนจบมาแล้วสิ่งที่ลงทุนไปอาจไม่ได้มีผลลัพธ์ที่ดีเหมือนอย่างที่วาดฝันไว้ เพราะเงินเดือนก็น้อย หนี้ก็ต้องใช้ทุกเดือน อีกทั้งยังมีค่าเช่าและค่าครองชีพอื่นๆ รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อในปัจจุบันด้วย หลายคนจึงรู้สึกเหมือนกำลังตักน้ำออกจากเรือที่รั่วอยู่ตลอดเวลา

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องแบกรับเรื่องหนักๆ ไว้ในจิตใจ เพราะแม้ว่าการเรียนสูงๆ จะช่วยให้มีความมั่นคงได้ แต่ก็มีเพียงงานไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่มีโอกาสตกงานต่ำ ทำให้ช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกลุ่มคนเหล่านี้ก็ยิ่งมีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นไปอีก

สุดท้ายแล้วแม้ว่าคนกลุ่ม Millennial และ Gen Z จะมีความวิตกกังวลและมีอนาคตที่ไม่รู้จักอีกมากมายรออยู่ข้างหน้า แต่คนรุ่นเหล่านี้ก็ยังมีความหวังมากมาย เช่น หวังว่าจะมีอนาคตที่สดใสกว่านี้รออยู่ หรือหลายคนก็ได้เรียนรู้ว่าการเป็นคนอ่อนแอในโลกนี้บ้างก็ไม่เป็นไร แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะสร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง แต่เราทุกคนต่างก็ต้องจัดการกับความกังวลแบบเดียวกันนี้

อ้างอิง HBR 

No comment