Future-Proofing Your Career: ทักษะและกรอบความคิดเพื่อการเติบโตในยุค Digital Age | Techsauce
Future-Proofing Your Career: ทักษะและกรอบความคิดเพื่อการเติบโตในยุค Digital Age

สิงหาคม 2, 2023 | By Connext Team

เมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ทุกอย่างเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีดิจิทัลมีผลทำให้เกิดเครื่องมือหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่น AI หรือ Chat GPT บางอาชีพที่เคยมีก็เริ่มหายไป บางอาชีพก็ถูกแทนที่ด้วย AI ส่งผลให้ตลาดแรงงานในหลายอาชีพมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกเลิกจ้าง ดังนั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และการมี Mindset ที่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณอยู่รอดและพัฒนาตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุค Digital Age

Future-Proofing Your Career: ทักษะและกรอบความคิดเพื่อการเติบโตในยุค Digital Age

ซึ่งวันนี้ ConNEXT ได้สรุป Tech ConNEXT Talk ในหัวข้อ  “Future-Proofing Your Career: ทักษะและกรอบความคิดเพื่อการเติบโตในยุค Digital Age” นำโดย 

คุณศิวดล มาตยากูร Co-Founder Venture and Innovation จาก CARIVA ผู้นำด้านธุรกิจแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีเครือข่ายข้อมูลสุขภาพ เทคโนโลยีบล็อกเชนและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ภายใต้การกำกับดูแลของบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ จำกัด

คุณฐิติกานต์ กฤษณวิภาคพร Senior Executive Vice President จาก G-Able องค์กรที่ให้บริการด้านดิจิทัลโซลูชั่นแบบครบวงจร เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการทำ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ตั้งแต่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การออกแบบระบบ และการใช้งานระบบ ไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย การจัดการพื้นที่เก็บข้อมูล ด้วยบริการระดับมืออาชีพ

คุณสุรจิตต์ พิพิธกุล Group CEO จาก Ragnar Corporation บริษัทที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาขับเคลื่อนธุรกิจ มุ่งเน้นสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ ๆ โดยมีเป้าหมายในการผลักดันองค์กร และธุรกิจแบบ B2B ให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง และช่วยสร้างกระบวนการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer จาก SCG Digital (WEDO) หน่วยงาน Digital Office ภายใต้SCG มีหน้าที่ช่วย Transform ธุรกิจให้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ที่จะมาแบ่งปันข้อมูล Insight ดี ๆ ที่เกี่ยวกับเส้นทางอาชีพและทักษะการทำงานในยุค Digital Age ภายในงาน Tech ConNEXT Job Fair 2023 ไว้ในบทความนี้แล้ว

อุตสาหกรรมที่มาแรงในยุค Digital Age 

คุณศิวดล กล่าวว่า อุตสาหกรรมที่มาแรงในช่วงนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเด็น 

เส้นทางอาชีพที่จะเกิดขึ้นในยุค Digital Age 

คุณอภิรัตน์ กล่าวว่า ถ้าในยุคนี้ก็ต้องเป็น Gernarative AI แต่คำตอบนี้จะเป็นจริงไปอีกแค่ 6 เดือนหลังจากนี้ เพราะถ้าเราจำได้จะมีช่วงนึงที่เราได้ยินคำว่า ‘Metaverse’ บ่อย ๆ แต่ทุกวันนี้กระแส Metaverse ก็ค่อย ๆ เบาลงไป

เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งสำคัญ เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือ สิ่งสำคัญคือ ทักษะ ยิ่งถ้าต้องการก้าวหน้าหรือเก่งขึ้นในยุค Digital Age จำเป็นต้องเก่งในเรื่องของสกิล Why และ When มากกว่าเรื่อง What และ How หมายความว่าถ้าเราเป็นโปรแกรมเมอร์ How ก็คือเราต้องเขียนโปรแกรมอย่างไร What ก็คือต้องเขียนอะไรบ้าง ซึ่งทุกวันนี้ What กับ How เทคโนโลยีสามารถทำแทนเราได้มากขึ้นเรื่อย ๆ 

ดังนั้นมนุษย์อย่างเราต้องรู้ในเรื่องของ Why และ When ให้มากขึ้น ต้องรู้ว่าเขียนทำไม เขียนเมื่อไหร่ เพราะถ้าเรารู้สิ่งเหล่านี้ เราจะไปได้ไกล ได้เปรียบมากกว่าคนอื่น และจะสามารถ Apply ตัวเองจากเทคโนโลยีอะไรก็ได้ หลังจาก Why และ When เราต้องเป็นมนุษย์เป็ด ต้องเป็น Generalist มากขึ้น ไม่ใช่ Specializing อย่างเดียวแล้ว เพราะ AI ยังไม่สามารถเป็น Generalist ได้เร็วๆ นี้ เพราะฉะนั้น Why และ When คือสกิลที่สำคัญในอนาคต

ทักษะและความสามารถที่สำคัญในยุค Digital Age 

คุณฐิติกานต์ กล่าวว่า เราอยู่ในยุคที่รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไปทุกวัน ดังนั้นสกิลแรกที่อยากแนะนำ คือ ทักษะการจัดการบริหารตัวเอง ถ้าเราไม่มีทักษะนี้อาจทำให้เราไม่สามารถดึงศักยภาพตัวเองออกมาได้ ซึ่งเราจำเป็นต้องรู้จักตัวเอง รู้ว่าตัวเองเก่งอะไร แล้ว Motivate ตัวเองให้สามารถทำงานภายใต้รูปแบบการทำงานนั้น ๆ ได้

ทักษะที่ 2 การทำงานร่วมกับผู้อื่น ถึงแม้ว่าทุกวันนี้เราจะสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ แต่สุดท้ายเราจำเป็นต้องมี Connection กับเพื่อนร่วมงาน Skill Set นี้อาจบอกได้ว่าเรารู้จัก Empathy ไหม เราเข้าใจความแตกต่างของคนมากน้อยแค่ไหน มี Active listening ที่ดี รวมถึงมี Social Influences ในการสื่อสารที่จะโน้มน้าวเข้าใจในสิ่งเราต้องการหรือไม่?

ทักษะที่ 3 การแก้ปัญหา เป็นทักษะที่พนักงานทุกคนควรต้องมีติดตัวในการทำงาน เราอาจจะรวบรวมระบบความคิดหลาย ๆ อย่างเข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็น Analytical thinking, Design Thinking, People Thinking มาปรับใช้ขึ้นอยู่ปัญหาที่เจอว่าซับซ้อนมากน้อยแค่ไหน และสุดท้ายเราต้องมี Technology literacy ด้วย อยากให้เข้าใจว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ คนที่จะอยู่เหนือเทคโนโลยี คือคนที่สามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงานได้

ถ้าหากเรารู้แล้วว่า Skill Set เหล่านี้สำคัญ แล้วเราจะฝึกอย่างไร ?

ข้อแรกคือเราต้องรู้จักตัวเอง ต้องรู้ด้วยว่าเราถนัดอะไรและ ชอบเรียนรู้แบบไหน จุดเริ่มต้นคือต้องหาตัวเองให้เจอก่อนว่าตัวเองชอบอะไร สนใจอะไร แล้วเริ่มลงมือทำ คุณฐิติกานต์ กล่าว

คุณอภิรัตน์ เสริมว่า นอกจากการเริ่มทำแล้ว คุณต้องหาที่ที่เขายอมให้คุณทำด้วย เพราะฉะนั้นยุคนี้เวลาหางาน บริษัทจะมี 2 แบบ คือ 

  1. บริษัทที่เป็น Operational คือบริษัทรูปแบบนี้เขาต้องการคนทำงานเก่ง ไม่ได้ต้องการคนคิดเก่ง 
  2. บริษัทที่เป็นด้าน Innovation บริษัทแบบนี้เขาไม่ได้ต้องการคนที่ทำงานเก่งอย่างเดียว แต่เขาต้องการคนที่คิดเก่งด้วย บางบริษัทต้องการคนที่คิดเก่งมากกว่าทำงานเก่งด้วยซ้ำ 

เพราะฉะนั้นถามตัวเองก่อนว่าเราต้องการพัฒนาตัวเองไปทางไหน แล้วเลือกองค์กรที่เขาพร้อมเปิดโอกาสให้คุณทำ 

Growth Mindset และ Lifelong Learning มีความสำคัญต่อคนรุ่นใหม่อย่างไร ?

ในปัจจุบันบนโลกของเรามีทักษะเยอะมาก และ ทักษะก็เกิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าพูดถึงทักษะที่สำคัญที่สุด ณ ตอนนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง Lifelong Learning เนื่องจากเราไม่รู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมบ้าง แต่ถ้าเราเรียนรู้ทุกวัน ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ก็จะทำให้เรามีโอกาสและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น และหลังจากที่เราได้เรียนรู้ เราจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเราเก่งอะไร ไม่เก่งอะไร นี่คือความสำคัญของการ Lifelong leaning คุณศิวดล กล่าว

คุณสุรจิตต์ เสริมว่า จริง ๆ แล้ว Gen Z มีเรื่องของ Growth Mindset เยอะอยู่แล้ว ถ้าเทียบกับ Gen อื่น ซึ่ง Growth Mindset จะทำให้คนรุ่นใหม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดี และสิ่งที่จะทำให้เราแตกต่างจากคนอื่น คือการมี Leadership Skill เพราะเราไม่สามารถเรียนรู้สิ่งนี้ผ่านสื่อต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการสื่อสาร ถ้าเรามีการสื่อสารที่ดี เราจะสามารถเป็น หัวหน้าที่ดีได้ 

คุณฐิติกานต์ เสริมว่า Growth mindset เป็นขั้นกว่าของ Positive thinking เป็นเหมือนพื้นฐาน ของวิธีคิดหรือทัศนคติที่เรามีต่อทุก ๆ เรื่อง คนที่มี Growth mindset จะมองทุกอย่างเป็นโอกาสมากกว่าปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าเรามี Mindset ที่ดีเราก็จะมองเห็นทางออกของปัญหาได้ง่าย เมื่อเรามองทุกอย่างเป็นโอกาส Lifelong Leaning ก็จะเกิดขึ้นตามมา

ข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้เทคโนโลยี หรือเครื่องมือ Digital 

คุณสุรจิตต์ กล่าวว่า เด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานส่วนใหญ่จะเป็น Digital native จะคุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์ มากกว่าคนรุ่นก่อน ยิ่งคุณเข้าใจพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีอย่าง AI, Chat GPT แล้วสามารถนำมาปรับเข้าไปกับการทำงานให้ Workflow ได้ คุณจะสามารถเปลี่ยน Performance ของคุณได้ 

จะเห็นว่าเรื่องสกิลเรื่อง How และ What มีความสำคัญน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะมี AI มาทำแทนได้แล้ว แต่คนที่สามารถตั้งคำถามได้ จะมีความสำคัญมากขึ้น เพราะจำเป็นต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วย ซึ่ง AI ยังไม่สามารถทำได้

นอกจาก Chat GPT เครื่องมืออะไรที่มีความจำเป็นต่อคนที่ทำงานในยุค Digital Age อีกบ้าง 

คุณอภิรัตน์ กล่าวว่า อยากให้มองว่าตัวเองชอบทำอะไรก่อน เราอยู่ในยุค Digital Age ก็จริง แต่ไม่ได้แปลว่า Digital เป็นทักษะที่สำคัญที่สุด แต่มันหมายความว่าเครื่องมือเทคโนโลยีจะมีความหลากหลายมากขึ้น ใช้งานได้ง่ายขึ้นทุกวัน สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องถามตัวเองก่อนว่า Why เราชอบทำอะไร ทำไมเราถึงชอบสิ่งนี้ ตอบตัวเองให้ได้ หลังจากนั้นค่อยกลับเรียนรู้การใช้เครื่องมือ

เชื่อว่าการทำงานภายใต้ยุคดิจิทัล How และ What คอมพิวเตอร์จะเป็นคนทำให้เรา ดังนั้นการจบอะไรมาจะสำคัญน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะสมัยก่อนที่เป็นยุค Specializing คอมพิวเตอร์ยังทำบัญชีไม่เป็น คุณต้องจบบัญชีมา จบให้ตรงสายถึงจะทำงานได้ แต่จากนี้จะไม่ใช่แบบนั้นแล้วเพราะคอมพิวเตอร์จะสามารถทำได้เกือบทุกสกิล 

เพราะฉะนั้นก่อนจะเริ่มเรียนอะไรให้ ‘Start with Why’ ถามตัวเองก่อนว่าเราชอบอะไร ทำไมเราชอบสิ่งนี้ ไม่ใช่เห็นอะไรที่เป็นเทรนด์ก็ไปเรียน ไม่เช่นนั้นคุณก็จะเรียน ๆ ไปเรื่อย ๆ จนไม่รู้ว่าเรียนไปทำไม แล้วคุณก็จะกลายเป็นเพียงคนที่เก่งแต่ไม่ใช่คนที่ใช่

First Jobber และคนที่อยากเปลี่ยนสายงานจะทำอย่างไรให้สามารถก้าวนำหน้าคู่แข่งและสามารถแข่งขันในตลาดงานที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องได้?

คุณฐิติกานต์ บอกว่า สิ่งสำคัญที่ First Jobber ทุกคนควรมี คือการ Open-minded หรือทักษะในการเปิดรับ กับทุกสิ่งที่อยู่นอกห้องเรียน เปิดรับกับสิ่งที่หัวหน้าพยายามบอก สิ่งที่เพื่อนร่วมงานให้ Feedback เรา เมื่อเราเปิดรับสิ่งนี้เข้ามาแล้ว เราจะต้องเรียนรู้ แล้วก็นำมาปรับใช้ให้เป็น เพราะฉะนั้นถ้าจุดเริ่มต้นของเราดี เราจะไปได้ไกลและไปได้เร็วกว่าคนอื่น 

ในมุมของคนที่อยากเปลี่ยนสายงาน จะมีความแตกต่างจากเด็กจบใหม่ เพราะคนกลุ่มนี้มีทั้ง Skill Set ที่พร้อมในการทำงาน มีองค์กรความรู้ และประสบการณ์ แต่เมื่ออยากเปลี่ยนสายงาน สิ่งเดียวที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้ คือ Passion to Success สิ่งนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อเราถาม Why กับตัวเอง Passion จะเป็นสิ่งที่บอกว่าเราอยากทำสิ่งนั้นจริง ๆ เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องค้นหาตัวเองให้มากขึ้น และซื่อสัตย์กับตัวเองว่าเราชอบสิ่งนั้นจริง ๆ ไหม 

จะรู้ได้อย่างไรว่าอาชีพไหนเหมาะกับเรา? 

คุณสุรจิตต์ กล่าวว่า สำหรับ First Jobber อยากแนะนำว่าให้ลองไปให้สุด ถ้าสมมติเราลองสุดทางแล้วถ้ามันไม่ใช่สิ่งนั้นจะดันเราออกมาเองและเราจะรู้ได้เลยว่าสิ่งนี้ไม่ใช่สำหรับเรา 

สิ่งที่อยากแนะนำในการทำงานยุค Digital Age 

คุณศิวดล กล่าวว่า สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังหางาน อยากให้ลองคิดว่า Passion เราคืออะไร Why ของเราคืออะไร แล้วลองมามองว่าองค์กรไหนสามารถเปิดโอกาสให้เราทำสิ่งเหล่านี้ได้ 

แนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้คนหางานในปัจจุบันมองเป้าหมายได้ชัดขึ้น คือ การมองหาทักษะใหม่ ๆ ด้วยการทดลอง ลงมือทำ เพราะทักษะจะเกิดจากการที่ได้ลองทำซ้ำ ๆ  และถ้าเราทำมากพอ เราจะเจอกับ Passion และสุดท้ายเราจะรู้ว่า Why ของเราจริง ๆ คืออะไร 

คุณฐิติกานต์ กล่าวว่า เมื่อเรามีโอกาสได้เข้ามาทำงาน คุณสมบัติอย่างแรกที่เราต้องมีคือ กล้าให้ตัวเองผิดพลาดได้ สิ่งนี้จะทำให้เราไม่กลัวเมื่อเวลาเราทำผิด การที่เราทำผิดมันเป็นเรื่องของการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นทุกคนต้องยอมให้ตัวเองกล้าที่จะทำผิด เพราะถ้าตัวเรากล้าที่จะให้ตัวเองทำผิดเราจะกล้าในการที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ

คุณสุรจิตต์ กล่าวว่า การจะเลือกงานใดงานหนึ่ง เราจำเป็นต้องเลือกหัวหน้างานด้วย เวลาสัมภาษณ์งานถ้าเป็นไปได้ อยากให้ลองคุยกับหัวหน้างานของตัวเองด้วย ถ้าคุยแล้วคุณสามารถเรียนรู้อะไรบ้างอย่างจากเขาได้ แปลว่าคุณมาถูกทาง และสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนสายงาน ผมว่าจะติดกับเรื่อง Multidisciplinary เป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นคุณต้องเรียนรู้ทักษะอื่นให้มาก ๆ และในอีก 5 ปีข้างหน้าอาจไม่มีสูตรความสำเร็จที่เหมือนในวันนี้แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดจะอยู่ที่ตัวเรา เพราะฉะนั้นเราต้อง Start with passion

คุณอภิรัตน์ กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นเด็กจบใหม่หรือคนที่อยากเปลี่ยนสายงาน อยากให้เลือกงานเหมือนเลือกแฟน ไม่ใช่เขารับคุณแล้วคุณก็ดีใจรับงานเลย สิ่งสำคัญคือต้องถาม ถามให้เยอะ เพื่อให้เรารู้และแน่ใจก่อนที่จะตัดสินใจ   

สุดท้ายแล้วจะเห็นว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงแค่เครื่องมือ สิ่งสำคัญคือเราต้องมี Mind Set ที่ดี และพร้อมพัฒนา Soft skills ต่าง ๆ ด้วย เพราะทักษะเหล่านี้ไม่สามารถที่อยู่ดี ๆ วันหนึ่งเราเรียนรู้ได้เลย แต่มันคือการฝึกฝนที่ต้องทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะเชี่ยวชาญเพื่อให้เรามี Skill Set ที่พร้อมสำหรับทุกยุค ไม่ใช่แค่เฉพาะในยุค Digital Age 

No comment