รู้จัก Self-Compassion ไม่ชอบแบบไหน อย่าทำแบบนั้นกับตัวเอง | Techsauce
รู้จัก Self-Compassion ไม่ชอบแบบไหน อย่าทำแบบนั้นกับตัวเอง

กุมภาพันธ์ 8, 2022 | By Siramol Jiraporn

คนเราเมื่อทำอะไรผิดพลาดหรือมีอะไรที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังของคนอื่นหรือของตัวเราเอง เรามักจะตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง

แม้ว่าการวิพากษ์วิจารณ์และการวิเคราะห์ตนเองจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาตนเอง แต่การพูดกับตัวเองในเชิงลบก็อาจส่งผลในทางตรงกันข้ามได้เช่นกัน เราจึงต้องมี Self-Compassion หรือความเห็นอกเห็นใจตนเองต่อตนเอง เพื่อให้ก้าวข้ามข้อผิดพลาดและมุ่งสู่ความสำเร็จในอนาคตได้

Self-Compassion คือ

กฎเหล็กอย่างหนึ่งที่ทุกคนอาจเคยได้ยินคือ “ปฏิบัติกับผู้อื่น ให้เหมือนกับที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติกับเรา” คำกล่าวนี้มักใช้ในการสร้าง Empathy หรือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา หากเรานำคำสอนนี้มาใช้กับตัวเองได้ในตอนที่เจอช่วงเวลาที่ยากลำบาก โดยการให้ความใจดีกับตัวเอง สิ่งนี้ก็จะแผ่ขยายจากตัวเองไปสู่เพื่อนร่วมงานได้

การผสมผสานระหว่าง ‘การมีสติ’ เข้ากับ ‘การเอาใจใส่และความใจดี’ แต่ยังมีความซื่อตรง การสะท้อนตัวเอง (Self-Reflection) และการมีความเห็นอกเห็นใจต่อตัวเอง (Self-Compassion) เป็นเครื่องมือที่พวกเราสามารถใช้เพื่อมองย้อนกลับไป ประเมินความท้าทายในปัจจุบัน และค้นหาโซลูชันที่ดีต่อสุขภาพ และมีประสิทธิภาพ

คนเราเมื่อเผชิญความยากลำบาก แน่นอนว่าเราไม่สามารถผ่านมันไปได้ง่ายๆ แต่การวิจารณ์ตนเอง (Self-Critism) มากไปก็ไม่ใช่ทางออกที่ดี จากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า การวิจารณ์ตนเองมากเกินไป อาจนำไปสู่การหมดกำลังมากกว่าเป็นแรงกระตุ้นให้กับผู้คน อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น การผัดวันประกันพรุ่ง หรือแม้แต่ภาวะซึมเศร้า

แต่ในทางกลับกัน Self-Compassion จะทำให้เราไม่ต้องสน Self-Esteem หรือความภาคภูมิใจของตัวเองที่ขึ้นอยู่กับผู้อื่นมากนัก อีกทั้งยังทำให้เรามีความคิดและพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเติบโตในเชิงบวกอย่างยั่งยืน

ประโยชน์ของ Self-Compassion

Self-Compassion อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กๆ เกินกว่าจะสามารถจัดการกับการก้าวข้าวปัญหายากๆ ไปได้ แต่จากงานวิจัยกลับพบว่า Self-Compassion มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีขึ้น อีกทั้งยังมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น

วิพากษ์วิจารณ์ตัวเองให้น้อยลง อ่อนโยนกับตัวเองให้มากขึ้น

Self-Compassion สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้เหมือนกับทักษะอื่นๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับการทำงานและการใช้ชีวิตได้ ด้วยเทคนิคง่ายๆ ดังนี้

การฝึกสติ

การทำผิดพลาดเรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) มีความสำคัญต่อการมีความเห็นอกเห็นใจต่อตนเอง (Self-Compassion) และการพัฒนาตนเอง (Self-Development)

เมื่อเราเผชิญกับความผิดพลาดในชีวิต ให้ลองถามตัวเองว่า

การที่จะทำลายพฤติกรรมที่ถ่วงความก้าวหน้าของชีวิตได้จะต้องเริ่มจากการมีภาพในหัวที่ชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ คืออะไร

ขอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ 

ในมุมมองของ Self-Esteem หรือการมองเห็นคุณค่าในตนเอง การขอความช่วยเหลืออาจทำให้รู้สึกว่าตนเองอ่อนแอ แน่นอนว่าการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากไปอาจส่งผลเสียต่อตัวเราและกลายเป็นความน่ารำคาญของผู้อื่น 

แต่การยอมรับว่าตัวเองต้องการความช่วยเหลือ จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับความรู้สึกของตัวเองได้ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้ด้วย

หากการขอความช่วยเหลือเป็นเรื่องที่อยากเกินไป ก็ให้ลองเริ่มต้นจากการยอมรับความช่วยเหลือจากผู้อื่น การเรียนรู้ที่จะยอมรับความเห็นอกเห็นใจ จะทำให้เรากลายเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นตามไปด้วย 

ปฏิบัติกับตัวเองเหมือนเป็นเพื่อนคนหนึ่ง

เมื่อเราเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ให้ลองถอยออกมามองดูว่าถ้าตัวเราเป็นเพื่อนคนหนึ่ง เราจะช่วยเพื่อนในสถานการณ์นี้อย่างไร นึกถึงคำพูดและพฤติกรรมที่จะกระทำกับเพื่อน และนำมาใช้กับตัวเอง สิ่งนี้จะทำให้เราได้มุมมองในการแก้ปัญหากับตัวเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น 

หากเราเข้มงวดกับตัวเองมากไปแม้ว่าจะเป็นความตั้งใจที่ดี แต่หากเราขาดการมีความเห็นอกเห็นใจต่อตัวเองก็จะทำให้เราไม่สามารถเติบโตหรือเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นได้ การฝึกฝนความเห็นอกเห็นใจตัวเองจึงเป็นวิธีที่จะทำให้เราเปลี่ยนข้อผิดพลาดเป็นความสำเร็จได้มากขึ้น

ใจดีกับตัวเองให้มากหน่อยนะ เพราะโลกนี้ใจร้ายกับเรามามากพอแล้ว

ที่มา - Forbes

No comment