7 วิธีเตรียมตัวหางานก่อนเรียนจบ ให้ได้งานง่ายกว่าเดิม | Techsauce
7 วิธีเตรียมตัวหางานก่อนเรียนจบ ให้ได้งานง่ายกว่าเดิม

กุมภาพันธ์ 9, 2022 | By Siramol Jiraporn

การเตรียมตัวหางานให้พร้อมก่อนเรียนจบต้องใช้ความคิดริเริ่ม การวางแผน และการศึกษาหาข้อมูล เพราะวิธีนี้จะทำให้เราโดดเด่นและแตกต่างจากเด็กจบใหม่คนอื่นๆ ที่ไม่ได้เตรียมพร้อมมาก่อน

การเตรียมตัวไว้ก่อนนี้เองที่จะทำให้เราหางานหลังเรียนจบได้ง่ายขึ้นหรือเผลอๆ อาจได้งานก่อนเรียนจบด้วยซ้ำ และนี่คือเคล็ดลับสำคัญที่ควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้เพื่อให้มีโอกาสได้งานทำมากขึ้นในอนาคต

1. ศึกษาหาข้อมูลในอุตสาหกรรมต่างๆ และดูว่าตัวเองต้องการอะไร

สิ่งที่ควรมีในการสมัครงานหลังเรียนจบคือ ประสบการณ์และเรซูเม่ที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่จะสมัคร ก่อนจะตัดสินใจกำหนดว่างานไหนเป็นงานที่เราอยากทำหลังเรียนจบ จะต้องศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อน

ผู้สัมภาษณ์ทั้งหลายอยากรู้ว่าเรามีจุดมุ่งหมายในการทำงานอย่างไร ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจตัวเองให้ดีก่อนว่าเราต้องการอะไร ด้วยการถามคำถามตัวเองดังนี้

หากเราเรียนจบหลักสูตรทั่วไป ให้ลองหาสายงานที่มีการเติบโตสูงที่เหมาะกับตัวเอง และกำหนดเป้าหมายประสบการณ์ทำงาน เรซูเม่ หรือการฝึกอบรมต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เรามีความโดดเด่นกว่าเด็กจบใหม่คนอื่นๆ อีกทั้งยังทำให้เรามีโอกาสที่จะพัฒนาทักษะที่เป็นที่ต้องการของตลาดด้วย เช่น เรียนด้านการตลาด ตำแหน่งที่มีการเติบโตสูงคือ Social Media Specialist ก็ให้เตรียมพร้อมพัฒนาตัวเองในด้านนี้โดยเฉพาะ

2. ทำงานอาสาสมัคร

ในขณะที่เราเป็นนักศึกษาอยู่ การหาประสบการณ์การทำงานที่ได้รับค่าตอบแทน และตรงกับสาขาที่เรียนคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเรายังมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ การเป็นอาสาสมัครจึงเป็นวิธีที่ดีในการลดช่องว่างตรงนี้ อีกทั้งยังได้รับประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในอนาคตด้วย

ลองพยายามหาองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่สนใจหรือสิ่งที่เรียนมา และติดต่อหาองค์กรนั้นๆ ว่ามีตำแหน่งอาสาสมัครว่างหรือไม่ เช่น หากต้องการทำงานด้านการจัดการ การทำงานอาสาสมัครในตำแหน่งผู้ประสานงานหรือผู้จัดการก็จะเป็นประโยชน์มาก

3. เขียนเรซูเม่ที่เกี่ยวข้องกับงานที่อยากทำ

การเขียนเรซูเม่ เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการหางานที่เราสามารถเตรียมตัวได้ก่อนเรียนจบ ในขั้นตอนแรกเราจะต้องหาประเภทงานที่จะสมัคร เพื่อจะได้ปรับแต่งเรซูเม่ให้เข้ากับตำแหน่งงาน

เรซูเม่ทั่วไปที่สามารถยื่นสมัครได้ทุกตำแหน่ง จะถูกปัดตกอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องใส่คำอธิบายตำแหน่งอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงใส่ทักษะและประสบการณ์ให้ตรงกับสิ่งที่นายจ้างมองหาให้มากที่สุด

4. การฝึกงานอาจนำไปสู่การได้งาน

รู้หรือไม่ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว 60% ของผู้ที่ฝึกงานโดยได้รับค่าจ้างมักจะได้รับข้อเสนอให้ทำงานเป็นพนักงานประจำต่อ ดังนั้นการฝึกงานจึงถือเป็นโอกาสที่ดีมาก โดยจะมี 2 ทางเลือกในการฝึกงาน ดังนี้

ทางแรก เราสามารถฝึกงานได้ผ่านโครงการฝึกงานของมหาวิทยาลัย อีกทางหนึ่ง เราสามารถหาที่ฝึกงานเองได้ ผ่านการค้นหาทางออนไลน์ หรือติดต่อองค์กรที่อยากทำงานโดยตรง พร้อมสอบถามองค์กรนั้นๆ เกี่ยวกับโครงการฝึกงานได้เลย

5. เริ่มสร้างเครือข่ายตั้งแต่เนิ่นๆ

จากข้อมูลโดย HubSpot ชี้ให้เห็นว่า 85% ของงานถูกค้นพบผ่านระบบเครือข่าย และจากข้อมูลโดย CNBC พบว่า 70% ของงานไม่ได้โพสต์ลงในที่สาธารณะ แสดงให้เห็นว่าผู้สมัครงานรับรู้ข่าวสารการเปิดรับสมัครงานใหม่ๆ ผ่านเครือข่ายของตัวเอง

มหาวิทยาลัยก็เป็นช่องทางที่ดีที่เราสามารถสร้างเครือข่ายให้กับตัวเองได้ เช่น Job fair โครงการฝึกงาน วิทยากรรับเชิญ เครือข่ายศิษย์เก่า หรือกิจกรรมนอกหลักสูตรในมหาวิทยาลัย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทรัพยากรที่เราสามารถใช้ประโยชน์ได้ 

6. รู้เท่าทันโลกโซเชียล

LinkedIn เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเครือข่ายได้อย่างมืออาชีพ อีกทั้งยังสามารถโปรโมทตัวเองและสามารถหางานทำได้ 

แต่ LinkedIn ไม่ใช่แพลตฟอร์มเดียวที่มีความสำคัญ Twitter และ Instagram ก็เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่สำคัญต่อการหางานสำหรับเด็กจบใหม่ไม่แพ้กัน 

คำเตือน: นายจ้างอาจค้นหาชื่อของผู้สมัครใน Google ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบให้ดีว่าเราไม่ได้โพสต์อะไรที่อาจกระทบต่อการว่าจ้าง

7. วางแผนการหางาน

เราจะสามารถหางานที่ไม่มีค่าตอบแทนได้นานแค่ไหน? เราเต็มใจที่จะฝึกงานโดยที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่? เราต้องการทำงานพาร์ทไทม์ในระหว่างที่กำลังหางานหรือไม่? ถ้าหางานทำไม่ได้แผนต่อไปคืออะไร? คำถามเหล่านี้เราต้องตอบตัวเองให้ได้ และต้องวางแผนรับมือให้พร้อมต่อการหางานในอนาคต

เคล็ดลับในการวางแผนหางาน:

ที่มา - University of Adelaide College


No comment